#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
.
• ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อทั้งในเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยค่อนข้างต่ำ คือ เฉลี่ยร้อยละ 3.8 และร้อยละ 1.9 ตามลำดับ
• วิกฤตโควิด-19 ทำให้เงินเฟ้อกลับมาเป็นปัญหาทั่วโลก โดยเดือน ต.ค.64 อัตราเงินเฟ้อใน US เพิ่มเป็นร้อยละ 6.2 สูงสุดในรอบ 30 ปี การแก้ปัญหาเงินเฟ้อจึงเป็นความท้าทาย
• ความแปลกของเงินเฟ้อในครั้งนี้คือ อัตราเงินเฟ้อเร่งขึ้นจากปัจจัยทั้งทางด้านอุปสงค์และอุปทาน. โดยด้านอุปสงค์คือ การใช้จ่ายที่เร่งตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการใช้จ่ายของประชาชนที่หยุดมานาน. ด้านอุปทานคือ ปัญหาจากการผลิตที่ตามอุปสงค์ไม่ทัน ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มสูงเพราะการผลิตขยายตัวไม่ทัน รวมถึงค่าระวางเรือปรับสูงขึ้น
• ถ้าผู้ทำนโยบายมองว่าปัญหาเงินเฟ้อเป็นปัญหาชั่วคราว ที่เกิดจากการผลิตและจะคลี่คลายในที่สุด และเลือกที่จะไม่ทำอะไรที่จะลดอุปสงค์ หากข้อจำกัดมีการยืดเยื้อ ก็จะยิ่งแก้ไขปัญหายากขึ้นหากอัตราเงินเฟ้อเร่งตัว. แต่ถ้าผู้ทำนโยบายเลือกที่จะแก้เงินเฟ้อทันที ก็จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวล่าช้า
• การให้ความสำคัญกับเงินเฟ้อและปรับทิศทางนโยบายการเงินเป็นสิ่งที่ควรทำ. อัตราเงินเฟ้อที่สูงและยืดเยื้อจะสร้างปัญหามากกว่าต่อเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นค่าครองชีพ ต้นทุนการผลิตที่สูงที่จะกระทบกับความสามารถในการแข่งขัน การส่งออกและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ดังนั้นผู้ทำนโยบายจะอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเลือกเหมือนกับที่หลายประเทศประสบอยู่ในขณะนี้
.
อ้างอิง: "อย่าประมาทปัญหาเงินเฟ้อปีหน้า" บัณฑิต นิจถาวร, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น