ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พฤติกรรมคนไทย หลังช่วงล็อกดาวน์ (s.142)



จากวิกฤตโควิค 19 ในช่วงต้นปี 2563 ทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องออกมาตรการ lockdown เพื่อจำกัดการเดินทางและการพบเจอกันของผู้คน เป็นการช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อโรคระหว่างกัน ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อมีจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในโลก และต่อมาสามารถกลับมาคลาย lockdown และเริ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อีกครั้งในช่วงกลางปี  อย่างไรก็ดีพฤติกรรมหลายอย่างของคนไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการปิด lockdown โดยมีผลจากการต้องถูกกักตัวอยู่ที่บ้านเป็นระยะเวลานาน

ทั้งนี้ จากบทวิเคราะห์ของ EIC ธ.ไทยพาณิชย์ โดยพิจารณาข้อมูล Google Trends ที่เกี่ยวกับความสนใจของผู้บริโภค ได้เปิดเผยถึงพฤติกรรมของคนไทยที่น่าสนใจ ดังนี้

1. คนไทยกลับมาสนใจกิจกรรมนอกบ้านเพิ่มมากขึ้นหลัง lockdown - โดยมีการค้นหาคำว่า "โรงแรม" กับ "อาหารบุฟเฟต์" ในเดือน ก.ค.-ก.ย.63 สูงกว่าช่วง lockdown ถึง 470% และ 232% ตามลำดับ และความสนใจดังกล่าวก็สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนด้วย  อย่างไรก็ดีความสนใจดังกล่าวยังไม่ได้สะท้อนถึงการใช้จ่ายที่กลับมาในระดับเดียวกัน โดยการใช้จ่ายยังคงอยู่ต่ำกว่าช่วงเกิดโควิด 19 อยู่

2. กิจกรรรมในบ้านได้รับความนิยมมากกว่าในอดีต - กิจกรรมที่ยังคงได้รับนิยมอย่างต่อเนื่องจากช่วง lockdown โดยพิจารณาจากระดับของการค้นหาใน Google Search ได้แก่ 1.การทำอาหารที่บ้าน  2.การปลูกต้นไม้  3.การออกกำลังกายในบ้าน  และ 4.การทำงานที่บ้าน  ซึ่งถึงแม้เมื่อพิจารณาจากการค้นหาคำที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวได้ลดลงบ้างแล้วก็ตามในช่วงหลัง lockdown แต่ก็ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง แสดงถึงพฤติกรรมของคนไทยที่น่าจะเปลี่ยนแปลงไปเป็น New Normal มากขึ้น

3. Platform Online ได้รับความนิยมสูงกว่าแนวโน้มปกติ - โดยโควิด 19 ได้เร่งกระแสการปรับตัวเข้าสู่ดิจิทอลของคนไทยมากขึ้น สะท้อนจากการค้นหาคำที่เกี่ยวข้องกับการบริการทางออนไลน์ ที่เร่งตัวจากภาวะปกติในช่วง lockdown ซึ่งถึงแม้ภายหลังการ lockdown จะมีการค้นหาคำประเภทดังกล่าวน้อยลง แต่พบว่ากิจกรรมที่เกิดขึ้นจริงบน Platform ยังคงมีการเติบโตที่สูงต่อเนื่อง 

สถานการณ์โควิต 19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งบางกิจกรรมอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงที่จะไม่กลับเป็นเหมือนเดิมดังเช่นช่วงก่อนโควิด 19  ดังนั้น นอกจากธุรกิจต้องฟันผ่าวิกฤตทางเศรษฐกิจแล้ว ธุรกิจยังจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันไปกับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภคเช่นกัน 👍
*

#busguy 
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
อ้างอิง: EIC Data Analytics : เทรนด์คนไทยหลัง COVID-19 วิถีชีวิตที่ (ไม่) เหมือนเดิม โดย ธ.ไทยพาณิชย์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...