#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
ปี 2565 ซึ่งเป็นเป็นปีที่เราหลายคนกำลังลุ้นว่าเศรษฐกิจหลังจากการเปิดประเทศจะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่หรือไม่ ในขณะเดียวกันก็เป็นปีเดียวกับที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์" ซึ่งหมายถึงมีผู้สูงอายุ (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) ประมาณ 13 ล้านคนคิดเป็นสัดส่วนเท่ากับ 20% ของประชากรทั้งหมด.
.
สภาพัฒน์ได้คาดการณ์ว่าในอีก 19 ปีข้างหน้า (ปี 2583) ประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วประมาณ 3.5% ต่อปี โดยเพิ่มจาก 12.5 ล้านคนเป็น 20.5 ล้านคนในช่วงดังกล่าว ในขณะที่ประชากรวัยทำงาน (อายุ 15-59 ปี) จะลดลงจาก 43 ล้านคนในปี 2563 เหลือ 36 ล้านคนในปี 2583. ซึ่งบ่งบอกถึงว่าคนในวัยทำงานที่เหลือเพียง 36 ล้านคน จะต้องมีผลผลิตที่เพียงพอเพิ่มขึ้นอย่างมากเพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพียงพอสำหรับตัวเอง ผู้สูงอายุและเด็ก อันจะเป็นภาระที่หนักมาก.
.
ทั้งนี้การระบาดของโควิด ทำให้ปัญหาการชะลอตัวของการขยายตัวประชากรทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยตัวเลขล่าสุดปี 2563 ของสภาพัฒน์และรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุปี 2563 พบว่าปีที่ผ่านมาเป็นปีแรกที่จำนวนเด็กเกิดใหม่ต่ำกว่า 6 แสนคน ในขณะที่มีคนตายกว่า 5 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการเพิ่มประชากรเพียง 0.12% แตกต่างจากปลายศตวรรษที่แล้วที่มีเด็กเกิดเฉลี่ย 1 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 4 แสนคน.
.
จากการคาดการณ์ระบุว่าจำนวนประชากรไทยจะถึงจุดสูงสุดประมาณปี 2573 แต่ดูเหมือนว่าจุดสูงสุดอาจมาถึงเร็วกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจของประชาชนยังดูไม่น่าไว้วางใจ จะทำให้คนชะลอหรือยกเลิกแผนการมีบุตร. สำหรับทางออกสำหรับประเทศไทยในระยะยาวคือ การเพิ่มการเกิดของเด็กที่มีคุณภาพ โดยการจะให้ผู้สูงอายุทำงานมากขึ้นและมีสุขภาพดีขึ้นเป็นเพียงมาตรการที่ลดภาระในระยะสั้นและกลาง.
.
อ้างอิง: 'ปัญหาของประชากรไทย' ศุภวุฒิ สายเชื้อ, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น