#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
ในรายงานเรื่อง "The Effect of Remote Work on Collaboration Among Information Workers" ในวารสาร Nature Human Behavior ซึ่งวิเคราะห์การมีประสิทธิภาพของการทำงานจากที่บ้าน หรือ Work from Home ของพนักงานไมโครซอฟท์ สหรัฐอเมริกา จำนวน 61,182 คน ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนในปี 2020 พบว่า การ Work from Home ได้ส่งเสริมให้โครงสร้างการทำงาน ถูกพัฒนาไปในรูปแบบของการเป็นไซโล กล่าวคือ มีการพัฒนาทางวัฒนธรรมองค์กรแบบ กลุ่ม-หมู่-ก๊ก ขึ้นมามากมาย ที่มีการสื่อสารกันเฉพาะภายในกลุ่มอย่างแน่นหนาแต่แทบที่จะไม่มีการสื่อสารระหว่างกลุ่มกันเลย.
.
ทั้งนี้ เพราะการสื่อสารระหว่างกลุ่มนั้นในสถานการณ์ปกติมักจะเกิดขึ้นในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ เช่น การเดินสวนกัน หรือการร่วมรับประทานอาหารในโรงอาหารด้วยกัน. แต่สิ่งเหล่านี้ได้ขาดหายไปในการทำงานแบบ Work from Home. โดยวัฒนธรรมดังกล่าวถูกมองว่า ไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างนวัตกรรมในองค์กร เพราะการสื่อสารระหว่างกลุ่มเป็นปัจจัยสำคัญของการสร้างนวัตกรรม
.
อย่างไรก็ดี ผลงานดังกล่าวขัดกับผลงานวิจัยจำนวนหนึ่งที่ได้ถูกเผยแพร่ก่อนหน้านี้ ที่ได้ยกย่องความมีประสิทธิภาพของการ Work from Home. ซึ่งอาจตีความได้ว่า การ Work from Home มีประสิทธิภาพสำหรับการทำงานที่โฟกัสและมีการดำเนินงานที่ชัดเจน แต่อาจเป็นผลลบต่อการพัฒนาองค์กรในระยะยาว ที่ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของการสร้างนวัตกรรม.
.
ทั้งนี้ ยังไม่มีบทสรุปสำหรับการ Work from Home แต่บริษัทชั้นนำในต่างประเทศ ต่างก็มีนโยบายที่แตกต่างกัน และยังไม่เกิดแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด หรือ Best Practice ที่สามารถอ้างอิงเป็นต้นแบบได้ ซึ่งแต่ละองค์กรคงต้องสังเกตและปรับตัวตามบริบทของแต่ละองค์กรเพื่อหาแนวทางที่ได้ผลสำหรับตนเองที่สุดต่อไป
.
อ้างอิง: 'Work From Home เป็นผลลบต่อนวัตกรรมองค์กร ?' ดร.อธิป อัศวานนท์, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น