ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สถานการณ์ตลาดแรงงาน ภาวะซบเซา (s.143)




วิกฤตโควิด 19 ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการตกต่ำทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของโลกซึ่งรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย และการตกต่ำทางเศรษฐกิจนี้นำไปสู่การเลิกจ้างของแรงงานเป็นจำนวนมาก โดยสามารถสรุปภาพรวมของตลาดแรงงานในประเทศไทยได้ ดังนี้

1. อัตราการว่างงานของแรงงานในระบบประกันสังคมยังคงเพิ่มสูงขึ้น - แรงงานในระบบประกันสังคมมีอัตราการว่างงานในไตรมาส 2 และเดือน ก.ค.63 อยู่ที่ 2.8% และ 3.7% ตามลำดับ สะท้อนถึงตลาดแรงงานที่ยังอ่อนแอ ทั้งนี้แรงงานในระบบที่ตกงานจะมีการย้ายไปสู่การเป็นแรงงานนอกระบบมากขึ้น ซึ่งอาจมีรายได้ที่น้อยกว่า ได้รับสวัสดิการที่ครอบคลุมน้อยกว่า รวมไปถึงโอกาสในการเข้าถึงการพัฒนา ฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่ด้อยกว่า

2. กลุ่มแรงงานอายุน้อย (15-24 ปี) มีปัญหาการว่างงานในระดับที่สูง - กลุ่มแรงงานที่มีอายุน้อยมีอัตราการว่างงานสูงกว่ากลุ่มช่วงอายุอื่น โดยจากผลกระทบของโควิด 19 กลุ่มแรงงานดังกล่าวมีอัตราการว่างงานสูงถึง 8.6% ต่อกำลังแรงงานอายุน้อยในไตรมาส 2 ปี 2563 และเพิ่มขึ้นไปถึง 9.8% ในเดือน ก.ค.  ทั้งนี้การว่างงานของกลุ่มอายุดังกล่าวถือเป็นความเสี่ยงของตลาดแรงงาน เพราะแรงงานส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ทำงานและการว่างงานจะทำให้เกิดการขาดช่วงของการสร้างทักษะและประสบการณ์จากการทำงาน

3. จำนวนแรงงานที่ต้องหยุดงานชั่วคราวสูงกว่าในอดีต - ผู้ต้องหยุดงานชั่วคราวสูงถึง 2.5 ล้านคนในช่วง lockdown ซึ่งส่วนใหญ่ 82.4% ไม่ได้รับค่าจ้าง และในเดือน ส.ค. จำนวนผู้หยุดงานชั่วคราวปรับลดลงเป็น 4.4 แสนคน ซึ่งการที่ต้องหยุดงานชั่วคราวอาจทำให้แรงงานกลายเป็นผู้ตกงานได้ในท้ายที่สุดหากกิจการยังซบเซาและขาดสภาพคล่อง

4. สัดส่วนการทำงานต่ำระดับยังคงเพิ่มขึ้น - ในไตรมาส 2 งานเต็มเวลาและงานล่วงเวลามีจำนวนลดลงรวมกันถึง 4.8 ล้านคน ขณะที่งานต่ำระดับ (งานที่ทำไม่เกิน 35 ชม./สัปดาห์) รวมถึงจำนวนการหยุดงานชั่วคราวเพิ่มสูงถึง 4.1 ล้านคน แนวโน้มนี้สะท้อนถึงกำลังในการจ้างงานของภาคเอกชนที่ถดถอยจึงไม่สามารถจ้างงานเต็มเวลาและล่วงเวลาได้ในจำนวนที่มาก และยังสะท้อนถึงรายได้ของแรงงานมีแนวโน้มที่ลดลง และยังไม่ฟื้นตัว 

ทั้งนี้เศรษฐกิจที่มีการฟื้นตัวช้าๆ ในปัจจุบัน อาจไม่ใช่สิ่งที่ยืนยันถึงการกลับมาของการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน  หลายธุรกิจมีการปรับลดจำนวนพนักงานและจำนวนชั่งโมงแรงงาน รวมถึงมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้แทนแรงงาน ทำให้ความต้องการแรงงานในอนาคตมีแนวโน้มที่ไม่สดใจนัก  ทั้งนี้คนที่ยังอยู่ในตลาดแรงงานหรือผู้ที่อยู่ระหว่างการหางาน การพยายามเพิ่มทักษะให้กับตนเองและปรับทักษะให้เหมาะสมกับความต้องการจึงเป็นเรื่องที่สำคัญเพื่อจะทำให้เราเป็นที่ต้องการของตลาดได้ทุกสภาวะ 👍

-- ถ้าชอบช่วยกด Like, ถ้าดีช่วยกด Share เพื่อเป็นข้อมูลให้ทีมงานนำไปปรับปรุงต่อไป ขอบคุณมากครับ 🙏🙏
*
#busguy 
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
อ้างอิง: EIC เรื่อง "EIC ประเมิน 4 สัญญาณความอ่อนแอของตลาดแรงงานไทยหลังคลายล็อกดาวน์" โดย ธ.ไทยพาณิชย์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...