ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2020

สถานการณ์ SME ประเทศไทย (s.64)

  จากข้อมูลของสมาพันธ์เอสเอ็มอี (สสว.) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจของ SME ประเทศไทยที่น่าสนใจ จึงอยากนำมาสรุปจดเก็บบันทึกไว้ . ✅ ธุรกิจ SME ประเทศไทยประกอบด้วยธุรกิจจำนวน 3.07 ล้านราย แบ่งออกเป็นในรูปของ (1) ส่วนบุคคลและอื่นๆ 74.36%  (2) นิติบุคคล 23.03% และ (3) วิสาหกิจชุมชน 2.70% ✅ จำนวนการจ้างงานของ SME มีถึง 13.95 ล้านคน โดยหากพิจารณาถึงประเภทธุรกิจที่มีการจ้างงานสูงสุดประกอบด้วย (1) ธุรกิจการปลีก (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) 28.38%  (2) ธุรกิจบริการด้านอาหาร 10.75% และ (3) ธุรกิจการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) 7.38% ✅ และหากจำแนกตามจังหวัดที่มี SME สูงสุดจะลำดับได้ คือ กรุงเทพมหานคร, ชลบุรี, เชียงใหม่, สมุทรปราการ ✅ ทั้งนี้ SME จะยอดสินเชื่อ (โดยข้อมูลจาก ธปท.) สูงถึง 5 ล้านล้านบาท  ซึ่งจำนวนดังกล่าวมีเป้น NPL 4.8% (หรือมูลหนี้ 2.4 แสนล้านบาท) และ ใกล้จะเป็น NPL 11.1% (หรือมูลหนี้ 5.6 แสนล้านบาท)  ✅ ผลจากการสำรวจของ สสว. พบว่า SME มีเงินออมที่สามารถนำมาพยุงธุรกิจได้ประมาณ 1-2 เดือนเป็นส่วนใหญ่ที่ 30-40%  ในขณะที่ 4-5 เดือนประมาณ 25% และ 6-7 เด...

น้ำมัน ยุคหลังโควิด-19 (s.63)

จากบทความใน SCB EIC เรื่อง "COVID-19 จะส่งผลต่ออุปสงค์น้ำมันอย่างไร" โดย ดร.ศิวาลัย ขันธะชวนะ ซึ่งได้วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโลกอุปสงค์ในน้ำมันหลังยุคโควิด ซึ่งมีความน่าสนใจไม่น้อย จึงอยากนำมาสรุปจดเก็บบันทึกไว้ . ✅ วิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้อุปสงค์ในน้ำมันหดหายไปอย่างมาก โดยในเดือนเมษายน 2020 ที่มีการแพร่ระบาดกระจายหลายพื้นที่พบว่าอุปสงค์น้ำมันโลกปรับลดลงถึง 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็น 30% ของความต้องการการใช้น้ำมันทั้งหมด.  ✅ EIC มองว่าในระยะสั้น พฤติกรรมการเดินทางของคนเปลี่ยนแปลงไปจากความกังวลของ COVID-19 ที่ยังมีอยู่ ยกตัวอย่างเช่นประเทศจีนในช่วงวันหยุดยาวแรงงาน (1-5 พ.ค. 2020) ซึ่งเป็นช่วงที่วิกฤตเริ่มดีขึ้นแล้วในประเทศแต่การเดินทางยังหดตัวเมื่อเทียบกับปีที่แล้วถึง 41% YoY.  ✅ ในระยะยาวแล้ว ลักษณะการทำงานในอนาคตอาจเป็นรูปแบบทางไกลมากขึ้นโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจะกดดันความต้องการใช้น้ำมันในอนาคต โดยมีผลสำรวจพนักงาน full time ในสหรัฐฯ มากกว่า 1,200 คน โดย getAbstract พบว่าพนักงานเกือบ 43% ยังคงต้องการทำงานที่บ้านหลังจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 สิ้นสุ...

5 แนวทางสำหรับการสร้างกระแสเงินสดในช่วงเศรษฐกิจขาลง (s.62)

  บริษัทที่มีความสามารถในจับสัญญาณวิกฤตได้แต่เนิ่นๆ จะใช้แนวทางกลยุทธ์ระยะสั้นสำหรับการบริหารกระแสเงินสด ซึ่งมีส่วนที่จะช่วยสนับสนุนและลดผลกระทบทางการเงินให้ลูกค้าและพาร์ทเนอร์. ในขณะที่ตัวบริษัทเองจะมีการบริหารรายได้และค่าใช้จ่ายอย่างเข้มงวด. ทั้งนี้แนวทางทั้งสองคือการช่วยเหลือสนับสนุนทั้งลูกค้าและพาร์ทเนอร์ และ กาบริหารรายได้และค่าใช้จ่ายอย่างดุดัน จะดูเหมือนขัดแย้งและตรงข้ามกัน แต่ในความเป็นจริง แนวคิดทั้งสองนั้นจะมีส่วนช่วยสร้างสมดุลโดยใช้ความเข้าใจและการเอาใจใส่ลูกค้าเพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจของลูกค้าจะยังคงสามารถดำเนินการได้ต่อไป. ทั้งนี้ในการสร้างสมดุลดังกล่าว ผู้นำองค์กรสามารถใช้แนวทาง 5 ข้อในการบริหารจัดการ ซึ่งประกอบด้วย 1. การสร้างรายได้ระยะสั้นโดยให้มีการรับประกัน ค้ำประกัน หรือการคืนสินค้า/บริการ     ถึงแม้การดำเนินการดังกล่าวจะสร้างความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นให้แก่บริษัท อย่างไรก็ดีการทำสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เกิดความมั่นใจจากลูกค้าและผู้ใช้บริการ และสร้างแรงสนับสนุนในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัทให้ง่ายขึ้น. โดยแนวทางนี้จะช่วยให้บริษัทสามารถสร้างกระแสเงิน...

ความเชื่อ-ความหลี่ยมล้ำ-ความจน (s.61)

  บทความเรื่อง "การเปลี่ยนความเชื่อในเรื่องของความจน ช่วยลดความเหลื่อมล้ำลงได้" โดย คุณณัฐวุฒิ เผ่าทวี (www.powthavee.co.uk) ใน website ThaiPublica วันที่ 26 มิ.ย. 63 มีประเด็นเรื่องของความเลื่อมล้ำกับความเชื่อที่น่าสนใจ จึงอยากนำมาจดเก็บบันทึกไว้ ✅ จากงานวิจัย Paul K. Piff และเพื่อนร่วมงาน พบว่าเราแบ่งสาเหตุของความจนออกได้เป็น 2 แบบ โดยความเป็นจริงต้นเหตุมักมาจากสาเหตุทั้งสองผสมๆ กัน อยู่ 1. จนเพราะขี้เกียจ - ความจนแบบนี้ถือเป็นความจนที่คนเราสามารถ "ควบคุมได้" 2. จนเพราะโชคชะตา - ความจนประเภทนี้เป็นความจนที่ "ควบคุมไม่ได้" ✅ แต่ปัญหาที่พบคือ คนส่วนใหญ่มักคิดว่าสาเหตุจากความจนเป็นเพียง "ขาว" หรือ "ดำ" เท่านั้น ไม่ได้คิดว่าเป็นสาเหตุส่วนผสมระหว่างทั้งสอง.  นั่นคือ  • หากใครคนใดมีความเชื่อเอนเอียงไปว่าสาเหตุความจนของเขามาจากโชคชะตา ซึ่งเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้  เขาเหล่านั้นก็จะคิดว่าความเหลี่ยมล้ำเป็นอะไรที่ยอมรับได้ • ในขณะที่ถ้าคนนั้นมีความเชื่อที่เอนเอียงไปทางจนเพราะขี้เกียจ เขาก็มักมีความคิดว่าเราควรจะขจัดความเหลี่ยมล้ำให้หมด...

e-Service Tax เพื่อความเท่าเทียม (s.60)

  ✅ ร่างกฎหมาย e-service ปี 2563 หรือ "ร่าง พ.ร.บ. การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรโดยผู้ใช้ซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน" มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศ ✅ ปัจจุบันการทำธุรกิจสามารถใช้ช่องทางดิจิตอลเป็นสื่อสารโดยผู้ให้บริการไม่จำเป็นต้องเข้ามาให้บริการในประเทศ อีกทั้งการใช้ช่องทางดิจิตอลยังเป็นการตัดความจำเป็นของการมีหน้าร้านออกไป ทำให้ภาษีนิติบุคคลที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และหากให้บริษัทต่างชาติเหล่านั้นมาจดทะเบียน VAT ในประเทศไทยก็ไม่ใช้เรื่องง่ายเช่นกัน ✅ ภาษี e-service นี้มัวัตถุประสงค์ "เก็บ VAT จากผู้ให้บริการในต่างประเทศและให้บริการผ่าน Platform ทางอิเล็กทรอนิกส์กับลูกค้าในไทย" "ไม่ใช่การเก็บภาษีจากการซื้อสินค้าออนไลน์". โดยบริการในที่นี้ เช่น การให้บริการทีวีออนไลน์ ดาวน์โหลดเพลง บริการ Could เป็นต้น 💡 การปรับปรุงกฎหมายเรื่อง e-service ดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มที่ดีในการปรั...

การสร้างรายได้จาก Grab ให้ได้ผล (s.59)

อ้างอิงจาก "ส่องรายได้คนขับ 'ฟู้ดเดลิเวอรี่'" หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 21-24 มิ.ย. 2563 ได้กล่าวถึงประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับเคล็ดลับการสร้างรายได้ ซึ่งน่าจะประโยชน์สำหรับผู้ที่มองหาอาชีพเสริมเช่น การขับรถส่งอาหารเช่นนี้ จึงอยากนำมาจดเก็บบันทึกไว้  ✅ 1. รู้จุดยุทธศาสตร์และวางแผนการขับ ○ ผู้ที่สนใจจะขับรถรับส่งอาหารหรือพัสดุควรต้องทำความเข้าใจโครงสร้างรายได้ของพาร์ทเนอร์ให้ดี และวางแผนในการขับว่าแต่ละช่วงเวลาของวันเหมาะกับงานรับส่งแบบใด (อาหารหรือพัสดุ)  ○ ช่วงเช้า (8.00น. - 10.30น.) การรับส่งพัสดุตามโซนออฟฟิตจะเพิ่มโอกาสการรับงาน  ○ ช่วงเที่ยง (10.00น.-13.00น.) เหมาะกับการรับส่งอาหาร โดยเน้นไปแถบที่มีร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดหนาแน่น ○ ช่วงบ่าย (13.00น. - 16.00น.) เหมาะกับขับรถในจุดร้านกาแฟ ขนมหวาน ○ ช่วยเย็น (16.00น. - 20.00น.) เหมาะกับย่านร้านอาหารที่อยู่อาศัย ✅ 2. เข้ากลุ่มคนขับ ○ การมีกลุ่มคนขับคอยให้คำปรึกษาจะช่วยแนะนำให้กันและกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมาก ○ การแนะนำมีทั้ง เคล็บลับการขับ ปัญหาการใช้งาน เป็นต้น ซึ่งถือเป็นช่องทางเสริมนอกเหนือจาก call center...

เรียนรู้วิธีคิดจากผู้นำขวางโลก (s.58)

  บทความอาหารสมอง โดย ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ เรื่อง "ศาสตร์ผู้นำ ของคนขวางโลก" ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 23 มิถุนายน 2563 ได้กล่าวถึงหนังสือของ Dr. Steven Sample เรื่อง The Contrarian's Guide to Leadership ซึ่งให้มุม 6 ข้อ ของของการเป็นผู้นำในประเด็นที่ฟังแล้วเหมือนตรงข้ามกับความคิดเห็นส่วนใหญ่ แต่เมื่ออ่านดูแล้วเป็นเรื่องที่สนใจที่อยากนำมาจดเก็บบันทึกไว้  ✅ 1. การคิดแบบสีเทาและเสรี - คือการไม่คิดแค่เพียง 2 ด้าน คือ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ซึ่งจะทำให้เกิดความคิดเป็นเชิงเสรีวิชาการและสร้างสรรค์ อีกทั้งต้องคิดไปถึงสมมุติฐานที่อยู่เบื้องหลังของความคิด ✅ 2. เลื่อนการตัดสินใจ - อย่าตัดสินใจเรื่องใดถ้าสามารถเลื่อนออกไปได้ ถ้ามีเหตุผลพอที่คอย ก็อย่ารีบตัดสินใจ  อย่างไรก็ดีการตัดสินใจในบางครั้งต้องทำทันทีหากเลื่อนไม่ได้ ✅ 3. มอบอำนาจในการตัดสินใจ - การมอบอำนาจคือการพัฒนาคนทางหนึ่ง โดยจะเป็นการเพิ่มความสามารถให้ลูกน้องในการตัดสินใจ และป้องกันไม่ให้คนหนึ่งคนใดเป็นอุปสรรคของความก้าวหน้าองค์กร ✅ 4. จงรับฟังผู้เชี่ยวชาญแต่อย่าทำตามอย่างหลับหูหลับตา - การรับฟังผู้เชี่ยวชาญถือเป็นขั้น...

New Normal New Experiences (s.57)

  บทความหนึ่งในกรุงเทพธุรกิจ วันที่ 23 มิ.ย. 63 ได้ลงเกี่ยวกับการสัมมานาในลักษณะ Virtual Summit 2020 ใต้หัวข้อ New Normal New Experiences โดย Microsoft ร่วมกับ ตลท. ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจอยากนำมาจดเก็บบันทึกไว้ดังนี้ ✅ คุณศุภจี สุธรรมพันธุ์ (Group CEO, Dusit International) - ได้กล่าวถึงความสำเร็จของธุรกิจบริการที่มีอยู่ 3 เรื่องหลักๆ ได้แก่ 1. หัวใจการบริการ - ต้องคำนึงถึงความสะดวกสบาย โดยเกิดจากการบูรณาการระหว่างเทคโนโลยีกับคน 2. ประสบการณ์ - การที่ธุรกิจจะอยู่รอดและเติบโตไปได้ ต้องทำให้ลูกค้าจดจำ สร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจ 3. คุณค่า - ราคาไม่จำเป็นต้องถูกที่สุด แต่ต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงคุณค่า และความคุ้มค่าได้ ซึ่งจำเป็นต้องผสมผสานทั้งทัศนคติ ความคิดและการให้บริการที่ดี ✅ คุณนนทวัฒน์ พุ่มชูศรี (Country MD, Accenture Thailand)  - วิกฤตทำให้พราได้เรียนรู้ว่า มีอะไรมากมายที่เราไม่สามารถควบคุมได้ จึงต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันให้ได้.  - ส่วนในแง่การทำงานต้องกลับมาโฟกัสเรื่องที่ตัวองค์กรและคน โดยหัวใจสำเร็จอยู่ที่วัฒนธรรมองค์กร ธรรมาภิบาลและภาวะผู้นำ  ...

Grab กับความท้าทายในการสร้างกำไร (s.56)

    ✅ พาร์ทเนอร์หลักของคนขับ Grab จะเป็นกลุ่มเจน Y (ผู้ที่เกิดระหว่างปี 2523 - 2537) ซึ่งคิดเป็นถึง 48.5% ของพาร์ทเนอร์. ตามด้วยเจน X (เกิดระหว่างปี 2503-2522) คิดเป็น 26% และเจน Z (เกิดระหว่างปี 2538 - 2553) 24%. และเจนเบบี้บูมเมอร์ (เกิดก่อนปี 2503) ถือเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนพาร์ทเนอร์ต่ำที่สุดที่ 1.5% . ✅ ในบรรดาพาร์ทเนอร์ของ Grab พบว่าพาร์ทเนอร์ส่งอาหาร (GrabFood) และพัสดุ (GrabExpress) ถือเป็นกลุ่มพาร์ทเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดถึง 77% ในขณะที่พาร์ทเนอร์ GrabCar GrabTaxi GrabBike และอื่นๆ มีสัดส่วน 23%. ทั้งนี้พาร์ทเนอร์ของ Grab มีสัดส่วนเป็นผู้ชายถึง 86% และผู้หญิง 14%. . ✅ พาร์ทเนอร์ของ Grab ที่ส่งอาหารจะมีรายเฉลี่ยเมื่อรวมกับ incentive อยู่ที่ประมาณ 40-60 บาทต่อเที่ยว และนอกจากค่าตอบแทนจากการให้บริการแล้ว พาร์ทเนอร์ยังมีสิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น โบนัสหรือ incentive  ประกันอุบัติเหตุ  ส่วนลดหรือสิทธิพิเศษจากพันธมิตรของ Grab และโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินจากพันธมิตรของ Grab ด้วย . ✅ เมื่อเราสั่งอาหารผ่าน Grab โดยทั่วไป Grab จะมีรายได้จากค่า commission ร้านอาหาร โดยมี...

พฤติกรรมแห่งความสุข กับ รางวัลที่คาดเดาไม่ได้ (s.55)

  ✅ ธุรกิจทั่วไปนั้น โดยพื้นฐานแล้วมีโจทย์คือการช่วยเหลือลูกค้าของเขาให้บรรลุเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งเสมอ. ✅ มีการทดลองในช่วงปี 1940 ที่ทดลองโดยการตุ้นด้วยไฟฟ้าในสมองส่วนหนึ่งของหนูทดลอง ซึ่งสมองส่วนดังกล่าวเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการตุ้นความสุข. โดยผลของการทดลองพบว่าเมื่อหนูถูกกระตุ้นในสมองส่วนดังกล่าว จะทำให้หนูไม่สนใจในความเจ็บปวดใดๆ เพียงเพื่อให้ตนเองได้เกิดความสุข. และที่น่าประหลาดใจที่สุด คือ การตอบสนองกับมนุษย์ก็เป็นดังเช่นการทดลองกับหนู ซึ่งผู้ที่ถูกกระตุ้นจะรู้สึกมีความสุขและปลุกเร้าตัวของเขาในลักษณะเดียวกับสิ่งเสพติด ✅ สิ่งสรุปได้จากการทดลองดังกล่าว คือ สิ่งที่ชักจูงให้เราลงมือทำอะไรบางอย่างไม่ได้มาจากความรู้สึกที่เราจะได้รับรางวัล แต่เป็นความต้องการที่จะบรรเทาความกระหายในรางวัลนั้น. ✅ สมองของเรามีวิวัฒนาการเพื่อช่วยให้เราทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ซึ่งเราสามารถดึงพฤติกรรมที่เหมาะสมออกมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว  นิสัยจึงเป็นการช่วยให้เรามุ่งความสนใจไปกับเรื่องอื่นขณะที่เราลงมือบางอย่างโดยที่แทบไม่ต้องใช้ความคิดอย่างมีสติ. ✅ ทั้งนี้รางวัลที่เราไม่สามารถคาดเดาได้จะส่งผล...

เตรียมตัวกับคำถามยากๆ เมื่อต้องนำเสนอให้แก้ผู้บริหาร (s.54)

  ในการนำเสนองานต่างๆ ให้แก่ผู้บริหาร สิ่งหนึ่งที่มักพบเจอคือ คำถามของผู้บริหารที่ทำให้คุณถึงกับชะงัก เช่น "ผมไม่เข้าใจว่าตัวเลขเหล่านี้ทำไมถึงผิดเพื้ยนได้ขนาดนี้ ?".  ทั้งนี้คุณอาจคิดว่าการเจอแบบนี้เหมือนการถูกลงโทษ คิดว่าเราอาจไม่ได้เก่งหรือมีฝีมือที่เพียงพอ หรือแม้กระทั่งอนาคตในอาชีพของเราอาจจบลงแล้วก็ได้. . เรามักฝึกซ้อมการนำเสนออย่างเข้มข้นก่อนถึงเวลาที่นำเสนอให้แก่ผู้บริหาร แต่เราก็มักจะยังคงรู้สึกแข็งทื่อเมื่อพบกับคำถามที่ยากลำบาก. ในทางหนึ่งการที่คุณได้มีโอกาสนำเสนอให้ผู้บริหารนั้น นั่นหมายถึงคุณมีความสามารถ มีความน่าเชื่อถือ หรือประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่คุณควรตระหนัก การเจอคำถามที่ยากลำบากจึงไม่ใช่เรื่องที่ทำให้อาชีพการงานของคุณต้องจบลงไปพร้อมกับการนำเสนอ อย่างไรก็ดีเมื่อเจอคำถามที่ยากลำบากและคุณไม่ทราบ คุณสามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้เพื่อรับมือคำถามเหล่านั้น. . 1. หยุดซักครู่ : เมื่อถูกถามคำถามที่ยาก อย่าเพิ่งรีบร้อนที่จะตอบออกไป  ให้คุณมั่นใจว่าคุณเข้าใจคำถามนั้นดีพอ คุณสามารถใช้เทคนิคบางอย่างที่จะช่วยให้คุณได้มีเวลาเพิ่มอีกซักนิดสำหรับคิด...

อคดิในชีวิตประจำวัน รู้เท่าทันกับสิ่งที่พบเจอแต่ไม่ค่อยรู้ตัว (s.53)

✅ ปรากฏการณ์ของความขาดแคลน (scarcity) - เกิดจากความขาดแคลนที่เห็นได้ชัดเจนส่งผลต่อการรับรู้คุณค่าของผู้คน เช่น มีการทดลองหนึ่งที่ให้ผู้คนประเมินค่าของคุ้กกี้ที่เหมือนกัน 2 ขวดโหลที่เหมือนกัน โดยโหลที่ 1 บรรจุคุ้กกี้ 10 ชิ้น ขณะที่ขวดที่ 2 บรรจุเพียง 2 ชิ้น ซึ่งการทดลองพบว่าผู้คนจะประเมินค่าของคุ้กในขวดโหลที่ 2 ซึ่งมีจำนวนน้อยว่าสูงกว่าขวดโหลที่ 1 ทั้งๆ ที่คุ้กกี้ทั้งสองขวดโหลและตัวขวดโหลเองเหมือนกัน ✅ ปรากฏการณ์วางกรอบ (framing) - เกิดจากการเราใช้บริบทแวดล้อมมาเป็นเครื่องมือช่วยให้ตัดสินใจได้เร็วขึ้น ซึ่งบางครั้งทำให้เกิดข้อผิดพลาด เช่น การทดลองความพึงพอใจในไวน์ โดยให้ผู้ร่วมทดลองชิมไวน์ ซึ่งแจ้งราคาที่แตกต่างตั้งแต่ถูกถึงแพง  ผลการทดลองพบว่าผู้ร่วมทดลองจะมีความพึงพอใจในการชิมไวน์ที่ได้รับแจ้งว่าราคาสูงมากกว่า ความพึงพอใจเมื่อได้ชิมไวน์ที่มีราคาต่ำ  อย่างไรก็ดีประเด็นของการทดลองนี้คือ ไวน์ที่ให้ชิมทั้งหมดเป็นไวน์ชนิดเดียวกันแต่ผู้ร่วมทดลองไม่ทราบ ✅ ปรากฎการณ์การผูกติด (anchoring) - เกิดจากการที่เรายึดติดกับข้อมูลที่มีในการตัดสินใจ เช่น การที่ร้านค้าติดป้ายลดราคาจำนวนมากในสินค้...

การป้องกันจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย (s.52)

. ได้พบใน website กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 18 มิ.ย.63 คอลัมม์ "วัคซีนธุรกิจ 'Recession-proff'" ซึ่งได้กล่าวไว้น่าสนใจ จึงขอนำมาสรุปเล่าให้ฟัง ดังนี้  . ✅ การตั้งรับช่วงเศรษฐกิจถดถอยได้ดีที่สุด คือ การใช้ความว่องไวในการปรับตัวและพร้อมทำสิ่งใหม่ๆ ที่อาจไม่เคยทำมาก่อน รวมถึงต้องเตรียมพร้อมเพื่อให้องค์กรมีภูมิต้านทานก่อนที่วิกฤตจะมา ✅ องค์กรที่เน้นเติบโต แต่ยังขาด Root Strength ในธุรกิจของตัวเองก็มีโอกาสสูงที่จะได้รับผลกระทบ เพราะเมื่อรากฐานไม่มั่นคง เศรษฐกิจถดถอยทำให้กำลังซื้อลดลง ทำให้ต้องแบกรับต้นทุนที่สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน  ✅ ทั้งนี้ องค์กรที่ถือว่ามีการป้องกันจากภาวะเศรษฐกิจถอถอยที่ดีจะมีคุณสมบัติ ดังนี้         1. ยอดขายยังเติบโตได้ : หรือแม้ยอดขายลดลงแต่ก็ยังคงรักษาสัดส่วนของกำไรไว้ได้ โดยไม่ได้มีเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางธุรกิจนัก         2. อุตสาหกรรมไม่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงภายนอกนัก          3. กุล่มธุรกิจที่มีกระแสเงินสดและงบดุลที่แข็งแรง         4. กลุ่มธุรกิจที่เป็นผู้นำตลา...

การกระทำ กับ การใช้ผลิตภัณฑ์ (s.51)

  ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาดีจะเป็นผลิตภัณฑ์ใช้งานง่าย โดยผู้ใช้จะลงมือทำ (ใช้งาน) มากขึ้นไปหากมันเป็นสิ่งที่ง่ายกว่าที่เขาคิด . ✅ การชักนำให้เกิดพฤติกรรมใดๆ มีองค์ประกอบ 3 อย่าง ได้แก่ (1) ผู้ใช้มีแรงจูงใจ  (2) ผู้ใช้มีความสามารถในการทำพฤติกรรมให้สำเร็จ และ (3) มีตัวกระตุ้นปลุกเร้าให้เกิดพฤติกรรม  ทั้งนี้เมื่อองค์ประกอบทั้ง 3 เกิดขึ้นในเวลาเดียวกันและในระดับที่เหมาะสม พฤติกรรมจะเริ่มเกิดขึ้น ✅ ถึงแม้ตัวกระตุ้นจะส่งสัญญาณกระตุ้นพฤติกรรม แต่แรงจูงใจเป็นตัวกำหนดระดับความต้องการที่จะทำ ทั้งนี้สิ่งจูงใจคนกลุ่มหนึ่งอาจไม่ได้จูงใจคนอีกกลุ่มหนึ่งเสมอไป  ✅ ขั้นตอนพื้นฐานของกระบวนการสร้างนวัตกรรม ประกอบด้วย (1) การเข้าใจเหตุผลที่ผู้ใช้ใช้สินค้าหรือบริการ  (2) กำหนดขั้นตอนต่างๆ ที่ผู้ใช้ต้องทำเพื่อให้บรรลุความต้องการ และ (3) เมื่อเข้าใจลำดับขั้นตอนแล้ว ให้เริ่มตัดทอนขั้นตอนต่างๆ จนกว่าจะได้กระบวนการที่เรียบร้อย ✅ ทั้งนี้องค์ประกอบของความเรียบง่าย ได้แก่ เวลา เงิน ความพยายามทางกายภาพ วงจรความคิด ความแปลกแยกทางสังคม ความไม่เป็นมิตร.  ทั้งนี้การประเมินถึงปัจจัยทั้ง 6 อย่างที...

การกระตุ้นให้เกิดนิสัย (s.50)

มีเพียงความเข้าใจที่อยู่ในใจของผู้ใช้เท่านั้นที่จะทำให้เราสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการจนเกิดเป็นนิสัยของผู้ใช้ . ✅ นิสัยใหม่ๆ ต้องอาศัยรากฐานในการก่อตัว และรากฐานของการสร้างนิสัยก็มาจากการตุ้นนั่นเอง ทั้งนี้การกระตุ้นแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) ตัวกระตุ้นภายนอก และ (2) ตัวกระตุ้นภายใน ✅ ตัวกระตุ้นภายนอกเป็นการบ่งบอกที่ให้ผู้ใช้ทราบว่าต้องทำอะไรต่อไป ตัวอย่างได้แก่ ปุ่มกดในแอพพลิเคชั่นซึ่งทำให้เด่นสะดุดตา ✅ ตัวกระตุ้นภายนอกมี 4 ประเภท ได้แก่         1. ตัวกระตุ้นแบบเสียเงิน : มีประสิทธิภาพแต่สิ้นเปลืองในการดึงดูดให้ผู้ใช้กลับมา อีกทั้งตัวเลือกนี้ไม่ยั่งยืน บริษัทส่วนใหญ่จึงใช้เฉพาะการดึงดูดลูกค้าใหม่ และเมื่อลูกค้าเข้ามาใช้ ก็จะเปลี่ยนไปใช้ตัวกระตุ้นอื่นต่อไป         2. ตัวกระตุ้นแบบลงทุนลงแรง : อาศัยการลงทุนในรูปแบบการทุ่มเทเวลาเพื่อสร้างความสัมพันธ์         3. ตัวกระตุ้นจากความสัมพันธ์ : เป็นการที่บุคคลหนึ่งบอกคนอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ เช่น การกด like ใน facebook หรือการบอกปากต่อปาก เป็นต้น     ...

นิสัยกับการสร้างผลิตภัณฑ์ (s.48)

  การกระทำของเราในแต่ละวัน กว่าครึ่งหนึ่งนั้นเป็นการกระทำที่เกิดจากนิสัยที่ฝังลึกหรือการกระทำที่เกิดโดยแทบไม่ได้ผ่านการนึกคิดอย่างมีสติ หรือเราอาจกล่าวได้ว่าเรากระทำไปโดยอัตโนมัติ . ✅ นิสัยเป็นหนึ่งในวิธีที่สมองใช้ในการเรียนรู้พฤติกรรม โดยนิสัยทำให้เราสามารถเพ่งความสนใจไปยังสิ่งอื่นได้ด้วยการบันทึกการตอบสนองโดยอัตโนมัติไว้ในสมอง ซึ่งนิสัยจะก่อตัวขึ้นเมื่อสมองคิดน้อยลงและเลิกใคร่ครวญว่าจะต้องทำอะไรต่อไป ✅ มูลค่าตลอดชั่วชีวิตของลูกค้า (customer lifetime value) สามารถผลักดันในเพิ่มขึ้นได้โดยการสร้างนิสัยของผู้บริโภคในติดกับสินค้าหรือบริการซึ่งถือเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพ โดยเมื่อผู้บริโภคใช้สินค้าหรือบริการอย่างหนึ่งจนเป็นนิสัย พวกเราจะมีความอ่อนไหวต่อราคาน้อยลง ✅ ผู้บริโภคที่ค้นพบคุณค่าของผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องมีแนวโน้มที่จะบอกต่อให้กับคนอื่น โดยการที่ผู้บริโภคกลับมาใช้มากขึ้นจะทำให้ระยะเวลาในการเกิดวงจรความแพร่หลายลดลงอย่างเร็ว  ✅ ผู้สร้างนวัตกรรมจำนวนมากล้มเหลวเพราะผู้บริโภคประเมินค่าของเก่าสูงเกินไป ขณะที่นวัตกรประเมินค่าในนวัตกรรมสูงเกินไป. ทั้งนี้มีข้อมูลที่ว่า หากผลิตภัณ...

สำรวจงานใหม่ในวัฒนธรรมที่แตกต่าง (s.47)

  วันนี้ขอแนะนำบทความที่แนะนำกลยุทธ์ 4 ข้อ ที่ช่วยให้คุณสามารถปรับตัวเข้าสู่สภาพแวดล้อมวัฒนธรรมของที่ทำงานใหม่. เพื่อให้การทำงานของคุณเป็นไปได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ. ขอความคิดเห็นก่อนที่จะเสนอของคุณเอง ในการทำงานในสภาพแวดล้อมวัฒนธรรมใหม่ คุณอาจได้รับการสรุปแนะนำสิ่งที่ต้องรู้ รวมถึงสภาพการทำงานในองค์กรจากผู้บริหาร หัวหน้างาน หรือหน่วยงานบุคคล. อย่างไรก็ดี คุณไม่ควรที่จะพึ่งพิงกับข้อมูลที่คุณได้รับมาเพียงแหล่งเดียว. ซึ่งข้อมูลที่มาผู้บริหาร หัวหน้างาน หรือหน่วยงานบุคคล มักจะมีอคติและมีจุดบอดที่ไม่สามารถสะท้อนเรื่องราวภายในขององค์กรได้ทั้งหมด เช่น การแบ่งก๊กแบ่งเหล่าภายในองค์กร หรือ สภาพการเมืองในองค์กรนั้นที่มีต่อหน่วยงานหรือทีมงาน. ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่คุณควรมีโอกาสพบปะเป็นรายบุคคลและทีมงาน กับเพื่อนร่วมงานหรือพนักงานในหน่วยงานของคุณ เพื่อให้สามารถประเมินสภาพแวดล้อมที่คุณอาจไม่ทราบดีพอ. เข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงมีขีดจำกัด สิ่งที่มักเป็นจุดผิดพลาดของผู้นำใหม่หรือพนักงานใหม่ในองค์กร ซึ่งมักต้องการที่จะรีบเร่งพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรเพื่อสร้างผลงานให้เป็นที...

ทำไมเราถึงมีแรงจูงใจจากการให้ส่วนลดหรือการคิดค่าธรรมเนียม (s.46)

ขอเริ่มโดยยกตัวอย่างของการให้ส่วนลดหรือการคิดค่าธรรมเนียมโดยยกตัวอย่างที่เรามักพบเห็นกันได้ทั่วไปในปัจจุบัน คือ การให้ถุงพลาสติกใส่สินค้าของร้านซุปเปอร์มาร์เก็ต. ซึ่งบางร้านจะเรียกเก็บเงินจำนวนเล็กน้อย เช่น 1 บาทต่อถุงพลาสติก (คิดค่าธรรมเนียม) สำหรับการรับถุงพลาสติก หรือในขณะที่บางร้านให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อ เช่น 2% หากผู้ซื้อนำถุงมาใส่สินค้าเองหรือไม่รับถุงพลาสติก (ให้ส่วนลด). ทั้งนี้การให้แจงจูงใจดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หนึ่งเพื่อให้ผู้ซื้อเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้แรงจูงใจทางการเงิน คือ ความรู้สึกที่ดีที่ได้รับ (การให้ส่วนลด) หรือ ความรู้สึกเสียดายเมื่อต้องเสีย (คิดค่าธรรมเนียม). อย่างไรก็ดี ทางเลือกของแรงจูงใจดังกล่าวมีผลที่ต่างกันต่อความรู้สึกของผู้บริโภค ซึ่งการเลือกใช้แนวทางที่เหมาะสมจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดสิ่งที่ต้องการโดยใช้วิธีหนึ่งที่เหนือกว่าอีกวิธีหนึ่ง. จากผลการศึกษาพบกว่าโครงสร้างของแรงจูงใจส่งสัญญาณบางอย่างต่อผู้คนเกี่ยวกับการที่ผู้อื่นคิดหรือกระทำ. ซึ่งพบว่าการคิดว่าธรรมเนียมจะส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการจูงใจมากกว่า โดยกรณีที่มีการคิดค่าธรรมเนียม ผู้บริโภคจะมีควา...

คาดการณ๋อนาคตหลังวิกฤตโควิด (s.45)

  จากบทความเรื่อง "ภาพตลาดทุนไทย หลังเหตุการณ์โควิด-19" โดยคุณพงศ์พิชญ์ พิณสาย และ คุณวัชรพัฐ มาแสง ฝ่ายวิจัย สำนักงาน ก.ล.ต. ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 11 มิ.ย.63  มีมุมมองที่น่าสนใจที่ขอนำมาสรุปบางส่วนมาให้กัน ดังนี้ . ✅ แนวโน้มหลักๆ (Megatrends) ที่น่าจะมีผลกระทบต่อธุรกิจต่างๆ ใน 1-3 ปี ได้แก่ 1. Megatrend 1 : แต่ละธุรกิจในอุตสาหกรรมจะมีการเติบโตที่แตกต่างกันมาก 2. Megatrend 2 : การเร่งการใช้งานเทคโนโลยีของผู้บริโภค 3. Megatrend 3 : การเร่งการใช้งานเทคโนโลยีขององค์กร 4. Megatrend 4 : โลกมีความผันผวนและคาดการณ์ได้ยาก 5. Megatrend 5 : ความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่จะพบปะกันน้อยลง ✅ ผลกระทบ megatrend ที่ได้กล่าวมา ต่อตลาดทุน สามารถแบ่งได้เป็น 4 แบบ  1. The new direction of capital flow : สินทรัพย์ประเภทค่างๆ มีผลตตอบแทนและความเสี่ยงที่คาดหวังเปลี่ยนไป ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวกับการแนะนำการลงทุนมีความสำคัญมากขึ้น 2. Lower for longer term : กำไรต่อหุ้นมีโอกาสต่ำลงและไม่เติบโตเหมือนในอดีต ประกอบกับความผันผวนที่เพิ่มในขณะดอกเบี้ยยังคงต่ำ ส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายหล...

HOOK MODEL : ภาคขยายความ (s.44)

โดยเมื่อครั้งก่อนเราได้กล่าวถึงแนวคิดของ Hook Model ไปบ้างบางส่วนแล้ว ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ตัวกระตุ้น , กระการทำ , รางวัลที่คาดเดาไม่ได้ และ การลงแรง. ในครั้งนี้ เราจะมาขยายความ 4 ขั้นตอนกัน . ✅   ตัวกระตุ้น (Trigger) : ตัวกระตุ้นจะเป็นเหมือนสิ่งปลุกเร้าการกระทำ โดยมี 2 แบบ คือ ตัวกระตุ้นภายนอก และ ตัวกระตุ้นภายใน. ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ผู้ใช้เกิดการติดเป็นนิสัยมักเริ่มต้นจากการกระตุ้นผู้ใช้ด้วยตัวกระตุ้นภายนอก เช่น email ไอคอน เป็นต้น โดยแรงผลักดันให้ลงมือทำของตัวกระตุ้นภายนอกจะทำให้ผู้ใช้รู้สึกสนใจและเข้าไปดู ✅   การกระทำ ( Action) : บริษัทต่างๆ ใช้ประโยชน์จากปัจจัยสองประการที่ขับเคลื่อนพฤติกรรม เพื่อเพิ่มโอกาสการใช้งานจนเป็นนิสัย ซึ่งปัจจัยได้แก่ ความง่ายในการกระทำ และ แรงจูงใจทางจิตวิทยาที่กระตุ้นให้ทำ ✅   รางวัลที่คาดเดาไม่ได้ (Variable Reward) : วงจรที่คาดเดาไม่ได้มักทำให้เกิดความอยากรู้ความสนใจ ซึ่งรางวัลแบบคาดเดาไม่ได้ถือเป็นหนึ่งในแรงกระตุ้นที่ทรงพลังที่ทำให้ผู้ใช้ติดการใช้งานผลิตภัณฑ์ ✅   การลงแรง ( Investment) : สุดท้ายคือ...

HOOK MODEL แนวคิดและขั้นตอน (s.43)

HOOK MODEL : เป็นแนวคิดโดยที่โดดเด่นแนวคิดหนึ่งในวงการนวัตกรรมโดย Nir Eyal ซึ่งมีประสบการณ์เป็นนักออกแบบนวัตกรรม นักลงทุน และรวมถึงอาจารย์ในสหรัฐอเมริกา . ✅ การสร้างนิสัยให้เกิดขึ้นในผู้บริโภคถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่รอดของผลิตภัณฑ์จำนวนมาก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์แอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์เคลื่อนที่ของเรา โดยผู้เล่นนับไม่ถ้วนพยายามแข่งขันกันในการแย่งชิงความสนใจของเรา  ✅ บริษัทที่สามารถผูกติดผลิตภัณฑ์ของตนเองเข้ากับ "ตัวกระตุ้นภายใน" ซึ่งทำให้ผู้ใช้เข้ามาหาโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการกระตุ้นจากภายนอกเลยจะเป็นบริษัทที่ได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่ในแง่ของผลกำไร ✅ แนวคิดฮุคโมเดล เป็นกระบวนการ 4 ขั้นตอนในการสร้างนิสัยของผู้บริโภค ประกอบด้วย         - ตัวกระตุ้น (Trigger)                  - การกระทำ (Action)         - รางวัลที่คาดเดาไม่ได้ (Variable Reward)         - การลงแรง (Investment) . 💡 แนวคิด Hook Model ถือเป็นการเปิดเผยอธิบายเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการออกแบบสินค้าและบริการจำนวนมากในปั...

New Normal ในตลาด FMCG จากผลกระทบของโควิด-19 (s.42)

New Normal ในตลาด FMCG จากผลกระทบของโควิด-19. โดยทาง "เดอะ นีลเส็น" ได้แสดงผลการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีพฤติกรรมบางด้านที่เปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัด ใน 6 ด้าน ประกอบด้วย 1️⃣Wallet Adjustment - ผู้บริโภคมีความกังวลเรื่องการใช้จ่ายเงินมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องทำกลยุทธ์การตลาดและสินค้าให้เหมาะสม 2️⃣Rebalanced FMCG Baskets - ผู้บริโภคจะเลือกซื้อสินค้าที่มีความจำเป็น การออกสินค้าใหม่ของผู้ผลิตจึงต้องคำนึงถึงความต้องการให้มากขึ้น 3️⃣Revised Pricing Mechanics - ราคาจะมีบทบาทสำคัญในแต่ละกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น 4️⃣Re-Priortised Values - ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงวิธีคิดให้คุณค่ากับการเลือกซื้อสินค้า ผู้ผลิตต้องเข้าใจวิธีคิดและปรับเปลี่ยนคุณค่าของสินค้าให้ตรงกับคุณค่าของผู้โภค 5️⃣Origin Preferences - ให้น้ำหนักกับ local content มากขึ้น และเน้นเรื่องความปลอดภัย 6️⃣Reset How Brand Communicate - จากการที่ผู้บริโภคมี mindset ที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นผู้ผลิต ผู้ค้าปลีก จึงต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงการสื่อสารให้สอดคล้องกับ mindset ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน . 💡 ทั้งนี้ไม่ม...

3 มิ.ย. 63 : จดเก็บบันทึกไว้ (s.41)

จากสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนต่างๆ ทั่วโลก. โดยครั้งนี้ขอนำบทความจากคอลัมม์ "เส้นผมบังภูเขา" โดยกลุ่มงานทรัพยากร ธ.กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ที่ปรากฎในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 3 มิ.ย.63 ซึ่งได้ให้มุมมองที่น่าสนใจดังนี้ . ✅ วิธีการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป โดยบางวิถีจะยังคงดำรงอยู่ต่อไป ได้แก่ - การทำงานจากที่บ้าน - ซึ่งหลายสถานที่ทำงานก็ยังคงอนุญาตให้พนักงานทำงานจากที่บ้านได้ จนเริ่มกลายเป็น Normal - การปรับเปลี่ยนสถานที่ทำงาน - บริษัทมีการลดขนาดพื้นที่นั่งทำงาน โดยพื้นที่ใหญ่ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป  พนักงานอาจมีการหมุนเวียนเข้ามาทำงานแทน - การพัฒนาทักษะใหม่ - โดยเฉพาะการทำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการทำงานมาขึ้น - การเรียนรู้แบบ Anytime Anywhere - การเรียนรู้สามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยเฉพาะการเรียนออนไลน์ ✅ และจากวิธีการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้การสร้างงาน สร้างอาชีพ ก็มีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน - การขายของออนไลน์ - เนื่องจากการถูกสั่งปิดสถานที่ห้างร้านต่างๆ ทำให้ผู้คนหรือสินค้าเกิดการปรับตัวเข...