ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Micro Stress ความเครียดขนาดเล็ก กำลังทำลายเราอยู่หรือไม่ (s.151)

 


ในวิถีชีวิตประจำวันของเรามักเจอเรื่องราวต่างๆ มากมายที่ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นมา โดยความเครียดที่เข้ามาหาเราแบบทีละเล็กทีละน้อยอย่างต่อเนื่องในวันหนึ่งๆ นั้นซึ่งอาจเรียกว่า 'Micro-stresses' หรือ ความเครียดขนาดเล็ก เป็นความเครียดที่เข้ามาในหลากหลายรูปแบบ หลายช่องทางทั้งในเชิงของปริมาณ ความหลายหลาก หรือแม้กระทั่งความถี่  โดยที่เราอาจไม่ได้เคยตระหนักมาก่อน เช่น ความเครียดเกิดจากการทำงานที่ยาก ความเครียดจากลูกค้า จากเจ้านายที่กดดันในงาน ซึ่งประเด็นที่สำคัญของความเครียดขนาดเล็กนี้คือมันจะก่อตัวอย่างช้าๆ โดยเราไม่ทันรู้ตัว และกลายเป็นความเครียดขนาดใหญ่ที่ทำให้เรารู้สึก burn out ไป


ประมาณการ 60-80% ของการเข้าพบแพทย์สำหรับเรื่องของความเครียดนั้นมีสาเหตุมาจากโรคภัยไข้เจ็บและความคับข้องใจ ซึ่งความเครียดจะส่งผลถึงประสิทธิภาพที่ลดลงของเรา คุณภาพของการตัดสินใจที่แย่ลง และบ่อยครั้งที่จะทำให้เกิดการลดแรงจูงใจ ความคิดสร้างสรรค์และความมีประสิทธิผลในการทำงาน.  สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับความเครียดขนาดเล็กนี้คือมักเกิดขึ้นโดยมีสาเหตุจากคนใกล้ตัวของเราทั้งในและนอกที่ทำงาน โดยเราสามารถแบ่งความเครียดออกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.ความเครียดขนาดเล็กที่ส่งผลให้ความสามารถของเราลดลง (โดยมีสาเหตุ เช่น การสื่อสารที่ไม่ชัดเจน ความรับผิดชอบงานที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น)  2.ความเครียดขนาดเล็กที่ส่งผลให้พลังจิตใจลดลง (มีสาเหตุมาจาก เช่น เหตุการณ์ที่ทำให้ความรู้สึกของเราเป็นลบ ความกังวลเกี่ยวกับเรื่องที่คนอื่นจะมองเรา เป็นต้น)  และ 3.ความเครียดขนาดเล็กที่ส่งผลถึงตัวตนและคุณค่าของเรา (ยกตัวอย่าง เช่น แรงกดดันในการทำตามเป้าหมายซึ่งไม่ตรงกับคุณค่าที่เราให้กับสิ่งนั้น หรือเมื่อมีคนมาทำลายความมั่นใจของเรา เป็นต้น) 


ทั้งนี้ เราสามารถบริหารจัดการความเครียดขนาดเล็กดังกล่าวซึ่งมีอยู่ด้วย 3 ขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่

1. ลองสังเกตตัวของเราเมื่อรู้สึกตัวว่าเกิดความเครียด ให้ทำการทยอยขจัดสาเหตุเล็กๆ น้อยๆ ที่น่าจะเป็นต้นเหตุของความเครียดที่เกิดขึ้น เช่น การปิดคอมพิวเตอร์  การลดกิจกรรมที่รบกวนจิตใจของคุณ เป็นต้น ซึ่งเมื่อคุณพยายามขจัดแหล่งที่มาของความเครียดให้เหลือน้อยลงแล้ว คุณจะเริ่มมีเวลาและพลังงานเพิ่มขึ้นที่จะจัดการความเครียดที่เหลือของคุณต่อไปได้

2. ใช้วิธีการบำบัดทางจิตใจ เช่น การนั่งสมาธิ หรือการทำกิจกรรมกับเพื่อนสนิท รวมถึงการรักษาสุขภาพกาย เช่น การกินอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกาย และการนอนหลับที่เพียงพอ 

3. หลีกห่างจากคนรอบข้างที่มักสร้างความเครียดให้กับเรามากกว่าสร้างความสุข เช่น เพื่อนที่ชวนเราไปเที่ยวและให้เราทิ้งงานของเราที่ทำไว้ภายหลัง หรือเพื่อนที่ชวนกินอาหารช่วงดึกๆ ในระหว่างมีเราควบคุมอาหาร เป็นต้น ทั้งนี้เราไม่จำเป็นต้องถึงกับตัดขาดจากเพื่อนกลุ่มนี้ แต่ต้องเข้าใจถึงผลกระทบจากคนกลุ่มดังกล่าวและสร้างขอบเขตเพื่อไม่ให้กระทบกับพลังกายและพลังใจของเรา


ความเครียดเป็นสิ่งที่ทำลายประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งความเครียดขนาดเล็กจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ โดยเราไม่ได้ตระหนักและจะมักรู้ตัวเมื่อเรา burn out ไปแล้ว ซึ่งความเครียดดังกล่าวยากต่อการหาสาเหตุต้นตอเพราะอยู่รอบตัว การบริหารจัดการความเครียดขนาดเล็กๆ โดยใช้เทคนิคที่ได้กล่าวมีจึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้เรารักษาพลังกายและพลังใจของเราให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดในการใช้ชีวิตประจำวันให้มีประสิทฺธิภาพ

👍

-- ถ้าชอบช่วยกด Like, ถ้าดีช่วยกด Share เพื่อเป็นข้อมูลให้ทีมงานนำไปปรับปรุงต่อไป ขอบคุณมากครับ 🙏🙏


#busguy 
#ธุรกิจแบ่งปัน #business

อ้างอิง: HBR: Don’t Let Micro-Streeses Burn You Out โดย Rob Cross, Jean Singer และ Karen Dillon

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...