✅ ปรากฏการณ์ของความขาดแคลน (scarcity) - เกิดจากความขาดแคลนที่เห็นได้ชัดเจนส่งผลต่อการรับรู้คุณค่าของผู้คน เช่น มีการทดลองหนึ่งที่ให้ผู้คนประเมินค่าของคุ้กกี้ที่เหมือนกัน 2 ขวดโหลที่เหมือนกัน โดยโหลที่ 1 บรรจุคุ้กกี้ 10 ชิ้น ขณะที่ขวดที่ 2 บรรจุเพียง 2 ชิ้น ซึ่งการทดลองพบว่าผู้คนจะประเมินค่าของคุ้กในขวดโหลที่ 2 ซึ่งมีจำนวนน้อยว่าสูงกว่าขวดโหลที่ 1 ทั้งๆ ที่คุ้กกี้ทั้งสองขวดโหลและตัวขวดโหลเองเหมือนกัน
✅ ปรากฏการณ์วางกรอบ (framing) - เกิดจากการเราใช้บริบทแวดล้อมมาเป็นเครื่องมือช่วยให้ตัดสินใจได้เร็วขึ้น ซึ่งบางครั้งทำให้เกิดข้อผิดพลาด เช่น การทดลองความพึงพอใจในไวน์ โดยให้ผู้ร่วมทดลองชิมไวน์ ซึ่งแจ้งราคาที่แตกต่างตั้งแต่ถูกถึงแพง ผลการทดลองพบว่าผู้ร่วมทดลองจะมีความพึงพอใจในการชิมไวน์ที่ได้รับแจ้งว่าราคาสูงมากกว่า ความพึงพอใจเมื่อได้ชิมไวน์ที่มีราคาต่ำ อย่างไรก็ดีประเด็นของการทดลองนี้คือ ไวน์ที่ให้ชิมทั้งหมดเป็นไวน์ชนิดเดียวกันแต่ผู้ร่วมทดลองไม่ทราบ
✅ ปรากฎการณ์การผูกติด (anchoring) - เกิดจากการที่เรายึดติดกับข้อมูลที่มีในการตัดสินใจ เช่น การที่ร้านค้าติดป้ายลดราคาจำนวนมากในสินค้า ซึ่งเรามักยึดติดว่าสินค้าที่ลดราคามากจะเป็นสินค้าที่ถูก อย่างไรก็ดีหากเรามองดูรอบๆ สินค้าในลักษณะเดียวกัน เราอาจพบว่าสินค้าที่ไม่ได้ลดราคาอาจมีราคาถูกกว่าสินค้าที่ติดป้ายลดราคาแล้วก็เป็นได้ ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้คือเรามักยึดติดกับสัดส่วนที่ลดราคา และคิดว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ถูก เป็นต้น
✅ ปรากฎการณ์ความก้าวหน้าแบบได้เปล่า (endowed progress) - เป็นปรากฏการณ์ที่เพิ่มแรงจูงใจของผู้คนด้วยการทำให้เชื่อว่าตัวเองจะบรรลุเป้าหมาย เช่น กรณีศึกษาของบัตรสะสมแต้ม โดยกลุ่มหนึ่งมีช่องเก็บสะสม 8 ช่อง ในขณะอีกกลุ่มหนึ่งมีช่องเก็บสะสม 10 ช่องแต่มีแต้มฟรีให้ 2 แต้ม ซึ่งผลการทดลองพบว่าผู้ร่วมทดลองกลุ่มที่ 2 มีแนวโน้มสะสมแต้มให้ครบจำนวนมากกว่าในกลุ่มแรกอย่างมีนัยสำคัญ
💡 การเข้าใจถึงกระบวนการเกิดของอคติจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ รวมถึงบุคคลทั่วไปในการช่วยให้เราคิดได้เท่าทันกับพฤติกรรมอคติที่เกิดขึ้น และสามารถป้องกันการตัตสินใจที่ผิดพลาดจากอคติดังกล่าว.
.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น