#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
เจ้านายที่ทำตัวเป็นพิษ หรือ Toxic Boss เป็นเรื่องที่พบเห็นได้โดยทั่วไปตามองค์กรต่างๆ ทั้งเล็กและใหญ่ โดยเรื่องดังกล่าวมีงานวิจัยและงานเขียนต่างๆ เป็นจำนวนมาก ตัวอย่างพฤติกรรมของเจ้านายที่เป็นพิษนั้น เช่น เจ้านายที่ชอบแย่งงานลูกน้องไปนำเสนอโดยไม่ให้เครดิตกับลูกน้อง หรือ เจ้านายที่ชอบใช้คำพูด สีหน้า แสดงถึงการดูถูกต่อผู้อื่น หรือพวกที่อารมณ์รุนแรง โกรธง่าย หงุดหงิดง่าย จะเอาให้ได้ตามที่ตนเองต้องการและมักจะระบายอารมณ์ใส่ลูกน้อง เป็นต้น
.
เจ้านายที่เป็นพิษนั้น มักจะไม่ได้เป็นพิษเฉพาะกับแค่ลูกน้อง แต่สามารถระบาดความเป็นพิษไปสร้างบรรยากาศในการทำงานที่เป็นพิษได้อีกด้วย. นอกจากนี้เจ้านายที่ดูปกติ เมื่อต้อง WFH ก็อาจแสดงอาการเป็นพิษออกมาได้ เพราะเมื่อ WFH ทำให้ไม่ได้พบเจอ ขาดปฏิสัมพันธ์ เครียด รวมทั้งอาจจะขาดความมั่นใจที่จะกำกับดูแลลูกน้องและงานให้เป็นไปตามที่ตนเองต้องการได้. โดยพฤติกรรมของเจ้านายที่เป็นพิษในช่วง WFH อาทิเช่น
.
1. ทำงานทั้งวันทั้งคืน - เมื่อทำงานที่บ้านและไม่มีเส้นแบ่งระหว่างการทำงานกับชีวิตส่วนตัว เจ้านายมักจะลืม (หรือแกล้งลืม) ไปว่าลูกน้องมีชีวิตส่วนตัวเหมือนกัน ยิ่งถ้าเจ้านายชำนาญการประชุมผ่านทางออนไลน์มากเท่าใด ยิ่งทำให้เจ้านายสั่งและตามงานลูกน้องแบบ 24/7 ได้ตลอดเวลา
2. กลัวลูกน้องไม่ทำงาน - บางองค์กรมีการให้พนักงานติดตั้งแอพพลิเคชั่นในคอมพิวเตอร์เพื่อติดตามการทำงานและใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของพนักงาน ในขณะที่บางองค์กรที่ไม่ได้ติดตั้งแอพพลิเคชั่นดังกล่าว แต่เจ้านายมีความกังวลว่าพนักงานจะไม่ทำงาน ก็จะใช้วิธีสารพัดในการเฝ้าติดตามการทำงานของลูกน้อง
3. ละเลยไม่สนใจลูกน้อง - ลูกน้องบางคนที่ไม่ชอบยกมือหรือพูดแสดงความคิดเห็นก็มักจะถูกละเลยจากเจ้านาย ซึ่งยิ่งเป็นการประชุมออนไลน์แล้ว ถ้าไม่กดยกมือหรือพูดโพล่งขึ้นมา ก็จะยิ่งไม่ได้มีโอกาสแสดงความคิดห็นและมีโอกาสสูงที่จะถูกละเลยจากเจ้านาย
.
อ้างอิง: 'เจ้านายเป็นพิษในยุคโควิด' รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น