ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2020

สัญญาณทางเศรษฐกิจ กับ ผลของการลงทุน (s.170)

สัญญาณทางเศรษฐกิจหลายตัวสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องบ่งชี้สำหรับการตัดสินใจในการลงทุนได้ ซึ่งวันนี้จะขอยกตัวอย่างเครื่องบ่งชี้ที่ได้รับความนิยมในการใช้เป็นเกณฑ์ในการจับสัญญาณการลงทุน ประกอบด้วย 1. GDP Growth Rate : GDP เป็นสัญญาณตัวแรกที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยบอกถึงการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร. ดังนั้น GDP จึงมีความสำคัญต่อนักลงทุนเพราะหาก GDP เป็นบวกหรือมีการเติบโต ก็ย่อมเป็นที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุน โดยเฉพาะหาก GDP มีการเติบโตที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง 2. อัตราการว่างงาน : การว่างงานยิ่งน้อยยิ่งดี แสดงถึงการที่ประเทศมีคนที่มีงานทำเป็นสัดส่วนที่มาก แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องให้ความสนใจเช่นกันคืออัตราการว่างงานมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร มีการปรับขึ้นหรือลดลงหรือไม่ เพราะในกรณีอัตราการว่างหากถ้าน้อยแต่มีการปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็อาจบ่งบอกถึงสัญญาณแนวโน้มในอนาคตที่ไม่ดีเท่าไหร่นัก 3. เงินเฟ้อ : เงินเฟ้อเป็นการบ่งบอกถึงภาพรวมการปรับตัวของราคาของสินค้าและบริการ ถ้าตัวเลขเป็นบวกแสดงว่าภาพรวมราคาสินค้าและบริการมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น หรือแพงขึ้น. โดยในภาว...

ผู้นำ กับการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง (s.169)

  จากบทความ "เหตุผลที่ผู้นำ กลายเป็นผู้ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง" โดย รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 22-25 พฤศจิกายน 2563 ได้กล่าวถึงเหตุผลถึงการที่ผู้นำกลับกลายเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรเอง ซึ่งการต่อต้านดังกล่าวถือเป็นอุปสรรคที่ทำให้องค์กรยากที่จะปรับเปลี่ยนและก้าวพัฒนาไปข้างหน้าได้ โดยเหตุผลดังกล่าวประกอบด้วย 1. สับสนระหว่างเรื่องสำคัญกับเรื่องเร่งด่วน : มักเกิดจากการที่เจ้าของและผู้บริหารใช้เวลามากเกินไปในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแทนที่จะใช้เวลากับการวางแผนไว้ล่วงหน้า 2. ขาดความกล้าหาญ : ทั้งนี้การเริ่มต้นและดำเนินกระบวนการเปลี่ยนแปลงให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยทักษะความเป็นผู้นำเป็นอย่างมาก 3. กำหนดสิ่งจูงใจไม่สอดคล้องกับความต้องการ : ซึ่งการที่สิ่งจูงใจส่วนบุคคลไม่สอดคล้องกับบริษัทนี้ทำให้ผู้นำอาจไม่ยอมดำเนินการใดๆ ที่จำเป็น เช่น ผู้บริหารระดับสูงไม่กล้าที่จะเสี่ยงในเรื่องจำเป็นเพราะกล้วสถานะของตนสั่นครอนเองหากเกิดความผิดพลาด 4. ขาดการสนับสนุนทรัพยากร : การไม่ได้รับเครื่องมือหรืออำนาจที่เพียงพอคืออุปสรรคที่สำคัญห...

โรงงานผลิตพืช (s.168)

  บทความในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 23 พ.ย. 63 โดยทีมงานวิเคราะห์ตลาดและเทคโนโลยี (MIIT) เนคเทค เรื่องสถานภาพอุตสาหกรรม 'Plant Facotry' ซึ่งมีความน่าสนใจและน่าจะเหมาะกับบริบทของสังคมไทยที่เป็นสังคมเกษตรกรรม โดยขอนำมาสรุปเล่าให้ฟังในที่นี้ โดยโรงงานผลิตพืช หรือ Plant Factory เป็นการปลูกพืชภายในอาคารหรือสถานที่ที่ถูกสร้างและออกแบบมาโดยเฉพาะ ซึ่งควบคุมสภาวะสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น อุณหภูมิ แสงแดด สารอาหาร ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น เป้าหมายเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุดที่ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและดีที่สุดตลอดปี ซึ่งจะข้อดีอื่นๆ ด้วย เช่น 1.ป้องกันศัตรูพืชและลดความเสียหายจากการใช้ยาฆ่าแมลง  2.เพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับพืชโดยตรงทำให้พืชเติบโตได้มากขึ้น และ 3.ปรับปรุงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและประหยัดการใช้น้ำ. - หากคิดถึงสภาพปัจจุบันที่พื้นที่ทางการเกษตรเสื่อมโทรมมากขึ้น ทำให้ขาดแคลนพื้นที่การเกษตร ประกอบกับสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนถี่ขึ้น อีกทั้งการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ทำให้มีความต้องการอาหารและพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้นตาม.  การปลูกพืชแนวตั้ง (vertical f...

ราคาที่ดินที่เพิ่มกับรถไฟฟ้าที่วิ่งผ่าน (s.167)

  ในช่วงนี้เราจะได้ยินข่าวเรื่องการประมูลรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ อย่างบ่อยครั้ง ซึ่งต้องยอมรับว่าในช่วงนี้ไม่ว่าจะเดินทางไปทางไหนในเขตกรุงเทพมหานคร ก็มีโอกาสสูงที่คุณจะต้องผ่านหรือเห็นการก่อสร้างรถไฟฟ้า เรียกได้ว่าก่อสร้างกันอย่างขนาดใหญ่ทั่วกรุง. โดยผลของการก่อสร้างรถไฟฟ้าดังกล่าว ย่อมไม่พ้นการปรับตัวของราคาที่ดินบริเวณรอบๆ แนวรถไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนั้น ซึ่งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้รายงานดัชนีที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ในเขตกรุงเทพฯ ช่วงไตรมาส 3 พบว่ามีการปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) เป็นดัชนีที่ 310.07 ทั้งนี้ที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในไตรมาสนี้ ทำเลที่เพิ่มมากส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ปลายสายรถไฟฟ้าที่เป็นส่วนต่อขยายและมีแผนก่อสร้างในอนาคต โดยหากเป็นทำเลที่มีรถไฟฟ้าผ่านและมีการขยายตัวเพิ่มสูงเมื่อเทียบกับปีก่อน (YoY) เราสามารถสรุปได้ดังนี้ คือ 1. สายสีชมพู (แคราย - มีนบุรี) มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.7  2. สายสีเขียวเหนือ (คูคต - ลำลูกกา) เป็นเส้นทางที่ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง โดยปัจจุบันราคาที่ดินเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 34.2 ...

วัคซีนโควิด-19 ราคาที่ต้องจ่าย (s.166)

  ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเราหลายคนอาจได้ยินข่าวเรื่องการค้นพบวัคซีนโควิด-19 กันบ้างแล้ว ซึ่งข่าวดังกล่าวก็ทำให้เศรษฐกิจเริ่มกลับมาดูคึกคักอีกครั้งหลังจากที่ซึมเศร้าไปนานนับตั้งแต่ต้นปี แต่สิ่งที่หลายคนกำลังจับตามองคือ 'ราคา' ของวัคซีนว่าจะถูกหรือแพงขนาดไหน ซึ่งวันนี้เรามีข้อมูลมาเล่าให้ฟังกัน - โดยวัคซีนที่ได้เริ่มประกาศผลความสำเร็จกันออกมานั้นมีราคาแตกต่างกันอย่างมากคือตั้งแต่ USD 3 ไปจนถึง USD 37 ซึ่งเราสามารถสรุปเป็นข้อมูลสำหรับวัคซีนตัวที่มีความคืบหน้าค่อนข้างมาก ได้ดังนี้ 1. วัคซีนจากบริษัทไฟเซอร์ ราคาประมาณ USD 19.5 ต่อโดส หรือประมาณ USD 39 ต่อคน เนื่องจากต้องใช้ 2 โดสต่อคน 2. วัคซีนจากบริษัทแอสตราเซเนกา ราคาประมาณ USD 3-4 ต่อโดส หรือ USD 6-8 ต่อคน เนื่องจากต้องใช้ 2 โดสต่อคน  3. วัคซีนจากบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ราคาประมาณ USD 10 ต่อโดส โดยใช้เพียง 1 โดสต่อคน 4. วัคซีนจากบริษัทโมเดอร์นา ราคาประมาณ USD 25-37 ต่อโดส หรือ USD 50-64 ต่อคน เนื่องจากต้องใช้ 2 โดสต่อคน - ทั้งนี้ เราจะเห็นได้ว่าราคาของวัคซีนแตกต่างกันค่อนข้างมาก แต่ประเด็นใหญ่อีกประเด็นหนึ่งคือ ประเทศไทยจะได้...

คนไทยเสี่ยงยากจนเพิ่ม 1.1 ล้านครัวเรือน !! (s.165)

   โดยรายงานของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในไตรมาส 3 ปี 2563 ได้กล่าวถึงผลกระทบต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีต่อประชาชนไทย โดยเฉพาะผู้ที่รายได้ต่ำยากจน  โดยจากการสำรวจของสำนักงานสติถิแห่งชาติร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาติ (UNICEF) ได้พบว่าจากกลุ่มตัวอย่างมีคนจำนวนถึง 54% ที่มีรายได้ลดลง และ 33% มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และนอกจากนี้ยังพบว่าจากจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 14% มีการก่อหนี้ในระบบเพิ่มขึ้น และ 9% ก่อหนี้นอกระบบเพิ่มขึ้น . และหากพิจารณาผลกระทบต่อความยากจนจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น พบว่าทุกครั้งที่มีวิกฤตจะทำให้มีจำนวนคนจนเพิ่มขึ้น. โดยวิกฤตโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ความยากจน ดังนี้ 1. กลุ่มครัวเรือนที่ยากจนจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงมากขึ้น - โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานประจำ ซึ่งเมื่อเกิดวิกฤตทำให้กิจการหยุดดำเนินธุรกิจ พนักงานจำนวนมากมีชั่วโมงการทำงานที่น้อยลงและบางส่วนถูกเลิกจ้าง นอกจากนี้คนจนเมืองจำนวนมากจำเป็นต้องกู้หนี้ยืมสินหรือนำของใช้ในบ้านไปจำนำเพื่อประทังหาเลี้ยงชีวิต 2. กล...

หนี้สาธารณะ (s.164)

บทความของ SCB EIC เรื่อง "ปัญหาระดับโลก : หนี้สาธารณะและเศรษฐกิจที่ถดถอย" ได้มีบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ ซึ่งเป็นประเด็นใหญ่ประเด็นหนึ่งที่ได้มีการถกเถียงอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิเกฤตโควิด-19 ที่ทำให้รัฐบาลของหลายประเทศต้องอัดฉีดเงินเป็นจำนวนมหาศาลเพื่อพยุงเศรษฐกิจและส่งผลให้หนี้สาธารณะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก. โดยผลจากโควิด-19 นั้นได้ส่งผลต่อการจัดเก็บภาษีที่ลดลงและรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐต่างๆ. หนี้สาธารณะที่ปรับตัวเพิ่มอย่างรวดเร็วนี้จึงมาจาก 2 ปัจจัย คือ GDP ที่หดตัว และ การเพิ่มขึ้นของหนี้สินสาธารณะ. ทั้งนี้การประเมินว่าหนี้สาธารณะจะยั่งยืนในระยะยาวหรือไม่จะขึ้นกับสมมุติฐาน 2 เรื่อง ได้แก่ (1) อัตราดอกเบี้ย และ (2) อัตราการเติบโตของ GDP.  โดยหากอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราการเติบโตของ GDP อย่างต่อเนื่องและหากรัฐบาลไม่กู้เพิ่ม จะทำให้หนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีการตั้งสมมุติฐานของอัตราดอกเบี้ยและ GDP ในระยะยาวในระยะยาวที่แม่นยำจะเป็นเรื่องยาก.  นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยและ GDP  ยังมีปัจจัยอื...

การถามประวัติเงินเดือนของผู้สมัครงาน (s.163)

ในบทความชิ้นหนึ่งของ HBR กล่าวถึงการที่องค์กรควรที่จะหยุดถามผู้สมัครงานถึงประวัติเงินเดือนของเขา. เรื่องนี้หากฟังดูผ่านๆ สำหรับประเทศไทยเราก็คงรู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าประหลาดใจ เพราะในประเทศของเรา เรามักพบคำถามถึงเงินเดือนที่ทำงานเก่าทุกครั้งไปที่เราไปสมัครเข้างานในที่ทำงานที่ใหม่ หรือบางทีแม้กระทั่งใช้ตอนที่เราไปใช้บริการของธนาคาร ก็ยังมีคำถามถึงเรื่องเงินเดือนของเราเพื่อเก็บเป็นประวัติข้อมูลลูกค้า ทำให้ในสังคมของเราดูเหมือนการถามเรื่องเงินเดือนจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างปกติมากกว่าเป็นเรื่องแปลกประหลาด. ในบทความดังกล่าวได้กล่าวถึงความแตกต่างของค่าตอบแทนของคนผิวสีและผู้หญิง ซึ่งได้รับค่าจ้างโดยเฉลี่ยในอัตราที่ต่ำกว่าคนผิวขาว โดยพิจารณาจากข้อมูลของรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวน 14 รัฐที่มีบทข้อห้ามในการเรียกถามประวัติเงินเดือนย้อนหลังเปรียบเทียบกับข้อมูลในรัฐที่ไม่ได้มีกฎระเบียบนี้ พบว่ารัฐที่มีกฎหมายที่มีการห้ามเรียกถามเงินเดือนย้อนหลังจะมีค่าจ้างในคนผิวสีเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 13% และสำหรับผู้หญิงเพิ่มขึ้น 8% ในผู้ที่สมัครทำงานใหม่ (ซึ่งยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของคนผิวขาว แต่ดีกว่ารัฐที่ไม่มีไม่กฎหมายห้...

การเปลี่ยนกลยุทธ์ของผู้สร้างความแตกต่าง ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ (s.162)

   ในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจของโลกเราต้องประสบพบกับภาวะเศรษฐกิจหดตัวที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์เหตุการณ์หนึ่งนับตั้งแต่ได้มีการจดบันทึก โดยมีสาเหตุจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 ที่แพร่ระบาดไปทุกประเทศในโลกและทำให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องหยุดชะงัก. กระทั่งจนถึงปัจจุบันนี้สถานการณ์ก็ยังไม่ได้มีแนวโน้มที่จะดีขึ้นมามากนัก. มีงานวิจัยที่รายงานว่าร้อยละ 42 ของงานที่ต้องหยุดไปในช่วงที่เกิดการระบาดนั้นมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นการสูญเสียงานไปอย่างถาวร. - กลยุทธ์ตลาดของ ไมเคิล อี พอร์ตเตอร์ หนึ่งกล่าวถึงในทางธุรกิจบ่อยครั้ง ได้แก่ กลยุทธ์ต้นทุนต่ำ และ กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง . โดยกลยุทธ์ทั้งสองสามารถสร้างความได้เปรียบขององค์กรตราบใดที่องค์กรใช้กลยุทธ์ใดกลยุทธ์หนึ่งเป็นหลัก ไม่นำมาผสมปนเปจนทำให้ไม่มีจุดยืนในตัวสินค้าหรือบริการ. ทั้งนี้กลยุทธ์สร้างความแตกต่างมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบที่รายได้จะลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับกลยุทธ์ต้นทุนต่ำในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ และอาจถึงกับต้องปิดกิจการลง. ดังนั้น ในช่วงระยะเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำ บางองค์กรมีการวางแผนที่จะเปลี่ยนกลยุทธ์โดยย้ายไปเน้นกลยุ...

การระดมสมอง ผ่านทางไกล (s.161)

การระดมสมอง หรือ brainstorm เป็นกิจกรรมหนึ่งที่เห็นได้ทั่วไปในการทำงาน ซึ่งหลายองค์กรจะเป็นคำที่เรียกติดปากเวลาจะมีการประชุมเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาหรือเพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆ  ซึ่งหากการระดมสมองเป็นการรวมของพนักงานในสถานที่ใดที่หนึ่งเพื่อทำงานร่วมกันก็ย่อมเป็นเรื่องไม่ยากนักในการจัดการให้การระดมความคิดมีประสิทธิภาพ แต่หากเป็นการระดมสมองหรือทำงานในสถานการณ์ที่แต่ละคนอยู่คนละที่หรือกล่าวว่าเป็นการระดมสมองผ่านทางไกล (Remotely) การบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพย่อมเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง ซึ่งครั้งนี้ขอยกตัวอย่างเทคนิคในการระดมสมองในการทำงานที่พนักงานแต่ละคนอยู่คนละแห่งให้มีประสิทธิภาพ ดังนี้ เข้าถึงคนที่เกี่ยวให้มากที่สุด : ข้อได้เปรียบหนึ่งของการประชุมระดมสมองผ่านทางไกล คือ เราสามารถดึงผู้คนที่เกี่ยวข้องและมีความรู้ประสบการณ์ที่หลากหลายเข้ามาช่วยระดมสมองได้มากกว่าการระดมสมองที่พนักงานมาทำงานอยู่ในสถานที่เดียวกัน โดยให้คัดเลือกผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่มีความรู้ที่ตรงกับความต้องการอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดมุมมองที่รอบด้านและครอบคลุม ใช้ประโยชน์จากเวลานัดหมายที่ไม่ตรงกัน : ในการทำงานร่วมกันผ่าน...

การบริหารพนักงานที่มีผลงานแย่ ผ่านการสื่อสารทางไกล (s.160)

  จากสภาวะการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงต้นปี 2563 ที่ผ่านมา จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ทำให้รูปแบบการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก พนักงานไม่สามารถออกจากบ้านเพื่อไปทำงานในที่ทำงานได้ และต้องเริ่มทำงานที่บ้านเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค. อย่างไรก็ดี หากเราดูตามสถิติตัวเลขที่บันทึกจริง พบว่าพนักงานจำนวนมากมีการทำงานที่บ้าน (Work from Home) อยู่แล้วตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดการระบาด โดยประมาณกันว่ามีผู้คนจำนวนกว่า 10 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาที่ทำงานที่บ้าน เพียงแต่จำนวนดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างมากภายหลังจากการระบาดของโรค. ปัญหาหนึ่งของการทำงานที่บ้านคือเรื่องของผลงานของตัวพนักงานเอง ที่กรณีของการทำงานที่บ้าน การที่จะ Feedback หรือปรับปรุงผลงานของพนักงานที่มีผลงานที่ไม่ได้ดีนักจะมีความยากลำบากกว่าการที่พนักงานดังกล่าวทำงานที่ออฟฟิต.  อย่างไรก็ดีเทคนิคที่องค์กรสามารถทำได้ในการช่วยเหลือพนักงานดังกล่าวให้ปรับปรุงผลงานเมื่อสภาพการทำงานนอกสถานที่ทำงานยังคงดำรงอยู่เช่นนี้ (Remote Workers)  1. ทบทวนความคาดหวัง : กระบวนการของการทบทวนความคาดหวังที่มี...

เมื่อคุณอยากออกจากเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรม โดยไม่รู้สึกติดค้าง (s.159)

หลายครั้งที่คุณอาจเคยสัญญาหรือผูกพันตนเองกับกลุ่มกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมนอกเวลาของบริษัทเป็นประจำทุกสัปดาห์  การเล่นกีฬากับกลุ่มเพื่อน  หรือแม้กระทั่งการเข้าร่วมองค์กรที่สนใจในการทำกิจกรรมสังคม เป็นต้น ซึ่งการผูกพันตนเองดังกล่าวอาจเป็นความรู้สึกที่เหมาะสมหรือความชอบในช่วงเวลาหรือสถานการณ์นั้นๆ ซึ่งเรามีความสนใจและสามารถอุทิศเวลากับกิจกรรมดังกล่าวได้. อย่างไรก็ดีเมื่อเวลาผ่านไปและสถานการณ์เปลี่ยนแปลง คุณอาจไม่ได้ชอบหรือไม่ได้มีเวลาให้กับสิ่งนั้นดังเดิมที่คุณเคยทำในอดีต คุณหยุดการเข้าร่วมกิจกรรมและไม่ปรากฏตัวเป็นเวลานาน ซึ่งการทำในลักษณะดังกล่าวบางครั้งจะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกค้างคาใจระหว่างตัวเรากับกลุ่มที่เราเคยเข้าร่วมมาตลอด หลายคนอาจมีความรู้สึกที่แย่ที่จะบอกกล่าว และทำให้ความสัมพันธ์ที่เคยมีจางหายไม่เหมือนเดิม. การที่เรารู้ตัวว่าเราไม่สามารถให้เวลาแก่กิจกรรมนั้นได้ สิ่งที่ควรทำคือ ทำการตัดขาดยุติการเข้าร่วมอย่างเหมาะสม ซึ่งข้อดีที่เด่นชัดคือ เราจะไม่มีความรู้สึกผิดและทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับกลุ่มที่เราเคยเข้าร่วมยังคงแนบแน่นได้ ทั้งนี้มีค...

ออกแบบการสมัครงาน ที่เอื้อต่อการสร้างความหลากหลายในที่ทำงาน (s.158)

เราคงได้ยินคำพูดหรือหลักการในเรื่องของการทำงานที่ยอมรับในความหลากหลาย ทั้งในเรื่องของเพศ ประสบการณ์ ศาสนา หรือ เชื้อชาติ เป็นต้น ซึ่งการสร้างความหลากหลายในที่ทำงานนั้นจะมีแนวโน้มทำให้พนักงานเกิดความคิดสร้างสรรค์ การมีมุมมองที่หลากหลายในการทำสิ่งใหม่หรือการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น. อย่างไรก็ดีการสร้างความหลากหลายในที่ทำงานอาจไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่ายนัก จากการที่คนเรามีแนวโน้มที่จะมีอคติ โดยเฉพาะในขั้นตอนของการรับสมัครของผู้คัดเลือกผู้สมัครงาน. สาเหตุหลักหนึ่งของการไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างความหลากหลายในที่ทำงานทั้งๆ ที่ผู้ที่เข้ามาสมัครงานอาจมีความแตกต่างหลากหลาย คือ อคติจากการเลือกผู้สมัครที่จะมีความโน้มเอียงไปทางผู้สมัครที่มีลักษณะเข้ากับแบบแผนความเชื่อของคนทั่วไป เช่น อาชีพทางเทคโนโลยีจะเหมาะกับผู้ชาย งานบัญชีจะนึกถึงผู้หญิง เป็นต้น เทคนิคหนึ่งที่องค์การสามารถนำมาปรับใช้เพื่อลดอคติในการคัดเลือกพนักงานและสร้างความหลากหลาย โดยใช้เทคนิคการสะกิด (nudge) มาใช้แทรกแซงขั้นตอนการรับสมัคร ในรูปแบบที่คนที่เกี่ยวข้องไม่ได้รู้สึกลำบากหรือสังเกตอย่างเด่นชัด คือ การแบ่งใบสมัครผู้สมัครออก...

จัดสถานที่ทำงานที่สร้างแรงผลักดัน (s.157)

  แรงผลักดันที่เหมาะสมจะนำไปสู่แรงกระตุ้นในการทำงานและการเรียนรู้  โดยมีงานวิจัยที่บ่งชี้ถึงคุณลักษณะของพนักงานที่มีแรงผลักดันซึ่งส่งผลกระทบถึงผลการทำงานที่ดี โดยพวกเขามีจุดร่วมที่เหมือนกันคือ 1. มีความมุ่งมั่นในระยะยาวที่ก่อให้เกิดผลกระทบในขอบเขตของทักษะใดทักษะหนึ่ง 2. มีความต้องการความท้าทายใหม่ๆ ซึ่งพวกเขาจะมองความท้าทายเหล่านั้นในเชิงโอกาสที่จะได้เรียนรู้ 3. มีความต้องการในการเชื่อมโยงกับผู้คนที่สามารถช่วยให้พวกเขาในเรื่องที่ท้าท้ายได้ ทั้งนี้หลักการของการสร้างสถานที่ทำงานที่สำคัญ เพื่อสนับสนุนให้พนักงานได้เกิดแรงผลักดันในการทำงานประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ การสร้างระบบที่เอื้อต่อให้ได้ทดลอง และ การสนับสนุนการประสานงานร่วมกันระหว่างพนักงาน วิธีการสร้างระบบที่เอื้อให้สร้างแรงผลักดันให้แก่พนักงาน สามารถทำได้หลากหลายวิธีการและหลายรูปแบบตั้งแต่การผสมผสานการออกแบบกระบวนการทำงาน เครื่องมือ แนวทางการบริหารที่ออกแบบมาให้เอื้อต่อการทดลองสิ่งใหม่ๆ และการลดผลกระทบของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทดลอง โดยอาจทำในรูปของการแบ่งปันพื้นที่จริงหรือพื้นที่เสมือนสำหรับทีมงาน การทำต้นแบบทดลอง (Pr...

เมื่อหัวหน้าเหมือนจะไม่ชอบเรา (s.156)

  เราอาจเคยสังเกตเวลาที่เพื่อนของเราทำงานได้ไม่ได้ดีมาก แต่หัวหน้ากลับให้กำลังใจ และพยายามสอนงานต่างๆ ให้กับเขา ในขณะที่เมื่อเราทำงานผิดพลาดเช่นเดียวกัน กลับเหมือนถูกหมางเมินหรือถูกตำหนิรุนแรงอย่างแรง ซึ่งไม่เหมือนสถานการณีที่เพื่อนเราพบเจอ. หลายครั้งที่ความคิดหนึ่งของเราคือ หรือบางทีนี่อาจเป็นสัญญาที่บ่งบอกว่าหัวหน้าอาจไม่ได้ชอบเราซะแล้ว!  แต่ทั้งนี้ก่อนที่เราจะคิดมากเกินไปหรือคิดไปในทางลบต่างๆ นาๆ สิ่งที่เราควรทำคือพยายามไล่เรียงวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ไม่พึงประสงค์นี้. - ปัญหาจากความไว้ใจ : สิ่งบ่งชี้ที่บอกว่าหัวหน้าของคุณไม่เชื่อใจคุณมักเป็นสาเหตุที่คนส่วนใหญ่มักกังวลมากจนเกินไปและคิดว่าหัวหน้าไม่ชอบเรา. อย่างไรก็ดีสิ่งที่ดูจะเป็นเครื่องชี้วัดที่ดีคือการที่หัวหน้าของคุณคิดว่าคุณไม่สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีได้เมื่อเทียบกับเพื่อนของคุณ ซึ่งความคิดดังกล่าวอาจเป็นการเข้าใจผิดของหัวหน้าของคุณเองหรือคุณอาจไม่ได้มีความสามารถตามความคาดหวังของหัวหน้าคุณก็ได้. วิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าวสิ่งแรกคือคุณต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเรื่องอะไรหรือทักษะส่วนไหนที่หัวหน้าคิดว่าเรายังด้อยก...