บทความของ SCB EIC เรื่อง "ปัญหาระดับโลก : หนี้สาธารณะและเศรษฐกิจที่ถดถอย" ได้มีบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ ซึ่งเป็นประเด็นใหญ่ประเด็นหนึ่งที่ได้มีการถกเถียงอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิเกฤตโควิด-19 ที่ทำให้รัฐบาลของหลายประเทศต้องอัดฉีดเงินเป็นจำนวนมหาศาลเพื่อพยุงเศรษฐกิจและส่งผลให้หนี้สาธารณะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก. โดยผลจากโควิด-19 นั้นได้ส่งผลต่อการจัดเก็บภาษีที่ลดลงและรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐต่างๆ. หนี้สาธารณะที่ปรับตัวเพิ่มอย่างรวดเร็วนี้จึงมาจาก 2 ปัจจัย คือ GDP ที่หดตัว และ การเพิ่มขึ้นของหนี้สินสาธารณะ.
ทั้งนี้การประเมินว่าหนี้สาธารณะจะยั่งยืนในระยะยาวหรือไม่จะขึ้นกับสมมุติฐาน 2 เรื่อง ได้แก่ (1) อัตราดอกเบี้ย และ (2) อัตราการเติบโตของ GDP. โดยหากอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราการเติบโตของ GDP อย่างต่อเนื่องและหากรัฐบาลไม่กู้เพิ่ม จะทำให้หนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีการตั้งสมมุติฐานของอัตราดอกเบี้ยและ GDP ในระยะยาวในระยะยาวที่แม่นยำจะเป็นเรื่องยาก.
นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยและ GDP ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับระดับเพดานหนี้สาธารณะที่ยั่งยืนซึ่งแตกต่างไปตามปัจจัยเฉพาะของแต่ละประเทศและช่วงเวลา โดยขึ้นกับ (1) พัฒนาการของตลาดเงิน (2) ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐบาล (3) ความน่าดึงดูดของสินทรัพย์ประเภทอื่นเมื่อเทียบกับพันธบัตรของรัฐบาล. อย่างไรก็ดี มีงานวิจัยหลายชิ้นได้ชี้ให้เห็นถึงผลเสียของหนี้สาธารณะในระดับที่สูง เช่น งานวิจัยหนึ่งพบว่าประเทศที่มีหนี้สาธารณะสูงเกิน 90% ต่อ GDP จะทำให้เศรษฐกิจโตได้ช้าลง และสำหรับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ หากหนี้ต่างประเทศอยู่ในระดับที่เกิน 60% เศรษฐกิจก็มักโตช้าเช่นกัน
-
แม้ว่าระดับหนี้สาธารณะที่สูงจะส่งผลกระทบถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว แต่รัฐบาลส่วนใหญ่ยังคงให้ความสำคัญกับการพยุงเศรษฐกิจเมื่อเกิดวิกฤตมากกว่าการควบคุมระดับหนี้สาธารณะ ซึ่งประเด็นระดับหนี้สาธารณะที่สูงนี้จะมีแนวโน้มที่เป็นประเด็นสำคัญต่อไปในอนาคต.
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
อ้างอิง: SCB EIC
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น