ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิกฤตส่วนบุคคลกับการจัดการในที่ทำงาน (s.149)

 

 
ชีวิตการทำงานของเรานั้นย่อมต้องมีช่วงเวลาที่ดีและช่วงเวลาที่ลำบาก บางช่วงเวลาอาจถือเป็นช่วงเวลาที่ดีสุดในการทำงานของเรา ในขณะที่บางช่วงเวลาก็ถือเป็นช่วงเวลาแห่งความยากลำบาก มีแต่เรื่องผิดพลาด ถูกตำหนิ กดดัน เป็นต้น  อย่างไรก็ตามวิกฤตหนึ่งทุกคนจะต้องเคยมีประสบการณ์ผ่านเข้ามาในชีวิตบ้างคือ "วิกฤตส่วนบุคคล" ซึ่งวิกฤตดังกล่าวจะหมายถึงปัญหารุนแรงของบุคคลหนึ่งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องในที่ทำงาน เช่น ปัญหาจากครอบครัวเรื่องลูก ญาติผู้ใหญ่คนสนิทเสียชีวิตกะทันหัน การตรวจพบว่าเป็นโรคร้ายแรง เป็นต้น ซึ่งวิกฤตส่วนบุคคลนั้นเมื่อเกิดขึ้นระหว่างที่การทำงานของเราไปได้ดี นั่นอาจทำให้กลายเป็นหายนะในที่ทำงานได้หากได้รับการจัดการไม่ดีพอ 

เทคนิครับมือกับปัญหาวิกฤตส่วนบุคคลเพื่อไม่ให้เกิดการลุกลามส่งผลกระทบไปยังการทำงาน โดยในที่นี้ขอเสนอเทคนิค 4 ประการ ได้แก่

1. บริหารจัดการการไหลของข้อมูล - การตัดสินใจอย่างแรกๆ คือ เรื่องของการที่จะสื่อสารถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับเราให้กับเพื่อนร่วมงานอย่างไร และ เราจะเปิดเผยมากน้อยแค่ไหน  โดยกฎเกณฑ์เบื้องต้นอาจพิจารณาว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่มีโอกาสที่ที่ทำงานจะรับรู้หรือไม่ หากมีโอกาสสูง เราควรเป็นคนแรกที่เปิดเผยเรื่องดังกล่าวนั้นเพื่อควบคุมตัวเนื้อเรื่องและอารมณ์  นอกจากกนี้ หากเป็นเรื่องที่โอกาสที่คนอื่นจะสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงของเรา เช่น ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป การเปิดเผยให้เฉพาะแก่คนที่สนิทไม่กี่คน จะเป็นการกระทำที่ดีกว่าการเก็บเงียบ ซึ่งคนกลุ่มนั้นจะเข้าใจเราและให้การสนับสนุนเรา

2. ระบุความคาดหวังให้ชัดเจน - เมื่อต้องเปิดเผยเรื่องราว เราต้องทำให้เกิดความชัดเจนถึงสิ่งที่เราคาดหวังหรือสิ่งที่ไม่ต้องการจากคนรอบตัว ตัวอย่างได้แก่ เมื่อเราต้องเปิดเผยเรื่องปัญหาวิกฤตส่วนตัวให้กับเพื่อนที่ทำงาน เราอาจเพียงต้องการให้ใครบางคนช่วยรับฟังปัญหาของเรา โดยไม่ต้องการคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะใดๆ ซึ่งความต้องการดังกล่าวควรแจ้งออกมาเมื่อเราจะเล่าเรื่องราวให้แก่ผู้อื่นได้รับฟัง

3. ดูแลตนเองทุกๆ วัน - วิกฤตที่เกิดขึ้นนั้นมักจะทำให้เราหดหู่ มีประสิทธิภาพลดลง เกิดความเครียด  ดังนั้นการดูแลรักษาสภาพจิตใจของตัวเองจึงเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ เพื่อให้ความรู้สึก สภาพจิตใจของเรากลับคืนมาเหมือนเดิม โดยการรักษาบำบัดตนเองนั้นสามารถทำได้ตั้งแต่ การนั่งสมาธิ การเขียนบทความ การเล่นดนตรี หรือแม้กระทั่งการออกกำลังกาย  ให้เราพยายามหาวิธีการที่เหมาะกับตัวเรา ที่จะช่วยให้เราปลดปล่อยความเครียดและสนุกไปกับกิจกรรม

4. หาผู้คนที่มีวิกฤตร่วมกันและฟันฝ่าไปด้วยกัน - วิกฤตส่วนบุคคลหลายอย่างนั้น เป็นเรื่องที่จริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องที่เป็นปัญหาเฉพาะตัวบุคคลแต่เป็นปัญหาของคนหลายคน เพียงแต่เรามักคิดว่านี่คือปัญหาของเราและเราพยายามหาทางออกด้วยตัวของเราเอง ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาเรื่องสุขภาพของลูก ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นปัญหาของทั้งพ่อและแม่หรืออาจจะรวมไปถึงสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัว  ดังนั้นหากเรารวมกลุ่มในการช่วยหาทางออก ช่วยกันแก้ไขปัญหาร่วมกัน วิกฤตที่เกิดขึ้นนั้นจะบรรเทาลงไปได้ โดยต้องไม่นำปัญหาทั้งหมดมาแบกรับไว้คนเดียว 

สถานการณ์ที่ยากลำบาก วิกฤตส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราที่ต้องฟันฝ่ามันไปให้ได้ เทคนิคที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เราสามารถมีจุดยึดเหนี่ยวในการแก้ไขปัญหา โดยหากเรายืนหยัดสามารถผ่านสิ่งร้ายๆ เหล่านั้นไปนั้น สิ่งดีๆ มักจะตามมาภายหลังให้เรารู้สึกดีกับตนเองเสมอ
👍
-- ถ้าชอบช่วยกด Like, ถ้าดีช่วยกด Share เพื่อเป็นข้อมูลให้ทีมงานนำไปปรับปรุงต่อไป ขอบคุณมากครับ 🙏🙏

#busguy 
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
อ้างอิง: HBR : Working Through a Personal Crisis โดย Sabina Nawaz

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...

Reserve Currency (s.538)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Reserve Currency คือ เงินตราต่างประเทศที่ธนาคารกลางและสถาบันการเงินใหญ่ๆ ในโลกถือไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ในการค้า การลงทุนและการชำระหนี้ระหว่างประเทศ. ➼ ตั้งแต่ปี 1944 มี 44 ประเทศได้ตกลงกันที่เมือง Bretton Woods ที่จะให้ดอลลาร์เป็นเงินตราที่จะใช้ในธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยประเทศต่างๆ จะผูกค่าเงินของตนไว้กับดอลลาร์ และดอลลาร์ก็จะผูกไว้กับทองคำอีกต่อหนึ่ง ในอัตรา 35 ดอลลาร์ต่อทองทำ 1 Troy Ounce นี่เป็นจุดกำหนดของระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate System). ➼ ในปี 1973 ประธานาธิบดีนิกสันได้ประกาศยกเลิกการผูกค่าเงินดอลลาร์ไว้กับทองคำ อันเป็นจุดเริ่มต้นของระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Flexible Exchange Rate System) โดยแม้ดอลลาร์จะไม่มีทองคำหนุนหลัง แต่ดอลลาร์ก็ยังคงเป็น reserve currency หลักของโลกมาตลอดมาตลอดเกือบ 80 ปี เพราะสภาพคล่องที่มีสูงมาก. ➼ สหรัฐถือเป็นประเทศที่ได้เปรียบทุกประเทศในการที่สามารถใช้เงินของตนทำธุรกรรมต่างประเทศได้ อย่างไรก็ดี ในระยะยาว ยังมีคำถามที่เกิดขึ้นคือ ดอลลาร์อาจสูญเสียความเป็น reserve currency หลักของ...