ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เตรียมตัวกับคำถามยากๆ เมื่อต้องนำเสนอให้แก้ผู้บริหาร (s.54)

 

ในการนำเสนองานต่างๆ ให้แก่ผู้บริหาร สิ่งหนึ่งที่มักพบเจอคือ คำถามของผู้บริหารที่ทำให้คุณถึงกับชะงัก เช่น "ผมไม่เข้าใจว่าตัวเลขเหล่านี้ทำไมถึงผิดเพื้ยนได้ขนาดนี้ ?".  ทั้งนี้คุณอาจคิดว่าการเจอแบบนี้เหมือนการถูกลงโทษ คิดว่าเราอาจไม่ได้เก่งหรือมีฝีมือที่เพียงพอ หรือแม้กระทั่งอนาคตในอาชีพของเราอาจจบลงแล้วก็ได้.
.
เรามักฝึกซ้อมการนำเสนออย่างเข้มข้นก่อนถึงเวลาที่นำเสนอให้แก่ผู้บริหาร แต่เราก็มักจะยังคงรู้สึกแข็งทื่อเมื่อพบกับคำถามที่ยากลำบาก. ในทางหนึ่งการที่คุณได้มีโอกาสนำเสนอให้ผู้บริหารนั้น นั่นหมายถึงคุณมีความสามารถ มีความน่าเชื่อถือ หรือประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่คุณควรตระหนัก การเจอคำถามที่ยากลำบากจึงไม่ใช่เรื่องที่ทำให้อาชีพการงานของคุณต้องจบลงไปพร้อมกับการนำเสนอ อย่างไรก็ดีเมื่อเจอคำถามที่ยากลำบากและคุณไม่ทราบ คุณสามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้เพื่อรับมือคำถามเหล่านั้น.
.
1. หยุดซักครู่ : เมื่อถูกถามคำถามที่ยาก อย่าเพิ่งรีบร้อนที่จะตอบออกไป  ให้คุณมั่นใจว่าคุณเข้าใจคำถามนั้นดีพอ คุณสามารถใช้เทคนิคบางอย่างที่จะช่วยให้คุณได้มีเวลาเพิ่มอีกซักนิดสำหรับคิดให้รอบคอบ เช่น จิบน้ำก่อนตอบ การทวนคำถามของผู้บริหารซ้ำ หรือกระทั่งการหยุดเงียบซักครู่.  นอกจากนี้คุณควรระวังการพยายามตอบคำถามในลักษณะการส่งสัญญาณที่แสดงถึงความมั่นใจมากกว่าความสามารถของคุณ เพราะนั่นจะเป็นสิ่งที่ผู้บริหารสามารถจับได้ไม่ยากและจะทำให้ความเชื่อถือในตัวคุณลดลง
.
2. มีความคิดที่ดีจำนวนมาก : คนจำนวนมากมักมีความสงสัยในตนเองเมื่อไม่สามารถตอบคำถามของผู้บริหารได้ หลายคนกังวลว่าผู้บริหารจะคิดว่าตัวเขาไม่มีความสามารถเพียงพอ หรือคิดว่าเขาถูกทำให้ขายหน้าต่อหน้าสาธารณะ หรือกระทั่งอาจถูกไล่ออก. ความคิดในลักษณะนี้จะทำให้คุณไม่สามารถรับมือและทำตัวที่เหมาะสมได้ในการนำเสนอ  สิ่งที่คุณควรสร้างขึ้นมาคือความคิดที่ดีจำนวนมาก ซึ่งความคิดที่ดีจำนวนมากจะช่วยขจัดความคิดในทางลบออกไปและช่วยให้คุณไม่ตระหนกจนเกินไปในการตอบคำถาม.
.
3. หลีกเลี่ยงคำพูดที่เยอะเกินไป : พยายามพูดตอบคำถามให้น้อยเท่าที่จำเป็น. เมื่อคุณมีความกังวล คนทั่วไปจะพยายามหาเหตุผลต่างๆ นาๆ มาอธิบายหรือพยายามตอบคำถามด้วยคำพูดจำนวนมาก ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ในการตอบคำถามนั้นเลย และทำให้คำตอบมีความไม่น่าเชื่อถือ.  สิ่งที่ควรทำคือการตอบตรงคำถาม ด้วยคำพูดที่กระชับซึ่งวิธีนี้จะเป็นการฝึกบังคับให้ตัวคุณต้องพูดอย่างชัดเจนและตรงคำถาม.
.
💡 ไม่ว่าคุณจะมีระดับความฉลาดหรือเตรียมตัวมากแค่ไหน คุณไม่อาจจะหลีกเลี่ยงประสบการณ์ของการถูกถามคำถามที่ทำให้คุณชะงักจากผู้บริหารได้. เทคนิคที่ได้กล่าวข้างต้นจะช่วยให้คุณสงบและแสดงออกด้วยความเป็นมืออาชีพในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งถึงแม้คุณจะไม่รู้คำตอบซะทีเดียวแต่คุณจะรู้ว่าคุณควรทำตัวอย่างไร

#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business

อ้างอิงจาก HBR "Presentating to Management? Be Prepared for the Tough Questions." โดย Sabina Nawaz.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...