#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
คนที่ขยันผิดที่ผิดเวลานั้น ความขยันดังกล่าวมักจะไม่มีระโยชน์นัก ซึ่งมีศัพท์เรียกอาการนี้ว่า Premature Optimization. โดยการขยันผิดที่ผิดเวลานั้น มักจะเกิดขึ้นในขณะที่ปัญหาที่พบเจอในขณะนั้นมีเรื่องเล็กและเรื่องใหญ่ ซึ่งเรื่องปัญหาเรื่องเล็กส่วนใหญ่มักแก้ไขได้ง่ายกว่าในเวลานั้น ทำให้สิ่งที่เราได้พบเจอกันเป็นประจำคือ คนส่วนใหญ่จะไปขยันแก้ไขปัญหาเล็กปัญหาน้อย ในเวลาที่กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาใหญ่โต. คนที่มีนิสัยดังกล่าวมักจะทุ่มเทเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องเล็กๆ ที่ทำได้ง่ายเพื่อให้ได้หน้าตาว่าฉันเก่ง ในขณะที่กลับปล่อยให้ปัญหาคงอยู่และกัดกินองค์กรไปจนสิ้นสภาพ.
.
การวาดฝันในสิ่งที่เป็นไปได้ยากภายใต้บริบทที่เป็นจริงของตนเอง ทำให้ขยันแค่ไหนก็ไม่สามารถไปถึงเป้าหมายได้. การไปถึงเป้าหมายนั้น ต้องทุ่มเทอย่างถูกที่ถูกเวลา ต้องใช้ทั้งความคิดสร้างสรรค์และเรี่ยวแรงในจังหวะเวลาและสถานที่ที่เหมาะสม. นอกจากนี้ คนที่ชอบสร้าง Wish List มากกว่าพยายามขับเคลื่อนกลยุทธ์ จะเป็นอีกประเภทหนึ่งที่ขยันผิดที่ผิดเวลา.
.
ดังนั้น การที่เราเข้าใจงานของตนเองไม่ดีพอ หรือจัดลำดับความสำคัญของการงานที่ต้องทำไม่เป็น ก็จะมีโอกาสสูงที่จะขยันผิดที่ผิดเวลาได้เช่นกัน ทำให้ขยันไปแล้ว ผลที่เกิดขึ้นในภาพรวมของงานไม่ได้มมีอะไรดีขึ้น. ทั้งนี้ การขยันผิดที่ผิดเวลาว่าแย่แล้ว แต่หากมีสิ่งที่แย่กว่าคือ โง่แล้วขยัน ก็จะยิ่งทำให้องค์กรตกต่ำรวดเร็วยิ่งขึ้น
.
อ้างอิง: 'ขยันผิดที่ผิดเวลา' บวร ปภัสราทร, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น