#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
องค์กรต่างๆ ที่พยายามปรับตนเองเพื่อรับมือกับารเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ดีนั้น เรามักสังเกตได้ว่าต้องอาศัยความกล้าของผู้บริหารเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งความกล้านั้น เป็นความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเดิมไปสู่สิ่งใหม่ที่เหมาะสมมากกว่า รวมทั้งกล้าที่จะมองข้ามผลการดำเนินงานระยะสั้นเพื่อนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายระยะยาวที่ดีและท้าทายมากกว่า ซึ่งการเปลี่ยนแปลงองค์กรที่เริ่มต้นจากความกล้านั้น ประกอบไปด้วยรายละเอียด ได้แก่
.
1. กล้าจะคิดใหม่และคิดนอกกรอบ - โดยไม่นำเอาข้อจำกัดหรืออุปสรรคเดิมๆ มาเป็นข้อจำกัด และหาหนทางในการทำให้องค์กรสามารถอยู่รอดและเติบโตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง
2. การทำงานร่วมกับกรรมการบริษัท - กรรมการบริษัทจะต้องเข้าใจและเห็นความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลง
3. การกระตุ้นและดึงดูดผู้บริหารระดับรอง และพนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง - โดยเริ่มจากากรทำให้ทุกคนเห็นความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลง จากนั้นฉายภาพให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นนนั้นเมื่อสำเร็จจะส่งผลดีต่อองค์กรและทุกๆ คนได้อย่างไร
4. การมองหาโอกาสมากกว่าความเสี่ยง - การเปลี่ยนแปลงทุกครั้งจะมีทั้งโอกาสและความเสี่ยง องค์กรที่กล้าจะเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมจะพิจารณาทั้งโอกาสและความเสี่ยง แต่จะให้น้ำหนักและความสำคัญกับโอกาสมากกว่าความเสี่ยง
5. การสื่อสารอย่างฉลาด - เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทุกครั้งย่อมนำไปสู่การตั้งข้อสงสัยและข้อสังเกตจากบรรดาผู้รู้ทั้งหลาย ดังนั้นแผนการสื่อสารจะต้องมาควบคู่กับแผนการเปลี่ยนแปลงเสมอ
6. มองหาโอกาสที่จะสร้างพันธมิตร - เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจจะนำพาองค์กรไปสู่จุดที่ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญ ดังนั้นหากหาพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญมาช่วยเหลือได้ ก็ย่อมจะทำให้โอกาสของการเปลี่ยนแปลงสำเร็จมากขึ้น
7. การผลักดันการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง - ไม่ใช่การประกาศแผนการเปลี่ยนแปลง แต่การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงนั้นจะเกิดขึ้นได้ จะต้องได้รับการผลักดันอย่างต่อเนื่องจากทุกคนที่เกี่ยวข้องด้วย
.
ทั้งนี้ ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงจะมองไม่เห็นในระยะสั้น ซึ่งจะต้องรอดูในระยะยาวปานกลางถึงระยะยาว และที่สำคัญคือในระหว่างทางเดินนั้น ก็ต้องพร้อมที่จะปรับแผนและปรับตัวอยู่ตลอดเวลา
.
อ้างอิง: 'ความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง' รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น