ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภาครัฐ กับ สิ่งที่ควรทำหลังโควิด-19 (s.345)

 


#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน

.

จากวิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ทำให้ทุกฝ่ายเห็นถึงความเสี่ยงและปัญหาของประเทศไทยที่ควรมีการร่วมมือกันถอดบทเรียนอย่างจริงจังต่อไป ท่ามกลางเรื่องมากมายที่ควรดำเนินการปฏิรูปประเทศไทยสู่อนาคต โดยมี 5 เรื่องหลักที่ภาครัฐควรจัดให้อยู่ในลำดับความสำคัญสูง ได้แก่

.

1. การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤตและสร้างงานใหม่ - ผ่านกระบวนการการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศให้ฟื้นตัวจากเศรษฐกิจ โดยควรมองไปสู่การปรับโครงสร้างที่ช่วยเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในประเทศและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

2. ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่อนาคต - ให้ความสำคัญและปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปในทิศทางที่เน้นมูลค่าสูงและตอบโจทย์ทิศทางอนาคตของโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจดิจิทัลและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการใช้เทคโนโลยี

3. การยกระดับทุนมนุษย์ - ควรมียุทธศาสตร์การพัฒนาทุนมนุษย์อย่างจริงจังตั้งแต่ปฐมวัยไปจนถึงตลอดชีพ ที่ให้ความสำคัญกับยกระดับการศึกษาสมัยใหม่ ทักษะแรงงานอนาคต ทักษะความรู้ด้านการเงินและดิจิทัล และสร้างระบบนิเวศที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตและความสามารถในการปรับตัว

4. การพัฒนาตาข่ายทางสังคมใหม่ - ถือเป็นวาระสำคัญที่จะช่วยให้ประชาชนอยู่รอดได้ในภาวะวิกฤตและกล้าที่จะเสี่ยงทดลองสิ่งใหม่ๆ และสร้างอาชีพใหม่ๆ มากขึ้น โดยระบบควรครอบคลุมกลุ่มคนต่างๆ รวมถึงกลุ่มที่อยู่นอกระบบและอาชีพรับจ้างอิสระ

5. การเปลี่ยนผ่านสู่ภาครัฐดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ - เร่งบูรณาการฐานข้อมูลของภาครัฐให้เกิดขึ้น มีการแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงาน มุ่งเป้าไปสู่ภาครัฐดิจิทัลที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง

.

อ้างอิง: '5 เรื่องที่ควรทำหลังโควิด-10' ธราธร รัตนนฤมิตศร, กรุงเทพธุรกิจ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...