จากบทความใน SCB EIC เรื่อง "COVID-19 จะส่งผลต่ออุปสงค์น้ำมันอย่างไร" โดย ดร.ศิวาลัย ขันธะชวนะ ซึ่งได้วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโลกอุปสงค์ในน้ำมันหลังยุคโควิด ซึ่งมีความน่าสนใจไม่น้อย จึงอยากนำมาสรุปจดเก็บบันทึกไว้
.
✅ วิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้อุปสงค์ในน้ำมันหดหายไปอย่างมาก โดยในเดือนเมษายน 2020 ที่มีการแพร่ระบาดกระจายหลายพื้นที่พบว่าอุปสงค์น้ำมันโลกปรับลดลงถึง 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็น 30% ของความต้องการการใช้น้ำมันทั้งหมด.
✅ EIC มองว่าในระยะสั้น พฤติกรรมการเดินทางของคนเปลี่ยนแปลงไปจากความกังวลของ COVID-19 ที่ยังมีอยู่ ยกตัวอย่างเช่นประเทศจีนในช่วงวันหยุดยาวแรงงาน (1-5 พ.ค. 2020) ซึ่งเป็นช่วงที่วิกฤตเริ่มดีขึ้นแล้วในประเทศแต่การเดินทางยังหดตัวเมื่อเทียบกับปีที่แล้วถึง 41% YoY.
✅ ในระยะยาวแล้ว ลักษณะการทำงานในอนาคตอาจเป็นรูปแบบทางไกลมากขึ้นโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจะกดดันความต้องการใช้น้ำมันในอนาคต โดยมีผลสำรวจพนักงาน full time ในสหรัฐฯ มากกว่า 1,200 คน โดย getAbstract พบว่าพนักงานเกือบ 43% ยังคงต้องการทำงานที่บ้านหลังจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 สิ้นสุดลง
✅ นอกจากนี้ จากบทเรียน supply chain ทั่วโลกเกิดการหยุดชะงักในช่วงที่มีมาตรการล็อกดาวน์และปิดประเทศ New Normal ของ supply chain จะมีแนวโน้มจะถูกปรับให้สั้นลง ใช้วัตถุดิบหรือสินค้าขั้นกลางในประเทศมากขึ้น ลดการพึ่งพาการผลิตแบบกระจายฐานการผลิตหลายประเทศให้มาอยู่ประเทศเดียว
✅ อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยสนับสนุนการใช้น้ำมัน (ในระยะสั้น) เช่น ความกังวลเรื่องเชื้อโรคทำให้คนเปลี่ยนวิธีเดินทางมาเป็นรถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น นอกจากนี้จากราคาน้ำมันดิบที่ตกอย่างรุนแรงและอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ความสามารถทางการแข่งขันของพลังงานทางเลือกและรถยนต์ไฟฟ้าลดลงและคนอาจมีแนวโน้มจะใช้น้ำมันมากขึ้น.
.
💡 ถึงแม้ว่าในระยะยาวเราทุกคนเชื่อว่าการใช้พลังงานฟอสซิลจะมีความต้องการลดน้อยลง และแทนด้วยพลังงานที่สะอาดมากขึ้น อย่างไรก็ดีในระยสั้นแล้วความต้องการของน้ำมันในอนาคตยังคงเป็นสิ่งที่มีความไม่แน่นอนสูงไม่ราบเรียบเหมือนในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นตัวฉุดรั้งนวัตกรรมทางด้านพลังงานไม่ให้สามารถเกิดการพัฒนาไปได้ดังเช่นช่วงก่อนหน้า
.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
.
อ้างอิง https://www.scbeic.com/th/detail/product/6909
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น