ปัจจุบันเรามีการพูดถึงความเหลื่อมล้ำกันมากขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต โดยเฉพาะภายหลังจากวิกฤตโควิด-19 ที่เริ่มทรงตัวและดีขึ้น ความเหลี่ยมล้ำกลับดูเหมือนยิ่งมีความรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะความเหลี่อมล้ำในความมั่งคั่งที่เหมือนมีความแตกต่างกันอย่างรุนแรงในทุกสังคมในโลกนี้ ทั้งนี้ในทางเศรษฐศาสตร์ ความเหลื่อมล้ำสามารถแบ่งได้เป็น 3 มิติ คือ 1.ความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ 2.ความเหลื่อมล้ำในความมั่งคั่งหรือทรัพย์สิน และ 3.ความเหลื่อมล้ำในโอกาสของคนในสังคม
ในบริบทของประเทศไทยเรา การกระจายรายได้ของประเทศมีแนวโน้มแย่ลงต่อเนื่องมา โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงปี 2503 จนถึงก่อนวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 อย่างไรก็ดีผลของการกระจายรายได้ยังมีข้อสงสัยในการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งเชื่อว่าจริงๆ แล้วความเหลื่อมล้ำน่าจะมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน. ในแง่ของความมั่งคั่ง ประเมินว่ากลุ่มผู้ที่รวยที่สุด 1% เป็นเจ้าของสินทรัพย์กว่า 66% ของสินทรัพย์ทั้งหมดในประเทศ ซึ่งไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำในเรื่องนี้เป็นอันดับต้นๆ ของโลก. และสุดท้ายในเรื่องความเหลื่อมล้ำด้านโอกาส แนวโน้มไม่ได้แตกต่างจากความเหลื่อมล้ำด้านสินทรัพย์ โดยคนรวยมีโอกาสในสังคม เช่น การเล่าเรียน มากกว่าคนจนอย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งนี้ในประวัติศาสตร์โลกของเราในอดีต มี 4 เหตุการณ์ที่ทำให้ความเหลื่อมล้ำลดลงได้ ได้แก่ 1.สงคราม 2.การปฏิวัติทางการเมือง 3.รัฐล้มเหลว และ 4.โรคระบาด แต่ก็มักเป็นการลดลงเพียงชั่วคราวจนเมื่อสถานการณ์เหล่านั้นจบลง ทั้งนี้ในทางเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อว่าการะจายรายได้ที่แย่ลง เมื่อประเทศเริ่มมีการพัฒนาจะปรับตัวดีขึ้นเมื่อเศรษฐกิจพัฒนาในระดับที่สูงขึ้น เพราะระบบเศรษฐกิจจะมีกลไลในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำพร้อมการเติบโต
อย่างไรก็ดี การที่เศรษฐกิจเติบโตจะช่วยให้ลดความเหลื่อมล้ำ ดูเหมือนจะไม่จริงนักในบางบริบทดังเช่นประเทศไทยของเรา ซึ่งหากวิเคราะห์จะพบว่ากลไกต่างๆ เช่น ระบบแข่งขัน ระบบภาษี หรือแม้กระทั่งโอกาสการเข้าถึงการศึกษา สาธารณสุข ของเรามีปัญหา ดังนั้นการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำอาจไม่ใช่แค่การแจกเงิน หรือให้เงินอุดหนุนเรื่อยไป แต่ควรเป็นการปฏิรูปกลไกต่างๆ ให้กลับมามีประสิทธิภาพและสร้างเท่าเทียมของคนในประเทศอีกครั้ง.
👍
-- ถ้าชอบช่วยกด Like, ถ้าดีช่วยกด Share เพื่อเป็นข้อมูลให้ทีมงานนำไปปรับปรุงต่อไป ขอบคุณมากครับ 🙏🙏
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
อ้างอิง: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 19 ตุลาคม 2563 คอลัมม์เศรษฐศาสตร์บัณฑิต เรื่องแนวทางลดความเหลื่อมล้ำ โดย ดร.บัณฑิต นิจถาวร
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น