#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
การศึกษาของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ้งภากรณ์ ของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้คำนวณค่าจีนี่โดยใช้ข้อมูล SES (พ.ศ.2549-2562) พบว่าความเหลื่อมล้ำเมื่อวัดจากความมั่งคั่งสูงกว่าค่าความเหลื่อมล้ำจากรายได้มากในปี 2562 โดยมีความเหลื่อมล้ำของระดับรายได้ที่ 0.41 ด้านการบริโภคที่ 0.33 และค่าของความมั่งคั่งที่ 0.65.
.
การศึกษาพบว่ากลุ่มรายได้ต่ำจะมีสัดส่วนรายได้ที่ไม่เป็นตัวเงินค่อนข้างมาก ซึ่งแสดงถึงสภาพคล่องที่ต่ำกว่ากลุ่มอื่น. โดยครอบครัวรายได้ต่ำสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยมีปัจจัยหนึ่งจากเงินอุดหนุนและเงินโอน ซึ่งทำให้คนกลุ่มรายได้ต่ำมีความเปราะบางสูงและไม่สามารถทนผลกระทบของความผันผวนของรายได้ที่รุนแรงได้. สำหรับแนวโน้มความั่งคั่ง หากดูจากจำนวนบัญชีเงินออม จะเห็นความเหลื่อมล้ำค่อนข้างสูงคือ ร้อยละ 87 ของบัญชีเงินฝากของไทยมียอดคงค้างไม่เกิน 50,000 บาท. และสำหรับข้อมูลการครอบครองที่อยู่อาศัยพบว่า กลุ่มรายได้น้อยไม่มีที่อยู่อาศัยของตนเอง 3.6 ล้านครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 17 ของครัวเรือนทั้งหมด.
.
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาความเหลื่อมล้ำในมิติอื่นๆ พบว่าความเหลื่อมล้ำเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็ก เนื่องจากการลงทุนไม่เท่ากันของผู้ปกครองที่มีรายได้ต่างกัน ความเหลื่อมล้ำนี้จึงเป็นการส่งต่อระหว่างรุ่นต่อรุ่น และเมื่ออายุมากขึ้นความเหลื่อมล้ำก็จะมากขึ้น การลงทุนในการศึกษาจะลดความเหลื่อมล้ำได้มาก.
.
การระบาดของโควิด-19 ได้ตอกย้ำโครงสร้างความเหลื่อมล้ำและฉุดกระชากครัวเรือนจำนวนมากเข้าสู่ความยากจน อีกทั้งมาตรการของภาครัฐที่มองจากหอคอยงาช้างในด้านต่างๆ ยิ่งทำให้สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำขยายมากขึ้น. การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำโดยเพิ่มรายได้และสวัสดิการพื้นฐาน โดยการเพิ่มเงินอุดหนุนถ้วนหน้าไม่ได้ตอบโจทย์ของการลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งการแก้ไขให้ได้ผลต้องมาจากการให้กรรมสิทธิ์หรือการครอบครองสิทธิในการใช้ของทรัพย์สินที่จะสามารถสร้างรายได้
.
อ้างอิง: 'คนไทยเหลื่อมล้ำ ตั้งแต่เกิดถึงเชิงตะกอน' มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น