บริษัทที่มีความสามารถในจับสัญญาณวิกฤตได้แต่เนิ่นๆ จะใช้แนวทางกลยุทธ์ระยะสั้นสำหรับการบริหารกระแสเงินสด ซึ่งมีส่วนที่จะช่วยสนับสนุนและลดผลกระทบทางการเงินให้ลูกค้าและพาร์ทเนอร์. ในขณะที่ตัวบริษัทเองจะมีการบริหารรายได้และค่าใช้จ่ายอย่างเข้มงวด. ทั้งนี้แนวทางทั้งสองคือการช่วยเหลือสนับสนุนทั้งลูกค้าและพาร์ทเนอร์ และ กาบริหารรายได้และค่าใช้จ่ายอย่างดุดัน จะดูเหมือนขัดแย้งและตรงข้ามกัน แต่ในความเป็นจริง แนวคิดทั้งสองนั้นจะมีส่วนช่วยสร้างสมดุลโดยใช้ความเข้าใจและการเอาใจใส่ลูกค้าเพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจของลูกค้าจะยังคงสามารถดำเนินการได้ต่อไป.
ทั้งนี้ในการสร้างสมดุลดังกล่าว ผู้นำองค์กรสามารถใช้แนวทาง 5 ข้อในการบริหารจัดการ ซึ่งประกอบด้วย
1. การสร้างรายได้ระยะสั้นโดยให้มีการรับประกัน ค้ำประกัน หรือการคืนสินค้า/บริการ
ถึงแม้การดำเนินการดังกล่าวจะสร้างความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นให้แก่บริษัท อย่างไรก็ดีการทำสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เกิดความมั่นใจจากลูกค้าและผู้ใช้บริการ และสร้างแรงสนับสนุนในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัทให้ง่ายขึ้น. โดยแนวทางนี้จะช่วยให้บริษัทสามารถสร้างกระแสเงินสดในระยะสั้นได้ทางหนึ่ง.
2. ปรับรูปแบบโครงสร้างรายได้/ราคาใหม่
บริษัทควรทำการทดสอบโครงสร้างรายได้หรือราคาในรูปแบบใหม่กับลูกค้าที่ดีเยี่ยมของบริษัท ซึ่งกลุ่มลูกค้าดังกล่าวมักจะยินดีในการได้รับสิทธิทดลองสินค้าหรือบริการในวิธีหรือแนวทางใหม่ ที่ปกติพวกเขามีความชอบสินค้า/บริการอยู่แล้ว โดยบริษัทอาจใช้วิธีส่วนลดสำหรับสินค้าหรือบริการนั้นให้กับลูกค้ากลุ่มดังกล่าวในการทดลอง. ทั้งนี้เป้าหมายของการทดลองคือการหาโอกาสในการสร้างรูปแบบโครงสร้างรายได้หรือค่าบริการแบบใหม่. โดยแนวทางดังกล่าวอาจเป็นในรูปบของการสมัครสมาชิก การใช้บัตรกำนัล ซึ่งจะแตกต่างจากการขายสินค้าหรือบริการปกติที่เป็นครั้งๆ.
3. เร่งการสร้างนวัตกรรม
ลูกค้าที่ชอบสินค้านวัตกรรมใหม่ๆ มักจะเป็นลูกค้ากลุ่มแรกที่ยินดีกับการที่ได้เห็นสินค้าหรือบริการมีการปรับปรุงพัฒนา ซึ่งหากสินค้าหรือบริการดังกล่าวสามารถมีให้ได้ทดลองก่อนที่เปิดขายจริงๆ ลูกค้ากลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ดีที่จะช่วยบริษัทในการทดสอบให้ความคิดเห็นสำหรับการปรับปรุงพัฒนาสินค้า/บริการก่อนที่จะออกจำหน่ายจริง. ซึ่งการได้รับคำติชมแนะนำดังกล่าว ถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อบริษัทที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการออกสินค้าหรือบริการใหม่ ให้บริษัทได้มีโอกาสปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะออกตลาดจริงต่อไป.
4. ตัดค่าใช้จ่ายการตลาดที่แตะต้องไม่ได้
องค์กรทั่วไปมักจะมีค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่หลายครั้งไม่สามารถอธิบายถึงเหตุผลที่ต้องทำได้อย่างชัดเจน แต่ที่ผ่านมามีการใช้จ่ายสำหรับค่าใช้จ่ายดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจนเหมือนเป็นธรรมเนียมที่ต้องมี. อย่างไรก็ดี เวลาช่วงวิกฤตถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับองค์กรที่จะได้กลับมาพิจารณาถึงความจำเป็นอย่างจริงจัง และพิจารณาตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น (ที่เมื่อก่อนแตะต้องไม่ได้ เพราะสาเหตุของการเมืองในองค์กร) ออกไป.
5. หาลูกค้ากลุ่มใหม่
บริษัทควรหากลุ่มลูกค้าใหม่อย่างแข็งขันในช่วงที่เกิดวิกฤต แนวทางที่ดีแนวทางหนึ่งคือ การใช้กลยุทธ์สุ่มตัวอย่างของลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ โดยการทดสอบสินค้าหรือบริการกับลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ที่ก่อนหน้าบริษัทอาจไม่เคยได้ศึกษาหรือแนะนำ. หรืออีกแนวทางหนึ่งในการได้มาซึ่งลูกค้ากลุ่มใหม่ คือ การทำ M&A. ทั้งนี้บริษัททั่วไปมักจะมีมูลค่าองค์กรในช่วงวิกฤตที่ต่ำกว่าช่วงปกติ ซึ่งหากบริษัทมีความพร้อมทางการเงินก็จะเป็นโอกาสที่ดีในการได้มาซึ่งบริษัทเป้าหมายพร้อมกลุ่มลูกค้าใหม่ อันจะช่วยสร้างโอกาสในการทำ cross-selling ได้อีกทางหนึ่ง.
สุดท้าย บริษัทจำเป็นต้องต่อต้านสิ่งต่างๆ ที่จะป้องกันไม่ให้บริษัทก้าวข้ามจากสภาพปัจจุบันในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ โดยใช้การพิจารณาในแนวทางที่มีอย่างลึกเป็นหลักการในการสร้างการเปลี่ยนแปลง.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
เรียบเรียงจาก "5 Ways to Stimulate Cash Flow in a Downturn" by Eddie Yoon และ Christopher Lochhead
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น