ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ลักษณะของเจเนอเรชั่นที่ต่างขั้ว (s.153)

 


ผู้คนที่ต่างรุ่นต่างวัยมักมีมุมมองแนวคิดที่แตกต่างกัน ถ้าเป็นรุ่นที่ใกล้ๆ อายุไม่ได้แตกต่างกันมาก ความคิด ความเชื่ออาจไม่ได้แตกต่างกันมากนัก แต่หากเป็นคนรุ่นผู้ใหญ่ที่ใกล้เกษียณหรือเกษียณแล้ว ซึ่งยุคที่เขาเติบโตมานั้นมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างช้าหรือเราอาจเรียกว่าเป็นยุคของคนรุ่น 1.0  และในอีกมุมหนึ่งคนที่อายุประมาณวัยรุ่นหรือกำลังอยู่ในวัยเรียน จะเป็นยุคที่เขาเห็นการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมายและรวดเร็วเกิดขึ้นในช่วงชีวิตที่เขาโตมากอย่างมาก เราอาจเรียกคนรุ่นนี้ว่าคนรุ่น 4.0.

-

ถ้าให้เปรียบเทียบกับแบบเข้าใจง่ายคือ คนยุค 1.0 จะฟังเทปคาสเซ็ท ในขณะที่คนยุค 4.0 จะฟังเพลง Streaming ซึ่งความเชื่อของคนทั้งสองจะแตกต่างกันอย่างมากและส่งผลต่อวิธีคิดในการทำงาน.  โดยคนยุค 1.0 จะคิดแบบการกำกับให้คนทำงานตามที่สั่ง ในขณะที่คนยุค 4.0 จะคิดแบบร่วมมือกันทำงานให้เรียบร้อย.  คนยุค 1.0 มีความเชื่อความคิดเป็นสำคัญ อนาคตจะเป็นดังความคิดของผู้นำ ในขณะที่คนยุค 4.0 เชื่อในเรื่องการช่วยกันสร้างอนาคต ทุกคนมีส่วนร่วมในการคิด ออกแบบ และทำอนาคตร่วมกัน.

-

ความเป็นขาวหรือดำคืออีกสิ่งหนึ่งที่เป็นลักษณะของคนยุค 1.0 โดยคนในยุคนี้จะมองคนเป็นมิตรหรือศัตรู ในขณะที่คนยุค 4.0 มองคนในลักษณะสังคมเดียวกัน วันนี้อาจสู้กัน แต่วันหน้าก็อาจช่วยกันก็ได้.  คนยุค 1.0 เชื่อผู้เชี่ยวชาญ และมักปักใจเชื่อคนๆ หนึ่งที่เห็นว่าเป็นผู้มีความรู้  แต่คนยุค 4.0 นั้นจะรับฟังความเห็นของคนในสังคม ซึ่งได้ความเห็นหลากหลายรอบด้าน. และที่กล่าวมาจึงทำให้คนยุค 1.0 มีลักษณะการเรียนรู้แบบเข้าชั้นเรียน เรียนเสร็จค่อยไปทำงาน โครงสร้างการเรียนตายตัว ในขณะที่คนยุค 4.0 เรียนรู้หลากหลาย หลายช่องทาง และปรับการเรียนรู้ตามความสนใจไม่ยึดติด.

-

ทั้งนี้จากข้างต้นของบทความที่กล่าวถึงช่วงอายุของคนที่น่าจะอยู่ในยุค 1.0 หรือ 4.0  อย่างไรก็ดีอายุคงไม่ใช่สิ่งที่มาตัดสินว่าเราเป็นคนในยุคไหน หากแต่ความคิดของเราต่างหากที่เป็นสิ่งที่กำหนดให้เราถูกจัดเป็นคนของกลุ่มไหน ทุกสิ่งในโลกล้วนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การยึดติดในบางสิ่งอาจไม่ใช่เรื่องที่ดีเสมอไป ดังนั้นทั้งคนยุค 1.0 และ 4.0 ควรปรับตัวโน้มเอียงลงมาเพื่อทำความเข้าใจกันและกันเพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมร่วมกันได้อย่างสงบสุข

👍

#busguy 
#ธุรกิจแบ่งปัน #business

อ้างอิง: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 26 ต.ค. 63 คอลัมม์ก้าวไกลวิสัยทัศน์ เรื่อง '1.0 เจอ 4.0' โดย ดร.บวร ปภัสราทร

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...

Reserve Currency (s.538)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Reserve Currency คือ เงินตราต่างประเทศที่ธนาคารกลางและสถาบันการเงินใหญ่ๆ ในโลกถือไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ในการค้า การลงทุนและการชำระหนี้ระหว่างประเทศ. ➼ ตั้งแต่ปี 1944 มี 44 ประเทศได้ตกลงกันที่เมือง Bretton Woods ที่จะให้ดอลลาร์เป็นเงินตราที่จะใช้ในธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยประเทศต่างๆ จะผูกค่าเงินของตนไว้กับดอลลาร์ และดอลลาร์ก็จะผูกไว้กับทองคำอีกต่อหนึ่ง ในอัตรา 35 ดอลลาร์ต่อทองทำ 1 Troy Ounce นี่เป็นจุดกำหนดของระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate System). ➼ ในปี 1973 ประธานาธิบดีนิกสันได้ประกาศยกเลิกการผูกค่าเงินดอลลาร์ไว้กับทองคำ อันเป็นจุดเริ่มต้นของระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Flexible Exchange Rate System) โดยแม้ดอลลาร์จะไม่มีทองคำหนุนหลัง แต่ดอลลาร์ก็ยังคงเป็น reserve currency หลักของโลกมาตลอดมาตลอดเกือบ 80 ปี เพราะสภาพคล่องที่มีสูงมาก. ➼ สหรัฐถือเป็นประเทศที่ได้เปรียบทุกประเทศในการที่สามารถใช้เงินของตนทำธุรกรรมต่างประเทศได้ อย่างไรก็ดี ในระยะยาว ยังมีคำถามที่เกิดขึ้นคือ ดอลลาร์อาจสูญเสียความเป็น reserve currency หลักของ...