บทความในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 23 พ.ย. 63 โดยทีมงานวิเคราะห์ตลาดและเทคโนโลยี (MIIT) เนคเทค เรื่องสถานภาพอุตสาหกรรม 'Plant Facotry' ซึ่งมีความน่าสนใจและน่าจะเหมาะกับบริบทของสังคมไทยที่เป็นสังคมเกษตรกรรม โดยขอนำมาสรุปเล่าให้ฟังในที่นี้
โดยโรงงานผลิตพืช หรือ Plant Factory เป็นการปลูกพืชภายในอาคารหรือสถานที่ที่ถูกสร้างและออกแบบมาโดยเฉพาะ ซึ่งควบคุมสภาวะสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น อุณหภูมิ แสงแดด สารอาหาร ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น เป้าหมายเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุดที่ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและดีที่สุดตลอดปี ซึ่งจะข้อดีอื่นๆ ด้วย เช่น 1.ป้องกันศัตรูพืชและลดความเสียหายจากการใช้ยาฆ่าแมลง 2.เพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับพืชโดยตรงทำให้พืชเติบโตได้มากขึ้น และ 3.ปรับปรุงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและประหยัดการใช้น้ำ.
-
หากคิดถึงสภาพปัจจุบันที่พื้นที่ทางการเกษตรเสื่อมโทรมมากขึ้น ทำให้ขาดแคลนพื้นที่การเกษตร ประกอบกับสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนถี่ขึ้น อีกทั้งการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ทำให้มีความต้องการอาหารและพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้นตาม. การปลูกพืชแนวตั้ง (vertical farming) และการทำโรงงานผลิตพืช (plant factory) จึงถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหา. ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงอุตสาหกรรมการปลูกพืชแนวตั้งและโรงงานผลิตพืชพบว่ามีมูลค่าถึง 46.8 พันล้านบาท ในปี 2561 และคาดว่าจะมีมูลค่าถึง 682.8 พันล้านบาท ในปี 2568 ซึ่งคิดอัตราเติบโต 39.8% ต่อปี โดยภูมิภาคเอเซียแปซิฟิคจะเป็นผู้เล่นที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดภายในปี 2565
-
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมประกอบด้วย 1.ระบบปลูกแบบไร้ดิน 2.หลอดไฟแอลอีดี 3.เทคโนโลยีด้านแสง 4.วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 5.ระบบอัตโนมัติและ AI สำหรับติดตามการเพาะปลูก ซึ่งปัจจุบันหลายประเทศได้มีการแข่งขันกันวิจัยพัฒนาและสร้างเทคโนโลยีในเรื่องดังกล่าวเพื่อสนับสนุนการทำ plant factory อย่างต่อเนื่อง. จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรมและมีความรู้ในเรื่องการเกษตรเป็นพื้นฐานอย่างดี จะละเลยการวิจัยพัฒนาเพื่อสร้างเทคโนโลยีในเรื่องที่เกี่ยวข้องในการต่อยอดกับเกษตรกรรมในประเทศของเรา ทั้งนี้หากเอาจริงกับเรื่องดังกล่าว จะสามารถช่วยยกระดับการแข่งขันและเพิ่มโอกาสให้ประเทศก้าวสู่การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในภาคเกษตรกรรมต่อไป.
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น