✅ พาร์ทเนอร์หลักของคนขับ Grab จะเป็นกลุ่มเจน Y (ผู้ที่เกิดระหว่างปี 2523 - 2537) ซึ่งคิดเป็นถึง 48.5% ของพาร์ทเนอร์. ตามด้วยเจน X (เกิดระหว่างปี 2503-2522) คิดเป็น 26% และเจน Z (เกิดระหว่างปี 2538 - 2553) 24%. และเจนเบบี้บูมเมอร์ (เกิดก่อนปี 2503) ถือเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนพาร์ทเนอร์ต่ำที่สุดที่ 1.5%
.
✅ ในบรรดาพาร์ทเนอร์ของ Grab พบว่าพาร์ทเนอร์ส่งอาหาร (GrabFood) และพัสดุ (GrabExpress) ถือเป็นกลุ่มพาร์ทเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดถึง 77% ในขณะที่พาร์ทเนอร์ GrabCar GrabTaxi GrabBike และอื่นๆ มีสัดส่วน 23%. ทั้งนี้พาร์ทเนอร์ของ Grab มีสัดส่วนเป็นผู้ชายถึง 86% และผู้หญิง 14%.
.
✅ พาร์ทเนอร์ของ Grab ที่ส่งอาหารจะมีรายเฉลี่ยเมื่อรวมกับ incentive อยู่ที่ประมาณ 40-60 บาทต่อเที่ยว และนอกจากค่าตอบแทนจากการให้บริการแล้ว พาร์ทเนอร์ยังมีสิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น โบนัสหรือ incentive ประกันอุบัติเหตุ ส่วนลดหรือสิทธิพิเศษจากพันธมิตรของ Grab และโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินจากพันธมิตรของ Grab ด้วย
.
✅ เมื่อเราสั่งอาหารผ่าน Grab โดยทั่วไป Grab จะมีรายได้จากค่า commission ร้านอาหาร โดยมีอัตราสูงสุดที่ 30% รวมกับค่าส่งอาหาร 10 บาท ในขณะที่ต้นทุนในด้านต่างๆ เริ่มจากค่าตอบแทนของพาร์ทเนอร์ในการจัดส่งอาหารขั้นต่ำที่ 40 - 60 บาท นอกจากนี้ต้นทุนส่วนอื่นๆ ยังรวมถึงค่าใช้จ่ายทางการตลาด ค่าเทคโนโลยีและการพัฒนา ซึ่งเฉลี่ยประมาณ 15 บาทต่อยอดการสั่งซื้อแต่ละครั้ง
.
💡 จากที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่าเมื่อพิจารณาจากโครงสร้างต้นทุนของ Grab แล้ว ยังถือว่าบริษัทยังคงมีผลขาดทุนโดยเฉลี่ยต่อคำสั่งซื้อที่ประมาณ 5 - 15 บาท ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายในการบริหารธุรกิจเพียงอย่างเดียวให้ได้กำไร. จึงถือเป็นความท้าทายอย่างมากของบริษัทในการที่จะพลิกธุรกิจและสร้างธุรกิจอื่นรอบๆ แพลตฟอร์มที่ได้พัฒนามาอย่างยาวนาน ให้สามารถสร้างรายได้และกำไรได้ยั่งยืนในอนาคต.
.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
อ้างอิงจาก "ส่องรายได้คนขับ 'ฟู้ดเดลิเวอรี่'" หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 21-24 มิ.ย. 2563
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น