#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
วิกฤตโควิดได้กระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและความเหลื่อมล้ำใน 3 ช่องทาง ได้แก่
1. กระทบรายได้จากเศรษฐกิจที่ไม่ขยายตัว - ทำให้รายได้ลดลงหรือกิจการต้องปิด ทำให้ไม่มีรายได้หรือตกงาน
2. ความสามารถในการป้องกันตนเองจากการระบาด - ทั้งในชีวิตประจำวัน และการเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างถูกต้องและทันเวลาเมื่อป่วย รวมถึงการเข้าถึงวัคซีน
3. ความสามารถในการปรับตัวเมื่อวิกฤตเกิดขึ้น - เช่นมีเงินออมที่จะใช้จ่ายเมื่อตกงาน ความสามารถในการเข้าถึงการช่วยเหลือของภาครัฐ เป็นต้น
.
อย่างไรก็ดี สำหรับประเทศไทย มีอีก 3 เรื่องเกี่ยวกับโควิดและความเหลื่อมล้ำที่เราต้องตระหนัก ได้แก่
1. ความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มมากขึ้นเป็นผลจากโครงสร้างการกระจายรายได้ที่ประเทศมี - ทำให้ผลกระทบและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากโควิดจึงออกมาแบบตัว K ที่ให้ประโยชน์คนในสังคมต่างกัน
2. ความเหลื่อมล้ำที่เศรษฐกิจมีจะไม่ดีขึ้นได้ด้วยตัวเอง - แต่ต้องมาจากการแก้ไขปัญหาที่จริงจัง ซึ่งเกิดขึ้นในทุกประเทศ และการแก้ไขปัญหาต้องทำทั้งระดับก่อนการเกิดขึ้นของรายได้ และ ระดับหลังการเกิดขึ้นของรายได้
3. ความเหลื่อมล้ำถ้าไม่มีการแก้ไขก็จะรุนแรงมากขึ้น และอาจเป็นความเสี่ยงต่อทั้งระบบเศรษฐกิจและสังคม - เพราะความเหลื่อมล้ำมีผลโดยตรงต่อความสมานฉันท์และความไว้วางใจระหว่างคนในสังคม ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ
.
ประเทศที่จะเติบโตได้อย่างยั่งยืนจำเป็นต้องมีความสมานฉันท์ของคนในสังคมเป็นเงื่อนไขสำคัญ คือ ไม่มีควรเกิดความแตกแยกหรือขัดแย้งรุนแรง ซึ่งสาเหตุหลักมักมาจากความรู้สึกไม่เป็นธรรม สะท้อนให้เห็นจากความเหลื่อมล้ำที่ประเทศมี ทั้งการหารายได้และการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
.
อ้างอิง: 'ความเหลื่อมล้ำ เป็นความเสี่ยงต่อประเทศถ้าไม่แก้ไข" บัณฑิต นิจถาวร, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น