ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2021

อนาคต กับ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (s.348)

  #busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . มีงานวิจัยหนึ่งจากมหาวิทยาลัยในประเทศสเปนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พบว่าความจริงที่สำคัญมากสำหรับการบริหารการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปอย่างราบรื่น ไม่เกิดความเสียหายจากการต่อต้านการเปลี่ยนนั้น คือ การเปลี่ยนแปลงไปสู่อนาคตที่ดีกว่าจะเกิดขึ้นโดยปราศจากความเสียหายใดๆ หากเกิดขึ้นในระหว่างที่ผู้นำองค์กรนั้นมีแนวทางการบริหารที่สามารถสร้างความเชื่อถือและผูกพันกับบุคลากร. โดยเริ่มตั้งแต่การบริหารอย่างยุติธรรม ไม่มีการเลือกปฏิบัติ ถ้าคนหนึ่งทำได้ทุกอย่าง แต่อีกคนทำอะไรก็ผิดไปหมด การเปลี่ยนแปลงไปสู่อนาคตจะมีการต่อต้านเสมอ. . ผู้นำที่ยึดหลักคนมาก่อนงาน นำการเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่าผู้นำที่นำโดยเอางานนำหน้า คนตามหลัง คือ คนจะย่ำแย่แค่ไหนจากการงานที่ฉันมอบหมายไม่สำคัญ แต่งานต้องสำเร็จให้ได้ ถ้าเป็นแบบนี้คงยากที่จะมีใครที่อยากเดินหน้าไปสู่อนาคตกับผู้นำที่ไม่ไยดีกับสุขทุกข์ของลูกน้อง.  . นอกจากนี้ ถ้าบริหารโดยมีการแบ่งปันอำนาจ เรื่องไหนใครจะตัดสินใจอะไรได้บ้าง ไม่รวบอำนาจไว้ที่ผู้นำ คนจะรับการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่า. คนจะไม่กลัวอนาคต ถ้าผู้นำแสดงให้เห็นว่านำอย่า...

อาคารสิ่งปลูกสร้าง กับ แนวโน้มการปรับตัวเรื่องสภาพภูมิอากาศ (s.347)

  #busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . ปัจจุบันอุณหภูมิโลกสูงขึ้น 1.1 °C เมื่อเทียบกับระดับอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรมหรือช่วงปี 1850-1900. โดยสภาพอากาศโลกจะไม่กลับไปเหมือนในอดีตอีกแล้ว สภาพอากาศสุดขั้ว เช่น ไฟป่า น้ำท่วม พายุ และคลื่นความร้อนเกิดบ่อยขึ้นและทวีความรุนแรงมากขึ้น และโลกในอนาคตจะร้อนขึ้นอย่างแน่นอน โดยสิ่งที่ต้องเร่งทำคือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อชะลอการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ. . อุณหภูมิโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมือง ซึ่งเกิดจากจากการที่พื้นที่ธรรมชาติถูกแทนที่ด้วยถนน อาคาร และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่กักเก็บความร้อนของแสงอาทิตย์ ประกอบกับความร้อนที่ปล่อยออกจากเครื่องยนต์ที่ใช้พลังงาน ส่งผลให้อุณหภูมิในบริเวณเมืองสูงกว่าพื้นที่โดยรอบอย่างมาก. . การลดการใช้พลังงานและการออกแบบอาคารให้รับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจะเป็นกลไกสำคัญในการลดทอนความรุนแรงของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และด้านการปรับตัวให้อยู่กับโลกที่ร้อนขึ้น. โดยการใช้พลังงานในที่อยู่อาศัยคิดเป็นสัดส่วน 17% ในขณะที่อาคารพาณิชย์คิดเป็นสัดส่วน 11% แล...

ปัญหาเงินเฟ้อ กับ ทางเลือกที่ต้องเจอ (s.346)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  . • ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อทั้งในเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยค่อนข้างต่ำ คือ เฉลี่ยร้อยละ 3.8 และร้อยละ 1.9 ตามลำดับ • วิกฤตโควิด-19 ทำให้เงินเฟ้อกลับมาเป็นปัญหาทั่วโลก โดยเดือน ต.ค.64 อัตราเงินเฟ้อใน US เพิ่มเป็นร้อยละ 6.2 สูงสุดในรอบ 30 ปี การแก้ปัญหาเงินเฟ้อจึงเป็นความท้าทาย • ความแปลกของเงินเฟ้อในครั้งนี้คือ อัตราเงินเฟ้อเร่งขึ้นจากปัจจัยทั้งทางด้านอุปสงค์และอุปทาน. โดยด้านอุปสงค์คือ การใช้จ่ายที่เร่งตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการใช้จ่ายของประชาชนที่หยุดมานาน.  ด้านอุปทานคือ ปัญหาจากการผลิตที่ตามอุปสงค์ไม่ทัน ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มสูงเพราะการผลิตขยายตัวไม่ทัน รวมถึงค่าระวางเรือปรับสูงขึ้น  • ถ้าผู้ทำนโยบายมองว่าปัญหาเงินเฟ้อเป็นปัญหาชั่วคราว ที่เกิดจากการผลิตและจะคลี่คลายในที่สุด และเลือกที่จะไม่ทำอะไรที่จะลดอุปสงค์ หากข้อจำกัดมีการยืดเยื้อ ก็จะยิ่งแก้ไขปัญหายากขึ้นหากอัตราเงินเฟ้อเร่งตัว. แต่ถ้าผู้ทำนโยบายเลือกที่จะแก้เงินเฟ้อทันที ก็จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวล่าช้า • การให้ความสำคัญ...

ภาครัฐ กับ สิ่งที่ควรทำหลังโควิด-19 (s.345)

  #busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . จากวิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ทำให้ทุกฝ่ายเห็นถึงความเสี่ยงและปัญหาของประเทศไทยที่ควรมีการร่วมมือกันถอดบทเรียนอย่างจริงจังต่อไป ท่ามกลางเรื่องมากมายที่ควรดำเนินการปฏิรูปประเทศไทยสู่อนาคต โดยมี 5 เรื่องหลักที่ภาครัฐควรจัดให้อยู่ในลำดับความสำคัญสูง ได้แก่ . 1. การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤตและสร้างงานใหม่ - ผ่านกระบวนการการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศให้ฟื้นตัวจากเศรษฐกิจ โดยควรมองไปสู่การปรับโครงสร้างที่ช่วยเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในประเทศและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2. ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่อนาคต - ให้ความสำคัญและปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปในทิศทางที่เน้นมูลค่าสูงและตอบโจทย์ทิศทางอนาคตของโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจดิจิทัลและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการใช้เทคโนโลยี 3. การยกระดับทุนมนุษย์ - ควรมียุทธศาสตร์การพัฒนาทุนมนุษย์อย่างจริงจังตั้งแต่ปฐมวัยไปจนถึงตลอดชีพ ที่ให้ความสำคัญกับยกระดับการศึกษาสมัยใหม่ ทักษะแรงงานอนาคต ทักษะความรู้ด้านการเงินและดิจิทัล และสร้างระบบนิเวศที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตและความสามารถในการปรับตัว 4. การพัฒนาตาข่ายทางสั...

การเขียน กับ การพิมพ์ (s.344)

  #busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . จากการวิจัยหลายแหล่งพบว่า การบันทึกการเรียนโดยการเขียน ทำให้เกิดการพัฒนาสมองที่นำไปสู่ความสามารถในการเรียนรู้ที่ดีกว่า จดจำได้ดีกว่า คิดวิเคราะห์ได้ดีกว่า ซึ่งในกรณีนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองจึงควรสนับสนุนให้ลูกหลานที่อาจยังต้องเรียนออนไลน์จากหน้าจอ ให้พยายามจดบันทึกการเรียนลงสมุดบันทึกโดยการเขียน. . การเขียนจะมีผลกับความทรงจำ และการคิดวิเคราะห์ดียิ่งขึ้น หากมีการใช้ปากกาหลายสีและเขียนรูปภาพประกอบในการบันทึกการเรียนนั้นด้วยไปพร้อมกัน. การพัฒนาสมองที่เกี่ยวกับความรู้อธิบายได้จากการบันทึกการสแกนสมองด้วย MRI และการวัดคลื่นไฟฟ้า EEG โดยพบว่าการเขียนมีกิจกรรมของสมองส่วนที่เกี่ยวกับภาษา การจดจำ การค้นหาและการมองมากกว่าการพิมพ์ การเขียนต้องการประสานงานของสมองหลายส่วนร่วมกันมากกว่าการพิมพ์จึงทำให้การเขียนส่งผลกับพัฒนาการของสมองด้านการเรียนมากกว่าการพิมพ์. . ทั้งนี้ การเขียนจะได้ประโยชน์เมื่อเป็นงานที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ เช่น ไปฟังบรรยายความรู้ใหม่ๆ หรือจดบันทึกประเด็นสาระสำคัญในการประชุม แต่การเขียนไม่มีประโยชน์อะไรแตกต่างจากการพิมพ์ ถ้าเป็นเพียงการรายง...

ผู้สูงอายุ กับ อัตราการเกิดที่ลดน้อยลง (s.343)

  #busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . ปี 2565 ซึ่งเป็นเป็นปีที่เราหลายคนกำลังลุ้นว่าเศรษฐกิจหลังจากการเปิดประเทศจะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่หรือไม่ ในขณะเดียวกันก็เป็นปีเดียวกับที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์" ซึ่งหมายถึงมีผู้สูงอายุ (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) ประมาณ 13 ล้านคนคิดเป็นสัดส่วนเท่ากับ 20% ของประชากรทั้งหมด. . สภาพัฒน์ได้คาดการณ์ว่าในอีก 19 ปีข้างหน้า (ปี 2583) ประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วประมาณ 3.5% ต่อปี โดยเพิ่มจาก 12.5 ล้านคนเป็น 20.5 ล้านคนในช่วงดังกล่าว ในขณะที่ประชากรวัยทำงาน (อายุ 15-59 ปี) จะลดลงจาก 43 ล้านคนในปี 2563 เหลือ 36 ล้านคนในปี 2583. ซึ่งบ่งบอกถึงว่าคนในวัยทำงานที่เหลือเพียง 36 ล้านคน จะต้องมีผลผลิตที่เพียงพอเพิ่มขึ้นอย่างมากเพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพียงพอสำหรับตัวเอง ผู้สูงอายุและเด็ก อันจะเป็นภาระที่หนักมาก. . ทั้งนี้การระบาดของโควิด ทำให้ปัญหาการชะลอตัวของการขยายตัวประชากรทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยตัวเลขล่าสุดปี 2563 ของสภาพัฒน์และรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุปี 2563 พบว่าปีที่ผ่านมาเป็นปีแรกที่จำนวนเด็กเกิดใหม่ต่ำก...

ความเหลื่อมล้ำ กับ ประเทศไทย (s.342)

    #busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . วิกฤตโควิดได้กระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและความเหลื่อมล้ำใน 3 ช่องทาง ได้แก่  1. กระทบรายได้จากเศรษฐกิจที่ไม่ขยายตัว - ทำให้รายได้ลดลงหรือกิจการต้องปิด ทำให้ไม่มีรายได้หรือตกงาน 2. ความสามารถในการป้องกันตนเองจากการระบาด - ทั้งในชีวิตประจำวัน และการเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างถูกต้องและทันเวลาเมื่อป่วย รวมถึงการเข้าถึงวัคซีน 3. ความสามารถในการปรับตัวเมื่อวิกฤตเกิดขึ้น - เช่นมีเงินออมที่จะใช้จ่ายเมื่อตกงาน ความสามารถในการเข้าถึงการช่วยเหลือของภาครัฐ เป็นต้น  . อย่างไรก็ดี สำหรับประเทศไทย มีอีก 3 เรื่องเกี่ยวกับโควิดและความเหลื่อมล้ำที่เราต้องตระหนัก ได้แก่ 1. ความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มมากขึ้นเป็นผลจากโครงสร้างการกระจายรายได้ที่ประเทศมี - ทำให้ผลกระทบและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากโควิดจึงออกมาแบบตัว K ที่ให้ประโยชน์คนในสังคมต่างกัน 2. ความเหลื่อมล้ำที่เศรษฐกิจมีจะไม่ดีขึ้นได้ด้วยตัวเอง - แต่ต้องมาจากการแก้ไขปัญหาที่จริงจัง ซึ่งเกิดขึ้นในทุกประเทศ และการแก้ไขปัญหาต้องทำทั้งระดับก่อนการเกิดขึ้นของรายได้ และ ระดับหลังการเกิดขึ้น...

วิธีการหากลยุทธ์ใหม่ๆ (s.341)

  #busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . ปัญหาหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นในการคิดและวางแผนกลยุทธ์ คือ "คิดกลยุทธ์ใหม่ๆ ไม่ออก". ในหลายองค์กร ทุกๆ ปีที่คิดกลยุทธ์ กลยุทธ์ที่คิดมาได้นั้นมักจะไม่แตกต่างจากสิ่งที่ดำเนินการอยู่ อาจมีการต่อยอดหรือขยายจากสิ่งที่เป็นอยู่บ้างเท่านั้น ทำให้กลยุทธ์ที่ได้มักจะเป็นเรื่องของการดำเนินงานมากกว่าเป็นสิ่งใหม่จริงๆ ซึ่งสาเหตุหนึ่งของปัญหานี้คือ การที่ผู้ร่วมคิดกลยุทธ์มักจะเป็นคนกลุ่มเดิม ซึ่งมักจะเป็นกรรมการ ผู้บริหาร บุคคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบ โดยอาจจะมีที่ปรึกษาจากภายนอกมาร่วมด้วยในบางปี. ดังนั้นข้อแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีดังนี้ . 1. การเปลี่ยนตัวผู้ที่คิดกลยุทธ์เสียใหม่ - แทนที่กลยุทธ์จะมาจากรรมการ ผู้บริหาร หรือบบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ก็มาจากผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องต่างๆ หรือ Stakeholders แทน. แทนที่จะให้ผู้บริหารมานั่งประชุมเพื่อร่วมกันกำหนดกลยุทธ์ ผู้บริหารจะถูกกระจายออกไปสัมภาษณ์บรรดาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ทั้งลูกค้า คู่ค้า ผู้จัดจำหน่าย Suppliers หรือแม้กระทั่งผู้ถือหุ้น ถึงความคิดและมุมมองต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์. โดยคำ...

ความเหลื่อมล้ำ กับ คนไทย (s.340)

  #busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . การศึกษาของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ้งภากรณ์ ของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้คำนวณค่าจีนี่โดยใช้ข้อมูล SES (พ.ศ.2549-2562) พบว่าความเหลื่อมล้ำเมื่อวัดจากความมั่งคั่งสูงกว่าค่าความเหลื่อมล้ำจากรายได้มากในปี 2562 โดยมีความเหลื่อมล้ำของระดับรายได้ที่ 0.41 ด้านการบริโภคที่ 0.33 และค่าของความมั่งคั่งที่ 0.65. . การศึกษาพบว่ากลุ่มรายได้ต่ำจะมีสัดส่วนรายได้ที่ไม่เป็นตัวเงินค่อนข้างมาก ซึ่งแสดงถึงสภาพคล่องที่ต่ำกว่ากลุ่มอื่น. โดยครอบครัวรายได้ต่ำสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยมีปัจจัยหนึ่งจากเงินอุดหนุนและเงินโอน ซึ่งทำให้คนกลุ่มรายได้ต่ำมีความเปราะบางสูงและไม่สามารถทนผลกระทบของความผันผวนของรายได้ที่รุนแรงได้. สำหรับแนวโน้มความั่งคั่ง หากดูจากจำนวนบัญชีเงินออม จะเห็นความเหลื่อมล้ำค่อนข้างสูงคือ ร้อยละ 87 ของบัญชีเงินฝากของไทยมียอดคงค้างไม่เกิน 50,000 บาท. และสำหรับข้อมูลการครอบครองที่อยู่อาศัยพบว่า กลุ่มรายได้น้อยไม่มีที่อยู่อาศัยของตนเอง 3.6 ล้านครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 17 ของครัวเรือนทั้งหมด. . นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาความเหลื่อมล้ำในมิติอื่นๆ พบว่าความเหลื่อม...

การท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศปี 2565 (s.339)

  #busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . ศูนย์วิจัยกสิกรไทยทำการสำรวจพฤติกรรมและความต้องการท่องเที่ยวในประเทศของคนกรุงเทพฯ ในช่วงที่เหลือของปี 2564 สรุปว่าคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ต้องการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศอย่างมากหากทางการสามารถควบคุมการระบาดของโควิด-19 และไม่กลับมาระบาดอีกระลอกอย่างรุนแรง จนส่งผลกระทบต่อการเดินทาง.  . ศูนย์วิจัยฯ มองว่าในช่วงฤดูกาลเดินทางท่องเที่ยวของคนไทย 2 เดือนสุดท้ายของปี 2564 การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของคนไทยอาจมีจำนวน 29.1 ล้านคน-ครั้ง หดตัว 14.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ดีขึ้นจากค่าเฉลี่ยต่อเดือนที่ 3.8 ล้านคน-ครั้งในช่วง ม.ค.-ต.ค.2564. ส่งผลให้ทั้งปี 2564 การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศน่าจะมีจำนวน 66.71 ล้านคน-ครั้ง หดตัวประมาณ 26.3% จากปี 2563. ขณะที่ค่าใช้จ่ายเพื่อการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของคนไทยทั้งปี 2564 น่าจะมีมูลค่าประมาณ 296,895 ลบ. หดตัว 38.2% จากปี 2563. . ศูนย์วิจัยฯ ประเมินสถานการณ์ภายใต้เงื่อนไขต่างๆ แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้ 1. เงื่อนไขที่สถานการณ์โควิดในประเทศปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากช่วงปลายปี 2564 และไม่เกิดการระบาดระลอกให...

คนโสด กับ เศรษฐกิจ (s.338)

  #busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . ข้อมูลจาก Euromonitor ระบุว่า Single Person Households หรือ "ครัวเรือนคนเดียว" เป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีการเติบโตสูงที่สุดในโลกระหว่างปี 2553-2562 โดยเติบโตถึง 31% และเกือบครึ่งหนึ่งนั้นมาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค. โดยปัจจัยที่นำไปสู่สังคมคนโสดนั้น มีตั้งแต่อัตราการเกิดที่ลดน้อยลง การแต่งงานที่ช้าลง การมีการศึกษา ทำงานมีรายได้ประจำ สามารถพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น มีความต้องการอิสระในการดำรงชีวิตมากขึ้น ทำให้รูปแบบครัวเรือนเปลี่ยนไปจากในอดีตที่บ้านหลังหนึ่งมีคนหลายรุ่นอาศัยอยู่ ปัจจุบันลูกหลานก็จะแยกบ้านกันอยู่มากขึ้น นำไปสู่ความเป็นครอบครัวเรือนเดียว. ทั้งนี้ยังรวมถึงผู้สูงวัยที่อยู่คนเดียว ซึ่งอาจจะเกิดจากการหย่าร้างหรือการเสียชีวิตของคู่ชีวิต. . ประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจมาก ก็มีโอกาสที่ครัวเรือนคนเดียวจะเพิ่มขึ้น การศึกษาและรายได้ที่เพิ่มขึ้น ทำให้คนสามารถอยู่อาศัยได้ด้วยตนเองมากขึ้น อีกทั้งการพัฒนาของเทคโนโลยีและความบันเทิงรูปแบบใหม่ ทำให้คนที่อยู่คนเดียวสามารถใช้เวลาว่างอยู่ได้อย่างเพลิดเพลินมากขึ้นด้วย. ทั้งนี้ Euromonit...

ผู้นำ กับ ความเห็นอกเห็นใจ (s.337)

  #busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . คุณลักษณะอย่างหนึ่งที่สำคัญของผู้นำที่ดีนั้นค่อนข้างประเมินได้ยาก และมักจับต้องไม่ได้เป็นรูปธรรม คือ "ความใส่ใจ ความเห็นอกเห็นใจ" หรือ "Empathy" ซึ่งถือว่าเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดในการดำเนินธุรกิจในช่วงวิกฤต. ตามรายงานของ Businesssolver ปี 2020 พบว่า 91% ของ CEO บอกว่าบริษัทของพวกเขามีความเห็นอกเห็นใจ ในขณะที่พนักงานมีเพียง 68% เท่านั้นที่เห็นด้วยกับ CEO. . ทั้งนี้ ผู้นำองค์กรต้องแสดงความใส่ใจ เห็นอกเห็นใจ และต้องฝึกฝนทำมันทุกวัน โดยสามารถทำได้ดังนี้ 1. ใส่ใจตัวเองก่อน ด้วยการกล้าลุกขึ้นมายอมรับว่าบางครั้งผู้นำเองก็อ่อนแอได้ - เรามักคุ้นชินและยกย่องผู้นำที่แสดงความมั่นอกมั่นใจ เข้มแข็ง แต่ในความจริงในช่วงเวลาแห่งความกลัววิกฤต ผู้นำสามารถออกมายอมรับความอ่อนแอที่เกิดขึ้นกับตนเอง ซึ่งเป็นการแสดงความรู้สึกความจริงใจ และความเข้าอกเข้าใจต่อทีมงาน 2. ใส่ใจพนักงานและลูกค้าโดยหมั่นถามถึงความปลอดภัยของพนักงานและลูกค้าก่อนถามถึงผลกระทบทางธุรกิจ - ผลสำรวจจาก Trust Barometer พบว่าในช่วงวิกฤตโควิด-19 เรื่องที่พนักงานอยากฟังมากที่สุด คือ...

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย กับ ปัจจัยที่ฉุดรั้ง (s.336)

    #busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . การฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศไทยในปี 2565 น่าจะเป็นไปอย่างเชื่องช้า โดยมีปัจจัยที่ฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอยู่หลายประการ ได้แก่ 1. การท่องเที่ยว - ประเทศไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวจากต่างประเทศเป็นรายได้มากถึง 12% ของ GDP ในปี 2562 โดยจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทยมมีมากถึง 40 ล้านคน แต่ในปี 2565 นั้น ธปท. ได้คาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศเพียง 10 ล้านคน  2. หนี้ครัวเรือน - เมื่อ 10 ปีก่อน หนี้ครัวเรือนอยู่ที่ระดับประมาณ 60% ของ GDP แต่ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วใน 5 ปีต่อมาเป็น 80% ของ GDP ในปี 2559. อย่างไรก็ดี เมื่อประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาโควิด-19 ที่ทำให้รายได้ลดลงอย่างมาก หนี้สินครัวเรือนต่อ GDP ก็ได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 90.5% ของ GDP ในไตรมาส 1 ปี 2564 ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นไปอีก. ดังนั้น การขยายตัวของกำลังซื้อในประเทศใน 1-2 ปีข้างหน้าจึงน่าจะเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป. 3. SME อ่อนแอ - ข้อมูลของ ธปท. ระบุว่าเมื่อไตรมาส 1 ปี 2559 ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อให้ SME ไทย มูลค่า...

ความขยันที่ไม่เกิดประโยชน์ (s.335)

  #busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . คนที่ขยันผิดที่ผิดเวลานั้น ความขยันดังกล่าวมักจะไม่มีระโยชน์นัก ซึ่งมีศัพท์เรียกอาการนี้ว่า Premature Optimization. โดยการขยันผิดที่ผิดเวลานั้น มักจะเกิดขึ้นในขณะที่ปัญหาที่พบเจอในขณะนั้นมีเรื่องเล็กและเรื่องใหญ่ ซึ่งเรื่องปัญหาเรื่องเล็กส่วนใหญ่มักแก้ไขได้ง่ายกว่าในเวลานั้น ทำให้สิ่งที่เราได้พบเจอกันเป็นประจำคือ คนส่วนใหญ่จะไปขยันแก้ไขปัญหาเล็กปัญหาน้อย ในเวลาที่กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาใหญ่โต. คนที่มีนิสัยดังกล่าวมักจะทุ่มเทเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องเล็กๆ ที่ทำได้ง่ายเพื่อให้ได้หน้าตาว่าฉันเก่ง ในขณะที่กลับปล่อยให้ปัญหาคงอยู่และกัดกินองค์กรไปจนสิ้นสภาพ. . การวาดฝันในสิ่งที่เป็นไปได้ยากภายใต้บริบทที่เป็นจริงของตนเอง ทำให้ขยันแค่ไหนก็ไม่สามารถไปถึงเป้าหมายได้. การไปถึงเป้าหมายนั้น ต้องทุ่มเทอย่างถูกที่ถูกเวลา ต้องใช้ทั้งความคิดสร้างสรรค์และเรี่ยวแรงในจังหวะเวลาและสถานที่ที่เหมาะสม. นอกจากนี้ คนที่ชอบสร้าง Wish List มากกว่าพยายามขับเคลื่อนกลยุทธ์ จะเป็นอีกประเภทหนึ่งที่ขยันผิดที่ผิดเวลา. . ดังนั้น การที่เราเข้าใจงานของตนเองไม่ดีพอ หรือจัดลำดับความส...

เอไอ กับ งานในอนาคต (s.334)

  #busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . จากหนังสือเรื่อง "AI 2041" โดย ไคฟู ลี ผู้เชี่ยวชาญด้านเอไอระดับโลก ได้ฉายภาพอนาคตของเศรษฐกิจและสังคมเอไอในระยะ 20 ปีข้างหน้า รวมถึงได้ให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับอนาคตของงานในยุคเอไอได้อย่างน่าสนใจ โดยได้กล่าวถึง อะไรที่เอไอยังไม่สามารถทำได้ แต่มนุษย์สามารถทำได้ดี ซึ่งจะทำให้งานที่ใช้ทักษะเหล่านี้สามารถต้านทานการทดแทนจากเอไอได้ โดยสิ่งที่เอไอยังทำไม่ได้มี 3 ด้านที่สำคัญ คือ  . 1. ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) - เอไอไม่สามารถที่จะสร้างความคิดใหม่ พัฒนาไอเดียสร้างสรรค์หรือวางแผนกลยุทธ์ด้วยตัวเอง นอกจากนี้เอไอไม่สามารถกำหนดเป้าหมายของตนเองหรือใช้สามัญสำนึกได้เฉกเช่นมนุษย์. 2. ความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) - เอไอไม่สามารถที่จะรู้สึกได้ ไม่มีทักษะทางสังคม รวมถึงการแสดงความเห็นอกเห็นใจและความเมตตากรุณาได้ 3. ความคล่องแคล่ว (Dexterity) - เอไอและหุ่นยนต์ยังไม่สามารถทำงานทางกายภาพที่ซับซ้อน ซึ่งต้องใช้ความคล่องแคล่ว การประสานมือและตาที่แม่นยำ รวมถึงการจัดการกับพื้นที่ที่ไม่รู้จักและไร้โครงสร้างที่ชัดเจนได้ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เอไอยังไม่ได้เรียนรู้มาก...