#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศไทยในปี 2565 น่าจะเป็นไปอย่างเชื่องช้า โดยมีปัจจัยที่ฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอยู่หลายประการ ได้แก่
1. การท่องเที่ยว - ประเทศไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวจากต่างประเทศเป็นรายได้มากถึง 12% ของ GDP ในปี 2562 โดยจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทยมมีมากถึง 40 ล้านคน แต่ในปี 2565 นั้น ธปท. ได้คาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศเพียง 10 ล้านคน
2. หนี้ครัวเรือน - เมื่อ 10 ปีก่อน หนี้ครัวเรือนอยู่ที่ระดับประมาณ 60% ของ GDP แต่ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วใน 5 ปีต่อมาเป็น 80% ของ GDP ในปี 2559. อย่างไรก็ดี เมื่อประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาโควิด-19 ที่ทำให้รายได้ลดลงอย่างมาก หนี้สินครัวเรือนต่อ GDP ก็ได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 90.5% ของ GDP ในไตรมาส 1 ปี 2564 ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นไปอีก. ดังนั้น การขยายตัวของกำลังซื้อในประเทศใน 1-2 ปีข้างหน้าจึงน่าจะเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป.
3. SME อ่อนแอ - ข้อมูลของ ธปท. ระบุว่าเมื่อไตรมาส 1 ปี 2559 ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อให้ SME ไทย มูลค่า 3.93 ล้านล้านบาท โดยเป็นสินเชื่อที่ลูกหนี้เริ่มจ่ายดอกเบี้ยไม่ได้ (Special Mention Loan) ประมาณ 2.54% ของสินเชื่อทั้งหมด และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ประมาณ 4.38% ของสินเชื่อทั้งหมด. อย่างไรก็ดี ผลกระทบจากโควิด-19 โดยข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2564 พบว่าธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อให้ SME ทั้งหมด 3.17 ล้านล้านบาท โดยมีสัดส่วนลูกหนี้ที่เริ่มมีปัญหาในการจ่ายดอกเบี้ยมากถึง 12.73% ของสินเชื่อทั้งหมด และ NPL เพิ่มเป็น 7.64% ของสินเชื่อทั้งหมด ซึ่งตีความได้ว่ากว่า 20% ของ SME ไทยกำลังประสบกับปัญหาการจ่ายดอกเบี้ย ซึ่งจะทำให้การขับเคลื่อนธุรกิจเป็นไปได้ด้วยความยากลำบากมากขึ้น.
4. การสนับสนุนจากรัฐ - หลายฝ่ายได้ตั้งความหวังไว้กับมาตรการของภาครัฐที่นอกจากจะเพิ่มการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบแล้ว ก็คงจะต้องสรรหามาตรการอื่นๆ มากระตุ้นเศรษฐกิจและปรับโครงสร้างภาคธุรกิจ ซึ่งเรายังไม่เห็นมาตรการหรือนโยบายที่ชัดเจนในการกระตุ้นเศรษฐกิจและปรับโครงสร้างธุรกิจออกมา
.
อ้างอิง: 'การฟื้นตัวที่ไม่ง่ายของเศรษฐกิจไทย' ศุภวุฒิ สายเชื้อ, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น