ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รายงานทุจริตภายในองค์กร มีจำนวนที่น้อยลง? (s.148)

 

ปัจจุบันการตรวจสอบการทุจริตภายในองค์กรถือเป็นเรื่องปกติโดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ โดยองค์กรที่มีขนาดใหญ่มักจัดตั้งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของฝ่ายต่างๆ ภายในองค์กรและรายงานให้ผู้บริหารหรือกรรมการบริษัทได้รับทราบ ในขณะที่องค์กรขนาดเล็กอาจเป็นเพียงการที่เปิดช่องทางการรับแจ้งเรื่องที่ดูผิดปกติให้แก่ผู้บริหารทราบ และผู้บริหารจะทำการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวต่อไป  อย่างไรก็ดีมีบริษัทไม่มากนักที่รายงานการทุจริตภายในองค์กรให้แก่หน่วยงานทางกฎหมายภายนอก เช่น ตำรวจเพื่อเข้ามาร่วมตรวจสอบและดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดดังกล่าว ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่สำคัญของการที่องค์กรไม่รายงานการทุจริตให้แก่หน่วยงานภายนอกนั้นคือการกลัวเสียชื่อเสียงหากมีเรื่องการทุจริตออกสู่ภายนอก โดยนอกจากองค์กรจะดำเนินการสืบสวนการทุจริตเองแล้ว องค์กรยังมีการลงทุนด้วยเม็ดเงินที่สูงในการใช้บริการผู้เชี่ยวชาญภายนอกเข้ามาร่วมตรวจสอบและช่วยวางระบบ

นอกเหนือจากการกลัวเสียชื่อเสียงขององค์กรที่ทำให้องค์กรส่วนใหญ่ตัดสินใจไม่รายงานการทุจริตต่อผู้มีอำนาจภายนอกแล้ว ยังมีเรื่องของความไม่ไว้วางใจแก่หน่วยงานภายนอกว่าจะสามารถจัดการสืบสวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดการสอบสวนภายในองค์กรจะมีประโยชน์อีกข้อในแง่ของการที่ธุรกิจจะสามารถกลับมาดำเนินการตามปกติได้อย่างรวดเร็วภายหลังจากการเกิดเหตุทุจริต เมื่อเทียบกับการให้หน่วยงานภายนอกเข้ามาร่วมตรวจสอบ 

ในแง่ลบการไม่รายงานการทุจริตให้แก่องค์กรภายนอกทราบจะเป็นช่องโหว่หนึ่งที่ทำให้ผู้กระทำผิดสามารถลอยนวลในสังคมได้ และผู้ทำผิดดังกล่าวอาจไปกระทำผิดต่อในอีกองค์กรอื่น และนอกจากนี้พนักงานภายในองค์กรเองยังอาจมีแนวโน้มที่จะเสี่ยงทำทุจริตมากขึ้นหากเห็นว่าผลลัพธ์จากการถูกตรวจสอบพบเจอมีความรุนแรงที่ต่ำเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่พึงได้จากการทุจริต ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงขององค์กรต่างๆ ในการรับพนักงารใหม่เข้ามาทำงานและความเสี่ยงจากพนักงานเดิมภายในองค์กรเอง

ทั้งนี้ปัจจุบันการทุจริตมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น องค์กรต่างๆ ควรต้องสร้างความสมดุลระหว่างการตัดสินใจในการจัดการเรื่องทุจริตภายในด้วยตนเองเองหรือใช้กระบวนการทางกฎหมายจากหน่วยงานภายนอกเข้ามาร่วมตรวจสอบและลงโทษ โดยการพิจารณาให้รอบด้านถึงข้อดีและข้อเสีย ซึ่งการจัดการด้วยตนเองนั้นจะมีประโยชน์เด่นชัดในระยะสั้นในการป้องกันชื่อเสียง แต่ในระยะยาวแล้วการตัดสินใจดังกล่าวอาจสร้างผลกระทบทางการเงินในเรื่องของการลงทุนระบบตรวจสอบหรือจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการทุจริตเพียงเพื่อป้องกันองค์กรจากพนักงานของตนเอง
👍
-- ถ้าชอบช่วยกด Like, ถ้าดีช่วยกด Share เพื่อเป็นข้อมูลให้ทีมงานนำไปปรับปรุงต่อไป ขอบคุณมากครับ 🙏🙏
*
#busguy 
#ธุรกิจแบ่งปัน #business

อ้างอิง: HBR : Research: Why Corporate Fraud Reports are Down by Cynthia Courtois และ Yves Gendron

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...

Reserve Currency (s.538)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Reserve Currency คือ เงินตราต่างประเทศที่ธนาคารกลางและสถาบันการเงินใหญ่ๆ ในโลกถือไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ในการค้า การลงทุนและการชำระหนี้ระหว่างประเทศ. ➼ ตั้งแต่ปี 1944 มี 44 ประเทศได้ตกลงกันที่เมือง Bretton Woods ที่จะให้ดอลลาร์เป็นเงินตราที่จะใช้ในธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยประเทศต่างๆ จะผูกค่าเงินของตนไว้กับดอลลาร์ และดอลลาร์ก็จะผูกไว้กับทองคำอีกต่อหนึ่ง ในอัตรา 35 ดอลลาร์ต่อทองทำ 1 Troy Ounce นี่เป็นจุดกำหนดของระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate System). ➼ ในปี 1973 ประธานาธิบดีนิกสันได้ประกาศยกเลิกการผูกค่าเงินดอลลาร์ไว้กับทองคำ อันเป็นจุดเริ่มต้นของระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Flexible Exchange Rate System) โดยแม้ดอลลาร์จะไม่มีทองคำหนุนหลัง แต่ดอลลาร์ก็ยังคงเป็น reserve currency หลักของโลกมาตลอดมาตลอดเกือบ 80 ปี เพราะสภาพคล่องที่มีสูงมาก. ➼ สหรัฐถือเป็นประเทศที่ได้เปรียบทุกประเทศในการที่สามารถใช้เงินของตนทำธุรกรรมต่างประเทศได้ อย่างไรก็ดี ในระยะยาว ยังมีคำถามที่เกิดขึ้นคือ ดอลลาร์อาจสูญเสียความเป็น reserve currency หลักของ...