ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การถามประวัติเงินเดือนของผู้สมัครงาน (s.163)


ในบทความชิ้นหนึ่งของ HBR กล่าวถึงการที่องค์กรควรที่จะหยุดถามผู้สมัครงานถึงประวัติเงินเดือนของเขา. เรื่องนี้หากฟังดูผ่านๆ สำหรับประเทศไทยเราก็คงรู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าประหลาดใจ เพราะในประเทศของเรา เรามักพบคำถามถึงเงินเดือนที่ทำงานเก่าทุกครั้งไปที่เราไปสมัครเข้างานในที่ทำงานที่ใหม่ หรือบางทีแม้กระทั่งใช้ตอนที่เราไปใช้บริการของธนาคาร ก็ยังมีคำถามถึงเรื่องเงินเดือนของเราเพื่อเก็บเป็นประวัติข้อมูลลูกค้า ทำให้ในสังคมของเราดูเหมือนการถามเรื่องเงินเดือนจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างปกติมากกว่าเป็นเรื่องแปลกประหลาด.


ในบทความดังกล่าวได้กล่าวถึงความแตกต่างของค่าตอบแทนของคนผิวสีและผู้หญิง ซึ่งได้รับค่าจ้างโดยเฉลี่ยในอัตราที่ต่ำกว่าคนผิวขาว โดยพิจารณาจากข้อมูลของรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวน 14 รัฐที่มีบทข้อห้ามในการเรียกถามประวัติเงินเดือนย้อนหลังเปรียบเทียบกับข้อมูลในรัฐที่ไม่ได้มีกฎระเบียบนี้ พบว่ารัฐที่มีกฎหมายที่มีการห้ามเรียกถามเงินเดือนย้อนหลังจะมีค่าจ้างในคนผิวสีเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 13% และสำหรับผู้หญิงเพิ่มขึ้น 8% ในผู้ที่สมัครทำงานใหม่ (ซึ่งยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของคนผิวขาว แต่ดีกว่ารัฐที่ไม่มีไม่กฎหมายห้าม)

-

ทั้งนี้ การให้ข้อมูลประวัติเงินเดือนย้อนหลังจะทำให้นายจ้างอยู่ในสถานะที่ได้เปรียบในการเจรจาต่อรอง โดยถึงแม้นายจ้างจะให้ค่าจ้างเพิ่มสำหรับงานใหม่ แต่โดยทั่วไปก็มักจะน้อยกว่าค่าจ้างจริงๆ ที่ผู้สมัครควรได้รับ ซึ่งในประเด็นดังกล่าวจะทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการจ้างงานและทำให้เกิดอคติกับลูกจ้างผิวสีหรือผู้หญิงในการให้ค่าจ้าง ซึ่งเกิดความไม่เท่าเทียมในกลุ่มคนที่หลากหลายในที่ทำงาน.  อย่างไรก็ดี มี HR จำนวนมากที่ได้โต้แย้งในประเด็นดังกล่าว โดยเชื่อว่าประวัติค่าจ้างจะช่วยให้เห็นแนวโน้มของค่าจ้างของผู้สมัคร โดยหากผู้สมัครได้รับการปรับเพิ่มค่าจ้างอย่างต่อเนื่องจะแสดงให้เห็นเป็นนัยว่าผู้สมัครนั้นเป็นผู้มีความสามารถ. นอกจากนี้ ยังมีความกังวลว่าหากไม่มีข้อมูลประวัติเงินเดือนย้อนหลัง อาจทำให้บริษัทเลือกผู้สมัครที่มีคุณสมบัติที่ด้อยกว่าเฉลี่ย ซึ่งไม่เหมาะสมกับงานและเกิดการลาออกในที่สุด.


ทุกองค์กรในปัจจุบันพยายามสร้างองค์กรที่โอบรับความหลากหลายแตกต่างเพื่อช่วยนำความคิดดีๆ เข้ามารวมกันในการแก้ไขปัญหาโจทย์ทางธุรกิจในปัจจุบัน. หากเปรียบเทียบกับบริบทในสังคมเรา คงไม่มีบทสรุปที่เป็นคำตอบเดียวของเรื่องดังกล่าว หากแต่ความโปร่งใสในการรับสมัครและการให้ค่าตอบแทนน่าจะเป็นคำตอบที่ดีในการสร้างวัฒนธรรมที่ยอมรับความแตกต่าง ดึงดูดบุคคลากรที่มีพื้นฐานแตกต่างกันกัน และยังช่วยลดความไม่เท่าเทียมของค่าจ้างสำหรับกลุ่มผู้หญิง คนผิวสี และคนที่มีพื้นฐานที่หลากหลาย.

 

#busguy 
#ธุรกิจแบ่งปัน #business

อ้างอิง: HBR:  Stop Asking Job Candidates for Their Salary History โดย James Bessen, Erich Denk และ James Kossuth

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...

Reserve Currency (s.538)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Reserve Currency คือ เงินตราต่างประเทศที่ธนาคารกลางและสถาบันการเงินใหญ่ๆ ในโลกถือไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ในการค้า การลงทุนและการชำระหนี้ระหว่างประเทศ. ➼ ตั้งแต่ปี 1944 มี 44 ประเทศได้ตกลงกันที่เมือง Bretton Woods ที่จะให้ดอลลาร์เป็นเงินตราที่จะใช้ในธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยประเทศต่างๆ จะผูกค่าเงินของตนไว้กับดอลลาร์ และดอลลาร์ก็จะผูกไว้กับทองคำอีกต่อหนึ่ง ในอัตรา 35 ดอลลาร์ต่อทองทำ 1 Troy Ounce นี่เป็นจุดกำหนดของระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate System). ➼ ในปี 1973 ประธานาธิบดีนิกสันได้ประกาศยกเลิกการผูกค่าเงินดอลลาร์ไว้กับทองคำ อันเป็นจุดเริ่มต้นของระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Flexible Exchange Rate System) โดยแม้ดอลลาร์จะไม่มีทองคำหนุนหลัง แต่ดอลลาร์ก็ยังคงเป็น reserve currency หลักของโลกมาตลอดมาตลอดเกือบ 80 ปี เพราะสภาพคล่องที่มีสูงมาก. ➼ สหรัฐถือเป็นประเทศที่ได้เปรียบทุกประเทศในการที่สามารถใช้เงินของตนทำธุรกรรมต่างประเทศได้ อย่างไรก็ดี ในระยะยาว ยังมีคำถามที่เกิดขึ้นคือ ดอลลาร์อาจสูญเสียความเป็น reserve currency หลักของ...