มีเพียงความเข้าใจที่อยู่ในใจของผู้ใช้เท่านั้นที่จะทำให้เราสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการจนเกิดเป็นนิสัยของผู้ใช้
.
✅ นิสัยใหม่ๆ ต้องอาศัยรากฐานในการก่อตัว และรากฐานของการสร้างนิสัยก็มาจากการตุ้นนั่นเอง ทั้งนี้การกระตุ้นแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) ตัวกระตุ้นภายนอก และ (2) ตัวกระตุ้นภายใน
✅ ตัวกระตุ้นภายนอกเป็นการบ่งบอกที่ให้ผู้ใช้ทราบว่าต้องทำอะไรต่อไป ตัวอย่างได้แก่ ปุ่มกดในแอพพลิเคชั่นซึ่งทำให้เด่นสะดุดตา
✅ ตัวกระตุ้นภายนอกมี 4 ประเภท ได้แก่
1. ตัวกระตุ้นแบบเสียเงิน : มีประสิทธิภาพแต่สิ้นเปลืองในการดึงดูดให้ผู้ใช้กลับมา อีกทั้งตัวเลือกนี้ไม่ยั่งยืน บริษัทส่วนใหญ่จึงใช้เฉพาะการดึงดูดลูกค้าใหม่ และเมื่อลูกค้าเข้ามาใช้ ก็จะเปลี่ยนไปใช้ตัวกระตุ้นอื่นต่อไป
2. ตัวกระตุ้นแบบลงทุนลงแรง : อาศัยการลงทุนในรูปแบบการทุ่มเทเวลาเพื่อสร้างความสัมพันธ์
3. ตัวกระตุ้นจากความสัมพันธ์ : เป็นการที่บุคคลหนึ่งบอกคนอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ เช่น การกด like ใน facebook หรือการบอกปากต่อปาก เป็นต้น
4. ตัวกระตุ้นแบบยอมรับเอง : ถูกกำหนดขึ้นต่อเมื่อผู้ใช้สมัครสมาชิกเพื่อสร้างบัญชี กรอกอีเมล์ตัวเอง หรือทำสิ่งใดๆ ที่บอกว่าผู้ใช้อยากได้รับการติดต่อหลังจากนี้
✅ ตัวกระตุ้นภายในจะปรากฎขึ้นในความคิดของเราโดยอัตโนมัติ การเชื่อมโยงตัวกระตุ้นภายในเข้ากับผลิตภัณฑ์จะสร้างโอกาสสำเร็จของบริษัท ทั้งนี้อารมณ์โดยเฉพาะอารมณ์ด้านลบ จะเป็นตัวกระตุ้นภายในที่ทรงพลังและมีอิทธิพลอย่างยิ่ง. ผลิตภัณฑ์ของเราต้องถูกออกแบบมาเพื่อการแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้า อันจะทำให้เกิดความเชื่อมโยงด้านบวกของลูกค้าที่แนบแน่นกับผลิตภัณฑ์
✅ การหาตัวกระตุ้นภายในของลูกค้าต้องอาศัยการเรียนรู้เกี่ยวกับผู้คนมากกว่าสิ่งที่เขาบอกให้คุณทราบ ซึ่งเราต้องระบุให้ได้ถึงความคับข้องใจหรือความเจ็บปวดทางอารมณ์ของผู้ใช้
.
💡 เมื่อผู้ใช้ใช้จนเกิดเป็นนิสัย ผลิตภัณฑ์ก็ไม่ต้องอาศัยแรงผลักดันที่ชัดเจนอีกต่อไป แต่อาศัยการตอบสนองต่อความรู้สึกโดยอัตโนมัติ ดังนั้นเจ้าของผลิตภัณฑ์ควรพยายามทำความเข้าใจว่าผู้ใช้มีปัญหาอย่างไร เพื่อนำมาสร้างผลิตภัณฑ์ที่ช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างนิสัยที่ให้ลูกค้าชอบผลิตภัณฑ์ของเรา.
.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น