ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พฤติกรรมจับจ่ายของกินของใช้ หลังโควิด (s.146)



ปัจจุบันเราได้เข้าสู่ไตรมาส 4 ของปี ซึ่งปกติไตรมาส 4 ของปีมักเป็นช่วงเวลาที่มีผู้บริโภคมักมีการจับจ่ายใช้สอยกันอย่างคึกคัก อย่างไรก็ดีผลกระทบจากโรคระบาดโควิด 19 ในปี 2563 นี้ ทำให้ไตรมาส 4 ดูเหมือนไม่ใช่ช่วงเวลาที่ดีสำหรับผู้ประกอบการมากนัก ซึ่งเห็นได้จากการจับจ่ายใช้สอยของผู้คนที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญโดยเฉพาะตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค  ทั้งนี้บริษัท เดอะนีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด โดยคุณชินตา ศรีจินตอังกูร ได้ชี้ให้เห็นถึงวิถีพฤติกรรมของผู้บริโภคภายหลังโควิดไว้น่าสนใจ ดังนี้

- ประเภทสินค้าที่ซื้อมีการเปลี่ยนแปลง - โดยช่วงก่อนโควิดสินค้าประเภท นม ขนมขบเคี้ยว ผลซักฟอก เป็นสินค้าที่ซื้อเป็นอันดับต้นๆ  แต่ระหว่างช่วงโควิดจะเห็นบะหนี่กึ่งสำเร็จรูปที่เพิ่มขึ้นมา และภายหลังโควิดคลี่คลาย อันดับสินค้าที่ซื้อเปลี่ยนไปเป็น นม ขนมขบเคี้ยว น้ำยาปรับผ้านุ่ม เป็นสินค้าที่ซื้อหลักๆ

- ความจงรักภักดีต่อแบรนด์ลดลง - ก่อนโควิด ลูกค้าส่วนใหญ่ยังมีความจงรักภักดีต่อแบรนด์สินค้า แต่ปัจจุบันภายหลังโควิด ความจงรักภักดีต่อแบรนด์ได้ลดน้อยลง ผู้บริโภคมองหาสินค้าที่ตอบโจทย์ตนเองในระยะสั้นมากขึ้นโดยไม่ยึดติดตราสินค้า

- ซื้อสินค้าไซด์ใหญ่แบ่งกันใช้ - การที่คนตกงานมากขึ้นจากการปิดตัวของธุรกิจหรือปรับลดจำนวนคนงาน ทำให้คนจำนวนมากต้องกลับไปอยู่กับครอบครัวและทำให้ครอบครัวมีขนาดใหญ่มากขึ้น การจับจ่ายซื้อของจึงได้มีการเปลี่ยนรูปแบบมาซื้อสินค้าที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นเพื่อแบ่งปันกันใช้ในครอบครัว

- ไม่กักตุนสินค้า - ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต่างรัดเข็มขัด ประหยัดการจับจ่ายใช้สอย ทำให้ไม่ใช้เงินเพื่อกักตุนสินค้าทีละมากๆ ดังอดีต แต่จะซื้อสินค้าเฉพาะที่จำเป็นต่อการใช้งานเท่านั้น

- เน้นสินค้าคุ้มค่า - ผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อไม่ได้สูงนักจะมองหาสินค้าที่มีราคาประหยัด คุ้มค่า  ในขณะที่ผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูงยังมีการจับจ่ายสินค้าที่แพงได้ หากสินค้านั้นมีเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและมีความคุ้มค่า แต่ทั้งนี้พฤติกรรมของทั้งสองกลุ่มจะไม่เน้นการใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายเหมือนกัน

ทั้งนี้นโยบายต่างๆ จากภาครัฐที่ออกมาเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอย จะช่วยอัดฉีดเม็ดเงินให้เข้าระบบเศรษฐกิจและทำให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง อย่างไรก็ดีการเข้าใจรูปแบบพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถผลิตสินค้าที่เหมาะสม และสร้างโอกาสให้กับธุรกิจได้ต่อไป 👍

-- ถ้าชอบช่วยกด Like, ถ้าดีช่วยกด Share เพื่อเป็นข้อมูลให้ทีมงานนำไปปรับปรุงต่อไป ขอบคุณมากครับ 🙏🙏

#busguy 
#ธุรกิจแบ่งปัน #business

อ้างอิง: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 12 ตุลาคม 2563 เรื่อง "นีลเส็น เจาะใจนักช้อปโควิด ชิงยอดขายโค้งสุดท้าย" 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...

Reserve Currency (s.538)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Reserve Currency คือ เงินตราต่างประเทศที่ธนาคารกลางและสถาบันการเงินใหญ่ๆ ในโลกถือไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ในการค้า การลงทุนและการชำระหนี้ระหว่างประเทศ. ➼ ตั้งแต่ปี 1944 มี 44 ประเทศได้ตกลงกันที่เมือง Bretton Woods ที่จะให้ดอลลาร์เป็นเงินตราที่จะใช้ในธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยประเทศต่างๆ จะผูกค่าเงินของตนไว้กับดอลลาร์ และดอลลาร์ก็จะผูกไว้กับทองคำอีกต่อหนึ่ง ในอัตรา 35 ดอลลาร์ต่อทองทำ 1 Troy Ounce นี่เป็นจุดกำหนดของระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate System). ➼ ในปี 1973 ประธานาธิบดีนิกสันได้ประกาศยกเลิกการผูกค่าเงินดอลลาร์ไว้กับทองคำ อันเป็นจุดเริ่มต้นของระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Flexible Exchange Rate System) โดยแม้ดอลลาร์จะไม่มีทองคำหนุนหลัง แต่ดอลลาร์ก็ยังคงเป็น reserve currency หลักของโลกมาตลอดมาตลอดเกือบ 80 ปี เพราะสภาพคล่องที่มีสูงมาก. ➼ สหรัฐถือเป็นประเทศที่ได้เปรียบทุกประเทศในการที่สามารถใช้เงินของตนทำธุรกรรมต่างประเทศได้ อย่างไรก็ดี ในระยะยาว ยังมีคำถามที่เกิดขึ้นคือ ดอลลาร์อาจสูญเสียความเป็น reserve currency หลักของ...