แนวคิดแบบชนะร่วมกัน หรือ win-win mindset นั้น จะใช้ได้ดีสำหรับการเจรจาต่อรองที่มีประเด็นมากกว่า 1 ข้อ ซึ่งประเด็นทั้งหลายดังกล่าวจะสามารถนำมาเจรจาพูดคุยเพื่อจัดลำดับความสำคัญของแต่ฝ่ายที่เจรจาและหาจุดร่วมที่ได้ประโยชน์สูงสุดตามที่แต่ละฝ่ายต้องการร่วมกัน ในทางกลับกันหากเป็นการเจรจาต่อรองที่ประเด็นมีเป้าหมายเพียงเรื่องเดียว เช่น การเจรจาเรื่องเงินเดือน การเจรจาค่าเช่า เป็นต้น กลยุทธ์ win-win ก็อาจดูเหมือนไม่เหมาะสมกับเรื่องบริบทแบบนี้ เพราะส่วนมากการเจรจาลักษณะดังกล่าวจะจบลงตรงที่พบกันครึ่งทางและอาจไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์ที่ดีกับเรามากนัก.
เทคนิคหนึ่งที่สามารถนำไปปรับใช้ได้สำหรับการเจรจาที่มีประเด็นเพียงเรื่องเดียว โดยจะเป็นการปรับบริบทของการเจรจาให้อยู่ในรูปแบบผลลัพธ์แบบ win-win ร่วมกัน ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะเป็นการนำการเสนอสิ่งที่เราต้องการ เปรียบเทียบกับจุดแย่ที่สุดที่ผู้ร่วมเจรจาสามารถยอมรับได้. การปรับบริบทเจรจาในลักษณะนี้ เรามีแนวโน้มที่จะได้ผลลัพธ์ที่ดีมากกว่าการเจรจาโต้แย้งต่อรองกันไปมา.
โดยการปรับบริบทของการเจรจา เช่น "ข้อเสนอที่ผมได้ให้ไปเมื่อเทียบกับราคาต่ำที่สุดที่คุณยอมรับได้ เป็นอย่างไร?" ซึ่งการเจรจาในลักษณะดังกล่าวจะเป็นการสร้างจุดอ้างอิงให้กับผู้เจรจาโดยเปรียบเทียบกับข้อเสนอที่เขาคิดว่าแย่ที่สุดที่จะรับได้ ทำให้ผู้เจรจารู้สึกถึงประโยชน์ที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับทางเลือกแย่ที่สุดมากกว่าที่ผู้เจรจารู้สึกถึงการสูญเสียหากเปรียบกับทางเลือกที่ดีที่สุดในใจของเขาหากเป็นการเจรจาโดยทั่วไป.
อย่างไรก็ดีเทคนิคดังกล่าวมีข้อที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม ได้แก่ การปรับบริบทในการเจรจาแบบนี้อาจทำให้ดูเหมือนไม่สุภาพ เป็นการก้าวร้าวในการเจรจา และหากคู่เจรจามีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า การเจรจาโดยใช้เทคนิคนี้อาจไม่ได้ผลดีนัก. ดังนั้นการเจรจาต่อรองที่ดี นอกจากจำนวนประเด็นของเรื่องที่เราจะเจรจาต่อรองว่ามีมากหรือน้อยแล้ว หากเราพิจารณาวิเคราะห์ถึงบริบททางเลือกที่คู่เจรจามี เทคนิคการเจรจาในการนำเสนอสิ่งที่เราต้องการ โดยให้คู่เจรจาเปรียบเทียบกับทางเลือกที่แย่ที่สุดที่เขารับได้ก็สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับเราในการเจรจาต่อรองได้.
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
อ้างอิง: HBR: How to Play 'Friendly Hardball' in a Negotiation โดย Michael Schaerer, Martin Schweinsberg และ Roderick Swaab
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น