ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เมื่อหัวหน้าเหมือนจะไม่ชอบเรา (s.156)

 


เราอาจเคยสังเกตเวลาที่เพื่อนของเราทำงานได้ไม่ได้ดีมาก แต่หัวหน้ากลับให้กำลังใจ และพยายามสอนงานต่างๆ ให้กับเขา ในขณะที่เมื่อเราทำงานผิดพลาดเช่นเดียวกัน กลับเหมือนถูกหมางเมินหรือถูกตำหนิรุนแรงอย่างแรง ซึ่งไม่เหมือนสถานการณีที่เพื่อนเราพบเจอ. หลายครั้งที่ความคิดหนึ่งของเราคือ หรือบางทีนี่อาจเป็นสัญญาที่บ่งบอกว่าหัวหน้าอาจไม่ได้ชอบเราซะแล้ว!  แต่ทั้งนี้ก่อนที่เราจะคิดมากเกินไปหรือคิดไปในทางลบต่างๆ นาๆ สิ่งที่เราควรทำคือพยายามไล่เรียงวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ไม่พึงประสงค์นี้.

-

ปัญหาจากความไว้ใจ : สิ่งบ่งชี้ที่บอกว่าหัวหน้าของคุณไม่เชื่อใจคุณมักเป็นสาเหตุที่คนส่วนใหญ่มักกังวลมากจนเกินไปและคิดว่าหัวหน้าไม่ชอบเรา. อย่างไรก็ดีสิ่งที่ดูจะเป็นเครื่องชี้วัดที่ดีคือการที่หัวหน้าของคุณคิดว่าคุณไม่สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีได้เมื่อเทียบกับเพื่อนของคุณ ซึ่งความคิดดังกล่าวอาจเป็นการเข้าใจผิดของหัวหน้าของคุณเองหรือคุณอาจไม่ได้มีความสามารถตามความคาดหวังของหัวหน้าคุณก็ได้. วิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าวสิ่งแรกคือคุณต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเรื่องอะไรหรือทักษะส่วนไหนที่หัวหน้าคิดว่าเรายังด้อยกว่าเพื่อนร่วมงานและหาทางปรับปรุงพัฒนาหรือหาโอกาสในการแสดงความสามารถนั้นออกมาให้หัวหน้าได้เห็น ซึ่งหากเราปรับปรุงเรื่องดังกล่าวได้ ปัญหาความไว้วางใจก็จะหมดไป

-

ปัญหาจากการสื่อสาร : อาจเป็นไปได้ว่าจริงๆ แล้วหัวหน้าไม่ได้ไม่ชอบคุณ แต่หัวหน้าอาจไม่รู้สึกเป็นธรรมชาติเวลาที่ต้องสื่อสารกับคุณ สิ่งนี้พบได้ทั่วไปโดยเฉพาะหากอายุหรือรสนิยมของหัวหน้ากับตัวเราแตกต่างกันมาก แนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวอาจเริ่มจากการที่เราสร้างเรื่องสนทนาที่เกี่ยวกับงานให้บ่อยขึ้น เนื่องจากงานที่ทำจะเป็นเรื่องทั่วไปที่สุดและมีผลได้เสียต่อหัวหน้าและตัวเราคุยจะพูดคุยกันได้ โดยเฉพาะการที่เราขอคำแนะนำจากหัวหน้าในการที่จะปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น.  นอกจากนี้เรายังอาจสังเกตเรื่องอื่นที่นอกเหนือจากเรื่องงานที่หัวหน้ามีความสนใจและหาทางสร้างโอกาสในการพูดคุยเรื่องดังกล่าวเพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างกันให้มากขึ้น

-

ขยายความสนใจของคุณ : หลายครั้งที่หัวหน้าของคุณดูเหมือนไม่ได้สนใจในตัวของคุณหรือสิ่งที่คุณทำเพียงเพราะเขาอาจอยู่ภายใต้สถานการณ์กดดันหรือมีความเครียด ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับการที่เขาไม่ได้ชอบในตัวคุณ  ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องไม่รู้สึกไปก่อนและเผลอพร่ำบ่นเกี่ยวกับหัวหน้าของคุณให้กับเพื่อนร่วมงานของคุณฟัง. ทั้งนี้การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับหัวหน้า ให้เริ่มจากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน เพราะเพื่อนร่วมงานจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยในเรื่องภาพลักษณ์ของเราให้กับหัวหน้าและทำให้หัวหน้ามีความรู้สึกที่ดีกับตัวของเรา

-

ความสัมพันธ์ที่ดีกับหัวหน้าถือเป็นเรื่องที่สำคัญลำดับต้นๆ ในการทำงาน โดยหากหัวหน้ามีความมั่นใจและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับตัวเรา โอกาสในการเติบโตในหน้าที่การงานย่อมดีตามไปด้วย แต่หากวันนี้ความสัมพันธ์กับหัวหน้าของคุณยังไม่ใช่สิ่งที่คุณคาดหวังนัก พยายามลองปรับใช้วิธีการในการสร้างสัมพันธ์ด้วยวิธีต่างๆ คุณอาจเจอวิธีและเริ่มต้นเชื่อมสัมพันธ์ที่ดีกับหัวหน้าของคุณได้


#busguy 
#ธุรกิจแบ่งปัน #business

อ้างอิง: HBR: What to Do if Your Boss Doesn't Like You โดย Liane Davey

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...