#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
การมีคณะกรรมการมาช่วยในการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งมักจะมีสาเหตุจากการที่ต้องการให้ทุกฝ่ายได้ร่วมตัดสินใจด้วยกัน เพื่อจะได้มีการตัดสินใจในเรื่องนั้นจากทุกมุมมองโดยผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์หลากหลาย. แต่การตัดสินใจโดยคณะกรรมการจะมีจุดอ่อนอยู่หลายเรื่องเช่นกัน ซึ่งจะทำให้ผลของตัดสินใจด้อยลงทันที กลายเป็นการตัดสินใจที่ด้อยประสิทธิภาพ.
.
จุดอ่อนที่สำคัญที่สุด คือ "อัตตา" ของประธานคณะกรรมการ ซึ่งถ้าประธานต้องการแค่ให้คนอื่นมาช่วยรองรับการตัดสินใจของตนเอง ก็จะไม่ได้อะไรจากมุมมองที่หลากหลายของกรรมการแต่ละคน อีกทั้งยังด้อยประสิทธิผลในเรื่องเวลาที่ต้องใช้ในการตัดสินใจ คือมักช้ากว่าที่ควรจะเป็นไปทุกเรื่อง. นอกจากนี้ การตัดสินหลายเรื่องโดยคณะกรรมการอาจเป็นการตัดสินใจแบบรักษาหน้าของทุกคน เมื่อกรรมการต่างเชื่อว่าเป็นผู้รู้มากประสบการณ์ ดังนั้นจะเว้นข้อเสนอของใครก็จะดูไม่ดี ทำให้การตัดสินใจไม่ค่อยมีเอกภาพแต่จะจับหลายๆ เรื่องมาผสมกัน.
.
ข้อมูล ก็คือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ส่วนหนึ่ง ซึ่งถ้ากรรมการได้ข้อมูลที่ไม่เป็นจริง การตัดสินใจของคณะกรรมการก็จะผิดพลาดตามไปด้วย ยิ่งมีคณะกรรมการมากระดับ รายละเอียดของข้อมูลยิ่งถูกซ่อนได้แนบเนียนมากเท่านั้น. ซึ่งอาจกลับไปสร้างความเชื่อมั่นในการตัดสินใจที่ผิดพลาดให้มีมากขึ้น.
.
ทั้งนี้ การมีคณะกรรมการแล้วทำให้การตัดสินใจเรื่องเล็กเรื่องน้อยต้องผ่านกรรมการกันทั้งหมด โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับงานประจำ ก็จะทำให้ต้นทุนการทำงานสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น และเวลาก็จะเสียไปโดยเปล่ามากขึ้น รวมถึงค่าใช้จ่ายที่มีมากขึ้นในการจัดการประชุม โดยงานง่ายๆ มักจะบังงานยากๆ อยู่เสมอ คณะกรรมการจึงไม่ได้ช่วยให้ประสิทธิผลของอนาคตดีขึ้นไปกว่าในอดีตก็เป็นได้
.
อ้างอิง: 'ด้อยประสิทธิผลด้วยคณะกรรมการ' บวร ปภัสราทร, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น