ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ทำไมเราถึงมีแรงจูงใจจากการให้ส่วนลดหรือการคิดค่าธรรมเนียม (s.46)


ขอเริ่มโดยยกตัวอย่างของการให้ส่วนลดหรือการคิดค่าธรรมเนียมโดยยกตัวอย่างที่เรามักพบเห็นกันได้ทั่วไปในปัจจุบัน คือ การให้ถุงพลาสติกใส่สินค้าของร้านซุปเปอร์มาร์เก็ต. ซึ่งบางร้านจะเรียกเก็บเงินจำนวนเล็กน้อย เช่น 1 บาทต่อถุงพลาสติก (คิดค่าธรรมเนียม) สำหรับการรับถุงพลาสติก หรือในขณะที่บางร้านให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อ เช่น 2% หากผู้ซื้อนำถุงมาใส่สินค้าเองหรือไม่รับถุงพลาสติก (ให้ส่วนลด).

ทั้งนี้การให้แจงจูงใจดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หนึ่งเพื่อให้ผู้ซื้อเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้แรงจูงใจทางการเงิน คือ ความรู้สึกที่ดีที่ได้รับ (การให้ส่วนลด) หรือ ความรู้สึกเสียดายเมื่อต้องเสีย (คิดค่าธรรมเนียม). อย่างไรก็ดี ทางเลือกของแรงจูงใจดังกล่าวมีผลที่ต่างกันต่อความรู้สึกของผู้บริโภค ซึ่งการเลือกใช้แนวทางที่เหมาะสมจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดสิ่งที่ต้องการโดยใช้วิธีหนึ่งที่เหนือกว่าอีกวิธีหนึ่ง.

จากผลการศึกษาพบกว่าโครงสร้างของแรงจูงใจส่งสัญญาณบางอย่างต่อผู้คนเกี่ยวกับการที่ผู้อื่นคิดหรือกระทำ. ซึ่งพบว่าการคิดว่าธรรมเนียมจะส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการจูงใจมากกว่า โดยกรณีที่มีการคิดค่าธรรมเนียม ผู้บริโภคจะมีความรู้สึกที่ผิดและเหมือนแปลกแยกต่อความคาดหวังของสังคมที่มีต่อพฤติกรรมนั้นได้มากกว่า ทำให้มีแนวโน้มที่จะประพฤติตัวเป็นไปในแนวทางเดียวกับความคาดหวัง เช่น กรณีข้างต้นคือการไม่รับถุงพลาสติกในซุปเปอร์มาร์เก็ตมากกว่า.

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนในสังคมไม่ใช้เป็นเพียงการให้แรงจูงใจในปัจจุบัน แต่ยังหมายถึงการส่งแรงจูงใจดังกล่าวไปในอนาคตซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงถาวร ในขณะที่การให้แรงจูงใจทางการเงินมักเป็นการจูงใจเชิงพฤติกรรมในปัจจุบันครั้งเดียว (one-time) อย่างไรก็ดีการออกแบบแรงจูงใจ เช่น การคิดค่าธรรมเนียม สามารถส่งผลต่อพฤติกรรมได้ยาวนานกว่า เพราะเป็นการส่งสัญญาณในเชิงของความคาดหวังของสังคมออกไปพร้อมแจงจูงด้วย. 

ในขณะที่ปัจจุบัน องค์กรต่างๆ รวมถึงภาครัฐ ได้ออกแบบการใช้แรงจูงใจต่างๆ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คน ซึ่งจากผลงานวิจัยพบว่าแรงจูงใจที่ออกแบบมาส่วนใหญ่จะมีอิทธิพลมากกว่าที่ผู้ออกแบบได้คาดหวัง  ดังนั้นการออกแบบแรงจูงใจที่ดี จะยิ่งส่งผลกระทบต่อผู้คนในวงกว้างได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น.

อนึ่ง ผลของการคิดค่าธรรมเนียมมีข้อจำกัดเช่นกัน ซึ่งก่อนที่จะออกแบบแรงจูงใจดังกล่าว ผู้ออกแบบควรพิจารณาประเด็นเรื่องของความเชื่อของคนในสังคมที่คาดหวังจะได้รับผลกระทบจากนโยบายหรือแนวทางดังกล่าว  ซึ่งท้ายสุดแรงจูงใจซึ่งใช้เป็นเครื่องมือที่จะช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนในสังคมโดยการจัดการที่ดีนั้น ผลกระทบจะไม่เพียงแค่การปรับเปลี่ยนเพียงชั่วคราว (one-time) แต่จะเป็นการปรับเปลี่ยนที่ยั่งยืน.

เรียบเรียง: "Research: Why We're Incentivized by Discounts and Surcharges" by Alicea Lieberman and Kristen Duke

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...