#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
มีสถิติที่บ่งบอกถึงว่า 70% ของความพยายามในการเปลี่ยนแปลงองค์กรนั้น พบกับความล้มเหลว. ซึ่งหมายความว่าจะมีเพียง 30% ของความพยายามในการเปลี่ยนแปลงองค์กรเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ ตัวเลขนี้ทำให้เห็นว่าการทรานส์ฟอร์มองค์กรนั้นเป็นเรื่องยาก และเป็นเรื่องปกติที่จะมี "คน" จำนวนมากที่ลุกขึ้นมาต่อต้าน
.
การศึกษาวิจัยโดย John Kotter พบ 2 ปัจจัยแรกที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงล้มเหลว คือ
1. การขาด "Sense of Urgency" - ทั้งนี้โควิด19 ได้ช่วยผู้นำในองค์กรหลายแห่งในการสร้าง Sense of Urgency ไปทั่วทั้งองค์กร เพื่อให้คน "อยากเปลี่ยน" มากกว่าที่จะ "ถูกเปลี่ยน". อย่างไรก็ดี เมื่อเกิด Sense of Urgency ในลักษณะที่ส่งผลต่อความกลัวของพนักงานแล้ว ผู้นำองค์กรจึงต้องหันกลับมาสร้าง "Sense of Continuity" แทน คือ จากนี้ไป มีอะไรบ้างที่ต้องคงอยู่
2. การขาด "คน" ที่เป็น "แนวร่วม" - ที่ส่งเสริมให้แนวร่วมทำงานนำการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ โดยจุดเริ่มต้นของการทำทรานส์ฟอร์มองค์กรส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากผู้นำเพียงไม่กี่คน แต่เมื่อเวลาผ่านมาหากไม่สามารถขยายแนวร่วมที่ทรงพลังได้ ความพยายามที่ผ่านมาก็จะไม่เกิดขึ้น.
.
อย่างไรก็ดี มากกว่าเรื่องของ "คน" ยังมีเรื่องของ "Culture" และมากกว่านั้นคือ "Leader" เพราะวัฒนธรรมเกิดขึ้นมาทันทีที่ผู้คนเริ่มทำงานร่วมกัน. การตั้งใจตั้งแต่วันแรกว่าอยากให้วัฒนธรรมองค์กรเป็นอย่างไร คือสิ่งสำคัญ นี่เป็นช่วงเวลาที่ผู้นำสามารถสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ได้. ยิ่งปล่อยให้วัฒธรรมก่อตัวโดยธรรมชาติและหากมีนิสัยไม่พึงประสงค์ฝังแน่นมากเท่าไหร่ วัฒนธรรมก็จะยิ่งมีอิทธิพลมากขึ้นเท่านั้น. ดังนั้นบทบาทของ Leader ในการสร้าง Culture ตั้งแต่ Day1 จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด.
.
อ้างอิง: 'คน วัฒนธรรม ผู้นำ อะไรท้าทายที่สุดในการทรานส์ฟอร์มองค์กร' ดร.สุทธิโสพรรณ ช่วยวงศ์ญาติ, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น