ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การบริหารพนักงานที่มีผลงานแย่ ผ่านการสื่อสารทางไกล (s.160)

 


จากสภาวะการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงต้นปี 2563 ที่ผ่านมา จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ทำให้รูปแบบการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก พนักงานไม่สามารถออกจากบ้านเพื่อไปทำงานในที่ทำงานได้ และต้องเริ่มทำงานที่บ้านเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค. อย่างไรก็ดี หากเราดูตามสถิติตัวเลขที่บันทึกจริง พบว่าพนักงานจำนวนมากมีการทำงานที่บ้าน (Work from Home) อยู่แล้วตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดการระบาด โดยประมาณกันว่ามีผู้คนจำนวนกว่า 10 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาที่ทำงานที่บ้าน เพียงแต่จำนวนดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างมากภายหลังจากการระบาดของโรค.


ปัญหาหนึ่งของการทำงานที่บ้านคือเรื่องของผลงานของตัวพนักงานเอง ที่กรณีของการทำงานที่บ้าน การที่จะ Feedback หรือปรับปรุงผลงานของพนักงานที่มีผลงานที่ไม่ได้ดีนักจะมีความยากลำบากกว่าการที่พนักงานดังกล่าวทำงานที่ออฟฟิต.  อย่างไรก็ดีเทคนิคที่องค์กรสามารถทำได้ในการช่วยเหลือพนักงานดังกล่าวให้ปรับปรุงผลงานเมื่อสภาพการทำงานนอกสถานที่ทำงานยังคงดำรงอยู่เช่นนี้ (Remote Workers) 


1. ทบทวนความคาดหวัง : กระบวนการของการทบทวนความคาดหวังที่มีต่อพนักงานเรื่องหนึ่งคือการที่หัวหน้างานต้องแยกระหว่างความไม่พอใจในผลงานที่ออกมา หรือ ความไม่พอใจในวิธีที่พนักงานส่งมอบผลงาน. กรณีที่เป็นวิธีที่พนักงานส่งมอบผลงานให้คุยกับพนักงานอย่างตรงไปตรงมาถึงความคาดหวังของเรา และหากกรณีที่เป็นผลงานที่เกิดจากความสามารถที่ไม่เพียงพอ การอบรบหรือการให้ทำงานร่วมกับพนักงานที่มีประสบการณ์มากกว่าอาจเป็นแนวทางแก้ไขที่ดี


2. เรียนรู้และเข้าใจในตัวพนักงานมากขึ้น : หัวหน้างานควรสอบถามถึงเป้าหมายของพนักงานและทำความเข้าใจในสิ่งที่พนักงานให้ความสำคัญ โดยหัวหน้าควรปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการให้เหมาะสมกับลักษณะของพนักงานแต่ละคน เช่น พนักงานอาจมีข้อจำกัดในเรื่องเวลาเนื่องจากต้องดูแลลูกในช่วงกลางวัน หัวหน้าอาจปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการโดยเปลี่ยนการประชุมไปในช่วงบ่ายที่เหมาะกับพนักงานคนนั้น เป็นต้น


3. ให้คำแนะนำที่เหมาะสมและเฉพาะเจาะจง : พนักงานส่วนใหญ่ที่มีผลงานไม่ดีนัก จะรู้สึกถึงความกำกวมคลุมเคลือ และรู้สึกถึงการกระทำบางอย่างที่ดูเหมือนไม่ถูกต้อง แต่พวกเขาเหล่านั้นมักไม่รู้ว่าพฤติกรรมอะไรที่ไม่ถูกต้อง. ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่หัวหน้าจะให้ feeback ที่เจาะจงมากที่สุดเพื่อให้เขามีโอกาสในการปรับปรุงพฤติกรรมของเขาให้เหมาะสม


4. ช่วยเหลือพนักงานในการปรับปรุงตนเอง : ใช้การตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นพนักงานให้ได้สำรวจตนเองและปรับปรุงตนเอง การใช้คำถามที่ถูกต้องเหมาะสมจะมีส่วนช่วยให้พนักงานได้วิเคราะห์และร่วมมือในการเปลี่ยนแปลงมากกว่าการที่หัวหน้าพยายามบอกกว่าว่าอะไรที่ต้องทำหรือห้ามทำ


5. ติดต่ออย่างใกล้ชิด : เป็นหน้าที่ของหัวหน้าที่ดีที่ควรจะติดต่อพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ให้เขารู้สึกถึงการมีส่วนร่วมในองค์กร. และหัวหน้าไม่ควรคิดเอาเองว่าการไม่มีข่าวจากพนักงานถือเป็นข่าวที่ดี. ควรจัดให้มีการกำหนดตารางเพื่อประชุมร่วมกันสม่ำเสมอสำหรับการรายงานความก้าวหน้าในงานของพนักงาน ซึ่งจะทำให้พนักงานมีความรู้สึกใกล้ชิดและไม่รู้สึกโดดเดี่ยวในช่วงที่ต้องทำงานที่บ้าน


การจัดการพนักงานที่มีผลงานที่แย่โดยใช้เทคนิคที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากจะช่วยให้พนักงานปรับปรุงผลการทำงานของพวกเราแล้ว ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหัวหน้าและพนักงานด้วย.


#busguy 
#ธุรกิจแบ่งปัน #business

อ้างอิง: HBR:  5 Tips for Managing an Underperformer - Remotely โดย Liz Kislik

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...

Reserve Currency (s.538)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Reserve Currency คือ เงินตราต่างประเทศที่ธนาคารกลางและสถาบันการเงินใหญ่ๆ ในโลกถือไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ในการค้า การลงทุนและการชำระหนี้ระหว่างประเทศ. ➼ ตั้งแต่ปี 1944 มี 44 ประเทศได้ตกลงกันที่เมือง Bretton Woods ที่จะให้ดอลลาร์เป็นเงินตราที่จะใช้ในธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยประเทศต่างๆ จะผูกค่าเงินของตนไว้กับดอลลาร์ และดอลลาร์ก็จะผูกไว้กับทองคำอีกต่อหนึ่ง ในอัตรา 35 ดอลลาร์ต่อทองทำ 1 Troy Ounce นี่เป็นจุดกำหนดของระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate System). ➼ ในปี 1973 ประธานาธิบดีนิกสันได้ประกาศยกเลิกการผูกค่าเงินดอลลาร์ไว้กับทองคำ อันเป็นจุดเริ่มต้นของระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Flexible Exchange Rate System) โดยแม้ดอลลาร์จะไม่มีทองคำหนุนหลัง แต่ดอลลาร์ก็ยังคงเป็น reserve currency หลักของโลกมาตลอดมาตลอดเกือบ 80 ปี เพราะสภาพคล่องที่มีสูงมาก. ➼ สหรัฐถือเป็นประเทศที่ได้เปรียบทุกประเทศในการที่สามารถใช้เงินของตนทำธุรกรรมต่างประเทศได้ อย่างไรก็ดี ในระยะยาว ยังมีคำถามที่เกิดขึ้นคือ ดอลลาร์อาจสูญเสียความเป็น reserve currency หลักของ...