ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การบริหารความขัดแย้ง มีวิธีอย่างไร (s.141)

 


การทำงานย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่อาจต้องมีความขัดแย้งกันเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างาน ความสำคัญของการขัดแย้งดังกล่าวไม่ใช่การหลบหนีเพื่อไม่ให้มีความขัดแย้งเพราะอาจเป็นการทำให้เสียงานที่เรากำลังทำอยู่หรือมากไปกว่านั้นคือการทำให้องค์กรเสียหายจากการไม่ทำอะไร  ครั้งนี้จึงอยากขอกล่าวถึงกลยุทธ์ที่ใช้ในการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเพื่อให้ได้ทั้งใจของคนที่คิดต่างและได้ทั้งงานที่ประสบผลสำเร็จ โดยมีกลยุทธ์พิจารณาตามสถานการณ์อิงจากเรื่องของ "เน้นงาน" หรือ "เน้นใจ" เป็นหลัก ดังนี้
*
1. กลยุทธ์ Compete รุก - เหมาะกับสถานการณ์ที่ขัดข้อขัดแย้งเป็นประเด็นที่สำคัญสำหรับเรา และความสัมพันธ์เป็นเรื่องรอง เช่น ข้อขัดแย้งในทางกฎหมาย กติตา หรือนโยบาย ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่เราต้องเน้นความถูกต้องหรือเน้นงานเป็นหลัก

2. กลยุทธ์ Accommodate ยอม - เหมาะกับข้อขัดแย้งที่มีความสำคัญน้อย ยอมแล้วไม่เสียหายหรือเสียหายในระดับที่ยอมรับได้ ใช้ในกรณีที่ความสัมพันธ์เป็นเรื่องสำคัญ และเนื้องานสำคัญเป็นรอง โดยเราอาจยอมบ้างเพื่อให้ใจคน รักษาความสัมพันธ์ระหว่างกัน

3. กลยุทธ์ Compromise ประนีประนอม - เหมาะกับสถานการณ์ที่ความขัดแย้งอยู่ในระดับปานกลาง และความสัมพันธ์ยังต้องรักษาไว้ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่คนส่วนใหญ่มักเลือกใช้ แต่การใช้กลยุทธ์นี้ควรพิจารณาดูก่อนว่ามีกลยุทธ์อื่นที่เหมาะกว่าไหม เพราะอาจไม่ได้เป็นการหาทางออกที่ดีที่สุด แต่แค่เป็นการยอมๆ เพื่อให้จบกันไป

4. กลยุทธ์ Avoid เลี่ยง - เหมาะกับสถานการณ์ที่เรายังหาทางออกในข้อขัดแย้งไม่ได้ หรือถ้ารุกไปก็จะมีแต่แตกหัก แต่ถ้าจะยอมก็จะไม่เหมาะสม ตัวอย่างสถานการณ์ได้แก่ การคุยกันในเวลาที่แต่ละฝั่งมีอารมณ์รุนแรง ซึ่งควรหยุดการพูดคุยและรอไปก่อน เพื่อให้อารมณ์เย็นและหาข้อมูลเพิ่มเติม  อย่างไรก็ดีกลยุทธ์การเลี่ยง ก็ไม่ควรนำมาใช้อย่างพร่ำเพรื่อจนดูเป็นการหนีปัญหา ไม่ติดสินใจใดๆ

5. กลยุทธ์ Collaborate แก้ปัญหาร่วมกัน - กรณีที่สถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างกันและเนื้องาน มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เป็นวิธีที่ถือว่า win-win แต่ก็แลกมาด้วยการทุ่มเทกำลังสมองและกำลังใจอย่างมาก
*
เมื่อสภาพสังคมและวิถีการดำเนินชีวิตของเรามีการหมุนเร็วขึ้นในแต่ละวัน ความขัดแย้งทั้งในที่ทำงานหรือแม้กระทั่งครอบครัวย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ กลยุทธ์การบริหารจัดการความขัดแย้งที่ได้กล่าวมาจะช่วยให้เราสามารถเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับเหตุการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาได้ทั้งใจคนและผลงาน และคราวหน้าหากเจอข้อขัดแย้ง อย่าลืมนำกลยุทธ์เหล่านี้ไปลองใช้กันนะครับ👍
*
#busguy 
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
อ้างอิง: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 21 ก.ย.63 เรื่อง "5 กลยุทธ์ หยุดทุกข้อขัดแย้ง" โดย อ.พอใจ พุกกะคุปต์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...