ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2020

การพัฒนาตนเองโดยใช้หลักการลงทุน (s.155)

หลักการหนึ่งของการลงทุนคือเรื่องของ ดอกเบี้ยทบต้น (compounding interest) ซึ่งเงินต้นที่เราลงทุนนั้นเราจะได้ดอกเบี้ยโดยเป็นการคำนวณดอกเบี้ย คิดจากจำนวนเงินต้นที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จากการนำดอกเบี้ยในแต่ละงวดเข้ารวมเป็นเงินต้นของงวดต่อๆ ไป. ซึ่งหลักการดอกเบี้ยทบต้นนี้สามารถนำมาปรับใช้กับการพัฒนาตนเองได้เช่นเดียวกัน หลายคนอาจเคยได้ยินเรื่องของการใช้เวลาช่วงเช้าในการทำงานยากๆ หรืองานที่ต้องใช้การจดจ่อ สมาธิสูง ซึ่งการพัฒนาตนเองนั้นก็สามารถนำหลักการใช้เวลาที่ดีที่สุดมาปรับใช้ได้เช่นเดียวกันในการเรียนรู้ ซึ่งหากพิจารณาจากคนรอบตัวของเราจะพบว่าเวลาเช้าอาจเป็นเวลาที่ดีที่สุดสำหรับใครหลายคน แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นทุกคนที่มีเวลาที่ดีที่สุดในช่วงเช้า ขึ้นอยู่กับบริบทการใช้ชีวิตและข้อจำกัดของแต่ละบุคคล.  อย่างไรก็ดีก่อนที่เราจะใช้เวลาไปกับการพัฒนาตนเองนั้นคำถามที่สำคัญที่เราควรตอบตนเองก่อนคือ 1. เวลาช่วงไหนเป็นเวลาที่ดีสำหรับการพัฒนาตัวเรา และ 2. เราจะพัฒนาตัวเราอย่างไร  สำหรับคำถามข้อแรกนั้นให้เราพยายามสังเกตตัวของเราว่าช่วงเวลาไหนที่เรารู้สึกสดชื่นและมีแรงในการทำงานหรือเรียนรู้มากที่สุด ซึ่งช่ว...

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

ลักษณะของเจเนอเรชั่นที่ต่างขั้ว (s.153)

  ผู้คนที่ต่างรุ่นต่างวัยมักมีมุมมองแนวคิดที่แตกต่างกัน ถ้าเป็นรุ่นที่ใกล้ๆ อายุไม่ได้แตกต่างกันมาก ความคิด ความเชื่ออาจไม่ได้แตกต่างกันมากนัก แต่หากเป็นคนรุ่นผู้ใหญ่ที่ใกล้เกษียณหรือเกษียณแล้ว ซึ่งยุคที่เขาเติบโตมานั้นมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างช้าหรือเราอาจเรียกว่าเป็นยุคของคนรุ่น 1.0  และในอีกมุมหนึ่งคนที่อายุประมาณวัยรุ่นหรือกำลังอยู่ในวัยเรียน จะเป็นยุคที่เขาเห็นการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมายและรวดเร็วเกิดขึ้นในช่วงชีวิตที่เขาโตมากอย่างมาก เราอาจเรียกคนรุ่นนี้ว่าคนรุ่น 4.0. - ถ้าให้เปรียบเทียบกับแบบเข้าใจง่ายคือ คนยุค 1.0 จะฟังเทปคาสเซ็ท ในขณะที่คนยุค 4.0 จะฟังเพลง Streaming ซึ่งความเชื่อของคนทั้งสองจะแตกต่างกันอย่างมากและส่งผลต่อวิธีคิดในการทำงาน.  โดยคนยุค 1.0 จะคิดแบบการกำกับให้คนทำงานตามที่สั่ง ในขณะที่คนยุค 4.0 จะคิดแบบร่วมมือกันทำงานให้เรียบร้อย.  คนยุค 1.0 มีความเชื่อความคิดเป็นสำคัญ อนาคตจะเป็นดังความคิดของผู้นำ ในขณะที่คนยุค 4.0 เชื่อในเรื่องการช่วยกันสร้างอนาคต ทุกคนมีส่วนร่วมในการคิด ออกแบบ และทำอนาคตร่วมกัน. - ความเป็นขาวหรือดำคืออีกสิ่งหนึ่งที่เป็นลักษณะขอ...

การเจรจาต่อรอง สำหรับทางเลือกที่ไม่ได้มีมาก (s.152)

  แนวคิดแบบชนะร่วมกัน หรือ win-win mindset นั้น จะใช้ได้ดีสำหรับการเจรจาต่อรองที่มีประเด็นมากกว่า 1 ข้อ ซึ่งประเด็นทั้งหลายดังกล่าวจะสามารถนำมาเจรจาพูดคุยเพื่อจัดลำดับความสำคัญของแต่ฝ่ายที่เจรจาและหาจุดร่วมที่ได้ประโยชน์สูงสุดตามที่แต่ละฝ่ายต้องการร่วมกัน  ในทางกลับกันหากเป็นการเจรจาต่อรองที่ประเด็นมีเป้าหมายเพียงเรื่องเดียว เช่น การเจรจาเรื่องเงินเดือน การเจรจาค่าเช่า เป็นต้น กลยุทธ์ win-win ก็อาจดูเหมือนไม่เหมาะสมกับเรื่องบริบทแบบนี้ เพราะส่วนมากการเจรจาลักษณะดังกล่าวจะจบลงตรงที่พบกันครึ่งทางและอาจไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์ที่ดีกับเรามากนัก. เทคนิคหนึ่งที่สามารถนำไปปรับใช้ได้สำหรับการเจรจาที่มีประเด็นเพียงเรื่องเดียว โดยจะเป็นการปรับบริบทของการเจรจาให้อยู่ในรูปแบบผลลัพธ์แบบ win-win ร่วมกัน ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะเป็นการนำการเสนอสิ่งที่เราต้องการ เปรียบเทียบกับจุดแย่ที่สุดที่ผู้ร่วมเจรจาสามารถยอมรับได้.  การปรับบริบทเจรจาในลักษณะนี้ เรามีแนวโน้มที่จะได้ผลลัพธ์ที่ดีมากกว่าการเจรจาโต้แย้งต่อรองกันไปมา. โดยการปรับบริบทของการเจรจา เช่น "ข้อเสนอที่ผมได้ให้ไปเมื่อเทียบกับราคาต่ำที่...

Micro Stress ความเครียดขนาดเล็ก กำลังทำลายเราอยู่หรือไม่ (s.151)

  ในวิถีชีวิตประจำวันของเรามักเจอเรื่องราวต่างๆ มากมายที่ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นมา โดยความเครียดที่เข้ามาหาเราแบบทีละเล็กทีละน้อยอย่างต่อเนื่องในวันหนึ่งๆ นั้นซึ่งอาจเรียกว่า 'Micro-stresses' หรือ ความเครียดขนาดเล็ก เป็นความเครียดที่เข้ามาในหลากหลายรูปแบบ หลายช่องทางทั้งในเชิงของปริมาณ ความหลายหลาก หรือแม้กระทั่งความถี่  โดยที่เราอาจไม่ได้เคยตระหนักมาก่อน เช่น ความเครียดเกิดจากการทำงานที่ยาก ความเครียดจากลูกค้า จากเจ้านายที่กดดันในงาน ซึ่งประเด็นที่สำคัญของความเครียดขนาดเล็กนี้คือมันจะก่อตัวอย่างช้าๆ โดยเราไม่ทันรู้ตัว และกลายเป็นความเครียดขนาดใหญ่ที่ทำให้เรารู้สึก burn out ไป ประมาณการ 60-80% ของการเข้าพบแพทย์สำหรับเรื่องของความเครียดนั้นมีสาเหตุมาจากโรคภัยไข้เจ็บและความคับข้องใจ ซึ่งความเครียดจะส่งผลถึงประสิทธิภาพที่ลดลงของเรา คุณภาพของการตัดสินใจที่แย่ลง และบ่อยครั้งที่จะทำให้เกิดการลดแรงจูงใจ ความคิดสร้างสรรค์และความมีประสิทธิผลในการทำงาน.  สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับความเครียดขนาดเล็กนี้คือมักเกิดขึ้นโดยมีสาเหตุจากคนใกล้ตัวของเราทั้งในและนอกที่ทำงาน โดยเราสามารถแบ่งความ...

ความเหลื่อมล้ำ (s.150)

   ปัจจุบันเรามีการพูดถึงความเหลื่อมล้ำกันมากขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต โดยเฉพาะภายหลังจากวิกฤตโควิด-19 ที่เริ่มทรงตัวและดีขึ้น ความเหลี่ยมล้ำกลับดูเหมือนยิ่งมีความรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะความเหลี่อมล้ำในความมั่งคั่งที่เหมือนมีความแตกต่างกันอย่างรุนแรงในทุกสังคมในโลกนี้  ทั้งนี้ในทางเศรษฐศาสตร์ ความเหลื่อมล้ำสามารถแบ่งได้เป็น 3 มิติ คือ 1.ความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้  2.ความเหลื่อมล้ำในความมั่งคั่งหรือทรัพย์สิน และ 3.ความเหลื่อมล้ำในโอกาสของคนในสังคม ในบริบทของประเทศไทยเรา การกระจายรายได้ของประเทศมีแนวโน้มแย่ลงต่อเนื่องมา โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงปี 2503 จนถึงก่อนวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 อย่างไรก็ดีผลของการกระจายรายได้ยังมีข้อสงสัยในการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งเชื่อว่าจริงๆ แล้วความเหลื่อมล้ำน่าจะมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน.  ในแง่ของความมั่งคั่ง ประเมินว่ากลุ่มผู้ที่รวยที่สุด 1% เป็นเจ้าของสินทรัพย์กว่า 66% ของสินทรัพย์ทั้งหมดในประเทศ ซึ่งไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำในเรื่องนี้เป็นอันดับต้นๆ ของโลก.  และสุดท้ายในเรื่องความเหลื่อมล้ำด้านโอกาส แนวโน้มไม่ได้แตกต่าง...

วิกฤตส่วนบุคคลกับการจัดการในที่ทำงาน (s.149)

    ชีวิตการทำงานของเรานั้นย่อมต้องมีช่วงเวลาที่ดีและช่วงเวลาที่ลำบาก บางช่วงเวลาอาจถือเป็นช่วงเวลาที่ดีสุดในการทำงานของเรา ในขณะที่บางช่วงเวลาก็ถือเป็นช่วงเวลาแห่งความยากลำบาก มีแต่เรื่องผิดพลาด ถูกตำหนิ กดดัน เป็นต้น  อย่างไรก็ตามวิกฤตหนึ่งทุกคนจะต้องเคยมีประสบการณ์ผ่านเข้ามาในชีวิตบ้างคือ "วิกฤตส่วนบุคคล" ซึ่งวิกฤตดังกล่าวจะหมายถึงปัญหารุนแรงของบุคคลหนึ่งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องในที่ทำงาน เช่น ปัญหาจากครอบครัวเรื่องลูก ญาติผู้ใหญ่คนสนิทเสียชีวิตกะทันหัน การตรวจพบว่าเป็นโรคร้ายแรง เป็นต้น ซึ่งวิกฤตส่วนบุคคลนั้นเมื่อเกิดขึ้นระหว่างที่การทำงานของเราไปได้ดี นั่นอาจทำให้กลายเป็นหายนะในที่ทำงานได้หากได้รับการจัดการไม่ดีพอ  เทคนิครับมือกับปัญหาวิกฤตส่วนบุคคลเพื่อไม่ให้เกิดการลุกลามส่งผลกระทบไปยังการทำงาน โดยในที่นี้ขอเสนอเทคนิค 4 ประการ ได้แก่ 1. บริหารจัดการการไหลของข้อมูล - การตัดสินใจอย่างแรกๆ คือ เรื่องของการที่จะสื่อสารถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับเราให้กับเพื่อนร่วมงานอย่างไร และ เราจะเปิดเผยมากน้อยแค่ไหน  โดยกฎเกณฑ์เบื้องต้นอาจพิจารณาว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื...

รายงานทุจริตภายในองค์กร มีจำนวนที่น้อยลง? (s.148)

  ปัจจุบันการตรวจสอบการทุจริตภายในองค์กรถือเป็นเรื่องปกติโดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ โดยองค์กรที่มีขนาดใหญ่มักจัดตั้งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของฝ่ายต่างๆ ภายในองค์กรและรายงานให้ผู้บริหารหรือกรรมการบริษัทได้รับทราบ ในขณะที่องค์กรขนาดเล็กอาจเป็นเพียงการที่เปิดช่องทางการรับแจ้งเรื่องที่ดูผิดปกติให้แก่ผู้บริหารทราบ และผู้บริหารจะทำการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวต่อไป  อย่างไรก็ดีมีบริษัทไม่มากนักที่รายงานการทุจริตภายในองค์กรให้แก่หน่วยงานทางกฎหมายภายนอก เช่น ตำรวจเพื่อเข้ามาร่วมตรวจสอบและดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดดังกล่าว ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่สำคัญของการที่องค์กรไม่รายงานการทุจริตให้แก่หน่วยงานภายนอกนั้นคือการกลัวเสียชื่อเสียงหากมีเรื่องการทุจริตออกสู่ภายนอก โดยนอกจากองค์กรจะดำเนินการสืบสวนการทุจริตเองแล้ว องค์กรยังมีการลงทุนด้วยเม็ดเงินที่สูงในการใช้บริการผู้เชี่ยวชาญภายนอกเข้ามาร่วมตรวจสอบและช่วยวางระบบ นอกเหนือจากการกลัวเสียชื่อเสียงขององค์กรที่ทำให้องค์กรส่วนใหญ่ตัดสินใจไม่รายงานการทุจริตต่อผู้มีอำนาจภายนอกแล้ว ยังมีเรื่องของความไม่ไว้วางใจแก่หน่วยงานภายนอกว่าจะสามารถจัดการส...

เราจะบริการจัดการกับ การแทรกขัดจังหวะ ได้อย่างไร (s.147)

  ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันของโลกการทำงานนั้นการถูกแทรกขัดจังหวัดถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้บ่อยทั่วไปในที่ทำงาน ทั้งการประชุม การส่งข้อความ email และการพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานซึ่งทำให้เวลาของเราถูกแบ่งแยกแตกออกเป็นช่วงเวลาเล็กช่วงเวลาน้อยมากขึ้น ซึ่งรวมถึงความสนใจจดจ่อของเราที่ถูกแตกแยกออกด้วย  ในงานสำรวจชิ้นหนึ่งที่สำรวจผู้คนในสถานที่ทำงาน ทำขึ้นก่อน Covid-19 พบว่า 40% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีการถูกแทรกขัดจังหวะมากกว่า 10 ครั้งต่อวันระหว่างการจดจ่อทำงาน ในขณะที่จำนวนถึง 15% มีจำนวนการถูกขัดจังหวะมากกว่า 20 ครั้งต่อวัน ในงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าเป็นเรื่องยากที่สมองเราจะสลับเปลี่ยนความสนใจไปมาระหว่างงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นความสนใจของเราจะยังคงมีส่วนที่ยังโฟกัสอยู่ในงานที่เพิ่งถูกแทรกขัดจังหวะ ("ความสนใจที่คงเหลือ") ทำให้เราไม่สามารถพุ่งความสนใจไปยังงานใหม่ที่มาแทรกขัดจังหวะได้อย่างเต็มที่ เกิดความเสี่ยงที่งานใหม่นั้นจะมีการจัดการหรือตัดสินใจที่ไม่มีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังพบด้วยว่าการขัดแทรกจังหวะจะยิ่งลดประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อเราอยู่ในสถานการณ์ที่มีเวลาที่จำกัดมา...

พฤติกรรมจับจ่ายของกินของใช้ หลังโควิด (s.146)

ปัจจุบันเราได้เข้าสู่ไตรมาส 4 ของปี ซึ่งปกติไตรมาส 4 ของปีมักเป็นช่วงเวลาที่มีผู้บริโภคมักมีการจับจ่ายใช้สอยกันอย่างคึกคัก อย่างไรก็ดีผลกระทบจากโรคระบาดโควิด 19 ในปี 2563 นี้ ทำให้ไตรมาส 4 ดูเหมือนไม่ใช่ช่วงเวลาที่ดีสำหรับผู้ประกอบการมากนัก ซึ่งเห็นได้จากการจับจ่ายใช้สอยของผู้คนที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญโดยเฉพาะตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค  ทั้งนี้บริษัท เดอะนีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด โดยคุณชินตา ศรีจินตอังกูร ได้ชี้ให้เห็นถึงวิถีพฤติกรรมของผู้บริโภคภายหลังโควิดไว้น่าสนใจ ดังนี้ - ประเภทสินค้าที่ซื้อมีการเปลี่ยนแปลง - โดยช่วงก่อนโควิดสินค้าประเภท นม ขนมขบเคี้ยว ผลซักฟอก เป็นสินค้าที่ซื้อเป็นอันดับต้นๆ  แต่ระหว่างช่วงโควิดจะเห็นบะหนี่กึ่งสำเร็จรูปที่เพิ่มขึ้นมา และภายหลังโควิดคลี่คลาย อันดับสินค้าที่ซื้อเปลี่ยนไปเป็น นม ขนมขบเคี้ยว น้ำยาปรับผ้านุ่ม เป็นสินค้าที่ซื้อหลักๆ - ความจงรักภักดีต่อแบรนด์ลดลง - ก่อนโควิด ลูกค้าส่วนใหญ่ยังมีความจงรักภักดีต่อแบรนด์สินค้า แต่ปัจจุบันภายหลังโควิด ความจงรักภักดีต่อแบรนด์ได้ลดน้อยลง ผู้บริโภคมองหาสินค้าที่ตอบโจทย์ตนเองในระยะสั้นมากขึ้นโดยไม่ยึ...

หยุดที่จะครุ่นคิดคิดถึงความผิดพลาด (s.145)

  การทำงานต่างๆ ย่อมมีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดได้ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของการทำงาน  อย่างไรก็ดีหากความผิดพลาดดังกล่าวนำมาซึ่งความวิตกและครุ่นคิดถึงแต่ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นและทำให้เราไม่สามารถทำอะไรใหม่ๆ หรือมัวแต่ตรึกตรองในเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจนเกินไปก็อาจไม่ใช่สิ่งที่ดีนัก  โดยการครุ่นคิดที่มากเกินไปนั้นจะนำมาซึ่งความกังวล ความหดหู่ และทักษะการแก้ปัญหาที่แย่ลง ดังนั้น เมื่อเรารู้สึกว่าความคิดของเรามัวแต่คิดถึงเหตุการณ์ความผิดพลาดเก่าๆ วนไปมา สิ่งแรกที่ควรทำคือการพิจารณาหาเหตุสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดความคิดดังกล่าว ซึ่งยกตัวอย่างได้แก่ การร่วมงานกับคนที่เราไม่รู้สึกเชื่อใจ การทำงานอยู่ท่ามกลางผู้ที่ฉลาดและมีความทะเยอทะยาน การได้ปรับเลื่อนขั้นในการทำงาน หรืออาจเป็นเรื่องของการตัดสินใจทางการเงินที่สำคัญ เป็นต้น  ซึ่งเมื่อเราสามารถระบุสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เราเกิดการครุ่นคิดถึงความผิดพลาดในอดีตแล้ว แนวทางที่จะช่วยให้เราลดความคิดดังกล่าวประกอบด้วย 1. หลีกเลี่ยงจากสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้เราครุ่นคิด - ซึ่งหากเราสามารถเลี่ยงได้ ให้พยายามเลี่ยงเพื่อจะทำให้เราไม่ต้องถูกการกระตุ้...

เศรษฐกิจไทย กับ Zombie Firm (s.144)

  ในบทวิเคราะห์หนึ่งของ Krungthai Compass ได้วิเคราะห์ว่ายอดขายของธุรกิจในระบบเศรษฐกิจจะมีการติดลบถึง 9.0% ในปี 2020 และจะฟื้นตัวอย่างช้าๆ ที่ 4.4% ในปี 2021  โดยมาตราการที่ได้รับจากภาครัฐและภาคธนาคารที่ได้ช่วยเหลือธุรกิจต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมามีแนวโน้มที่จะทยอยลดลง เพราะต้องป้องกันไม่ให้เกิด Moral Hazrd ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ความเสี่ยงที่น่ากังวล คือ ความเสี่ยงด้านการชำระหนี้ โดยทาง Krungthai Compass ได้วิเคราะห์ว่าจะมีธุรกิจถึง 29.5% ที่กำไรจากการดำเนินงานไม่เพียงพอจ่ายภาระดอกเบี้ยได้ในระยะอันใกล้นี้ ซึ่งการประมาณดังกล่าวยังไม่ได้รวมถึงสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 รอบสองหากเกิดขึ้น ซึ่งในกรณีดังกล่าวจะทำให้มีกิจการที่ต้องปิดตัวเองลงมีเป็นจำนวนมาก  โดยธุรกิจที่อาจกลายเป็น Zombie Firm (พิจารณาจากกิจการที่มี interest coverage ratio ต่ำกว่า 1 เท่า ติดต่อกัน 3 รอบบัญชี ซึ่งแสดงถึงบริษัทไม่มีความสามารถในการสร้างเงินสดจากการดำเนินงานมาชำระดอกเบี้ยได้) ผลกำไรย่ำแย่และพยายามดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดอาจมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 14% ของกิจการทั้งหมดในปี 2020 และจะเพิ่มขึ้นไปเป็น 26% ในภายปี 2...

สถานการณ์ตลาดแรงงาน ภาวะซบเซา (s.143)

วิกฤตโควิด 19 ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการตกต่ำทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของโลกซึ่งรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย และการตกต่ำทางเศรษฐกิจนี้นำไปสู่การเลิกจ้างของแรงงานเป็นจำนวนมาก โดยสามารถสรุปภาพรวมของตลาดแรงงานในประเทศไทยได้ ดังนี้ 1. อัตราการว่างงานของแรงงานในระบบประกันสังคมยังคงเพิ่มสูงขึ้น - แรงงานในระบบประกันสังคมมีอัตราการว่างงานในไตรมาส 2 และเดือน ก.ค.63 อยู่ที่ 2.8% และ 3.7% ตามลำดับ สะท้อนถึงตลาดแรงงานที่ยังอ่อนแอ ทั้งนี้แรงงานในระบบที่ตกงานจะมีการย้ายไปสู่การเป็นแรงงานนอกระบบมากขึ้น ซึ่งอาจมีรายได้ที่น้อยกว่า ได้รับสวัสดิการที่ครอบคลุมน้อยกว่า รวมไปถึงโอกาสในการเข้าถึงการพัฒนา ฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่ด้อยกว่า 2. กลุ่มแรงงานอายุน้อย (15-24 ปี) มีปัญหาการว่างงานในระดับที่สูง - กลุ่มแรงงานที่มีอายุน้อยมีอัตราการว่างงานสูงกว่ากลุ่มช่วงอายุอื่น โดยจากผลกระทบของโควิด 19 กลุ่มแรงงานดังกล่าวมีอัตราการว่างงานสูงถึง 8.6% ต่อกำลังแรงงานอายุน้อยในไตรมาส 2 ปี 2563 และเพิ่มขึ้นไปถึง 9.8% ในเดือน ก.ค.  ทั้งนี้การว่างงานของกลุ่มอายุดังกล่าวถือเป็นความเสี่ยงของตลาดแรงงาน เพราะแรงงานส่วนใหญ่ไม่มี...

พฤติกรรมคนไทย หลังช่วงล็อกดาวน์ (s.142)

จากวิกฤตโควิค 19 ในช่วงต้นปี 2563 ทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องออกมาตรการ lockdown เพื่อจำกัดการเดินทางและการพบเจอกันของผู้คน เป็นการช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อโรคระหว่างกัน ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อมีจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในโลก และต่อมาสามารถกลับมาคลาย lockdown และเริ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อีกครั้งในช่วงกลางปี  อย่างไรก็ดีพฤติกรรมหลายอย่างของคนไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการปิด lockdown โดยมีผลจากการต้องถูกกักตัวอยู่ที่บ้านเป็นระยะเวลานาน ทั้งนี้ จากบทวิเคราะห์ของ EIC ธ.ไทยพาณิชย์ โดยพิจารณาข้อมูล Google Trends ที่เกี่ยวกับความสนใจของผู้บริโภค ได้เปิดเผยถึงพฤติกรรมของคนไทยที่น่าสนใจ ดังนี้ 1. คนไทยกลับมาสนใจกิจกรรมนอกบ้านเพิ่มมากขึ้นหลัง lockdown - โดยมีการค้นหาคำว่า "โรงแรม" กับ "อาหารบุฟเฟต์" ในเดือน ก.ค.-ก.ย.63 สูงกว่าช่วง lockdown ถึง 470% และ 232% ตามลำดับ และความสนใจดังกล่าวก็สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนด้วย  อย่างไรก็ดีความสนใจดังกล่าวยังไม่ได้สะท้อนถึงการใช้จ่ายที่กลับมาในระดับเดียวกัน โดยการใช้จ่ายยังคงอยู่ต่ำกว่าช่วงเกิด...

การบริหารความขัดแย้ง มีวิธีอย่างไร (s.141)

  การทำงานย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่อาจต้องมีความขัดแย้งกันเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างาน ความสำคัญของการขัดแย้งดังกล่าวไม่ใช่การหลบหนีเพื่อไม่ให้มีความขัดแย้งเพราะอาจเป็นการทำให้เสียงานที่เรากำลังทำอยู่หรือมากไปกว่านั้นคือการทำให้องค์กรเสียหายจากการไม่ทำอะไร  ครั้งนี้จึงอยากขอกล่าวถึงกลยุทธ์ที่ใช้ในการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเพื่อให้ได้ทั้งใจของคนที่คิดต่างและได้ทั้งงานที่ประสบผลสำเร็จ โดยมีกลยุทธ์พิจารณาตามสถานการณ์อิงจากเรื่องของ "เน้นงาน" หรือ "เน้นใจ" เป็นหลัก ดังนี้ * 1. กลยุทธ์ Compete รุก - เหมาะกับสถานการณ์ที่ขัดข้อขัดแย้งเป็นประเด็นที่สำคัญสำหรับเรา และความสัมพันธ์เป็นเรื่องรอง เช่น ข้อขัดแย้งในทางกฎหมาย กติตา หรือนโยบาย ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่เราต้องเน้นความถูกต้องหรือเน้นงานเป็นหลัก 2. กลยุทธ์ Accommodate ยอม - เหมาะกับข้อขัดแย้งที่มีความสำคัญน้อย ยอมแล้วไม่เสียหายหรือเสียหายในระดับที่ยอมรับได้ ใช้ในกรณีที่ความสัมพันธ์เป็นเรื่องสำคัญ และเนื้องานสำคัญเป็นรอง โดยเราอาจยอมบ้างเพื่อให้ใจคน รักษาความสัมพันธ์ระหว่างกัน 3. กลยุทธ์ Compromise ประนีประนอม ...

พนักงานที่ประสบความเร็จ เป็นอย่างไร (s.140)

  บทความชิ้นหนึ่งของ คุณอภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 24 ก.ย.63 ในหัวข้อ "6 คุณสมบัติของพนักงานที่ประสบความสำเร็จ" ได้แสดงถึงลักษณะของพนักงานที่เป็น talent ขององค์กรว่าควรมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็นคำกล่าวของคุณอภิวุฒิ ผู้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญระดับต้นๆ ของประเทศไทยในการพัฒนาผู้นำ ดังนั้นความเห็นดังกล่าวน่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับพนักงานที่ต้องการพัฒนาปรับปรุงตนเองเพื่อสร้างความสำเร็จให้แก่ตนเอง คุณสมบัติดังกล่าวประกอบด้วยกัน 6 ประการ ได้แก่ T (Team Player) - ผู้ที่จะประสบความสำเร็จมักเป็นคนเก่งที่มีความรู้ความสามารถ และยังต้องเป็นคนที่น่ารัก ทำงานเป็นทีม เข้ากันได้กับทีมเป็นอย่างดี A (Achiever) - มีผลงานที่โดดเด่น มุ่งความสำเร็จของงาน ทำอย่างสุดความสามารถ ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ L (Leader) - มีความเป็นผู้นำ สามารถโน้มน้าวใจผู้อื่นได้ กล้าทำสิ่งใหม่ๆ โดยไม่ต้องรอให้สั่งให้ทำ E (Energizer) - มีพลังและความกระตือรือร้น สามารถผลักดันตนเองและผู้อื่นได้ N (Non-Stop Learner) -  ใฝ่หาความรู้ตลอดเวลา มีทัศนคติที่เป็นแ...