ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ทางรอดของร้านอาหารระหว่างช่วงวิกฤตนี้ ?


ในสภาวะปัจจุบัน ประเด็นที่สำคัญที่เกิดกับผู้บริโภค คือ การที่ถามต้องถามตนเองว่ามันเป็นการคุ้มค่าไหมที่พวกเขาจะออกจากบ้านเพื่อหาซื้ออาหาร หรือ ควรอยู่ที่บ้านอย่างจริงจัง

ในการหาทางรอดของร้านอาหาร เจ้าของร้านจำเป็นต้องหาหาทางใหม่ๆ เพื่อให้ตนเองรอดในสถานการณ์แบบนี้ และปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพของผู้บริโภค. โดยผู้เขียนได้แนะนำให้เจ้าของร้านอาหารด้วยวิธีง่ายๆ คือ "ลดราคา"

โดยทั่วไป ต้นทุนของร้านอาหารคือต้นทุนจม (ซึ่งได้แก่ที่, อาคาร, ห้องครัว เป็นต้น) ซึ่งถือเป็นต้นทุนที่ต้องมีไม่ว่าร้านอาหารจะเปิดหรือไม่ ดังนั้นเป้าหมายในอีกประมาณช่วง 6 เดือนข้างหน้าคือการทำให้การขาดทุนต่ำที่สุดโดยเน้นที่ส่วนต่างกำไร (รายได้ ลบ ต้นทุนแปรผัน เช่น พนักงาน, วัตถุดิบ เป็นต้น)

มีเหตุผลที่สนับสนุน 3 ประการในการปรับลดราคาอาหาร
1. การซื้อกลับบ้าน ถือเป็นการให้ประสบการณ์ที่มีคุณค่าต่ำ : ในขณะที่คุณค่าของการนั่งทานที่ร้านอาหาร คือ บรรยากาศ, บริการ, ประสบการณ์ทางสังคม  ดังนั้นเมื่อการซื้อกลับบ้านเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับอาหารในระดับที่ต่ำ จึงเหมาะสมที่ลดราคาเมื่อพิจารณาคุณค่าดังกล่าว
2. อาหารจะถูกคิดในเรื่องของคุณค่ามากขึ้น : ในช่วงที่ผู้บริโภคมีความระมัดระวังทางการเงิน ค่าใช้จ่ายหลายอย่างจะกลายเป็นทางเลือก โดยเฉพาะอาหารที่มีราคาสูง
3. การลดราคาสามารถจึงดูดกลุ่มลูกค้าให้บริโภคบ่อยขึ้น : และยังอาจช่วยดึงดูดลูกค้าใหม่ไปในตัว

กลยุทธ์คำแนะนำที่ร้านอาหารสามารถใช้ในการสร้างส่วนลดซึ่งจะเหมาะสมสำหรับสภาพเศรษฐกิจช่วงนี้ ประกอบด้วย
- กรณีที่ร้านอาหารไม่สามารถสร้างเมนูใหม่ในราคาประหยัดกว่าเดิมได้ ควรพิจารณาในการให้ส่วนลด 15-20% จากราคาอาหารปกติ : แนวคิดคือ การปรับราคาต่ำกว่า 15% จะไม่ดึงดูดกระตุ้นผู้บริโภค ในขณะที่การลดราคาที่มากกว่า 20% จะส่งสัญญาณทางลบไปยังผู้บริโภคในเรื่องของคุณค่าของอาหาร.
- เพื่อปกป้องคุณค่าของร้านอาหาร เจ้าของร้านจำเป็นต้องส่งสัญญาณให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าการลดราคานี้เป็นเพียงชั่วคราว. โดยกรณีหากร้านอาหารเสนอเมนูขึ้นมาใหม่ในช่วงนี้ ก็ควรทำให้เกิดความชัดเจนว่าเป็นข้อเสนอเพียงช่วงสั้นๆ.

และนอกเหนือจากการทำการตลาดแล้ว เจ้าของร้านยังควรต้องสร้าง "อุปสรรคป้องกันการถูกลดคุณค่า" (hurdles-to-devaluation) หรือการการปฏิบัติเพื่อที่ลูกค้าจะได้การลดราคา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอุปสรรคให้เชิงจิตวิทยาให้แก่ลูกค้าว่าการลดราคานี้เป็นเรื่องพิเศษและชั่วคราว โดยมีตัวอย่างเช่น
- การบริจาคอาหารกระป๋อง : เพื่อเป็นการตอกย้ำถึงโปรโมชั่นดังกล่าวนี้เกี่ยวข้องกับช่วงวิกฤต, สร้างความเข้มแข็งของตราสินค้าของร้านอาหาร และยังทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกที่ดีที่ได้ช่วยเหลือคนอื่น โดยผู้ที่ไม่สะวกในการบริจาคก็จะไม่ได้รับส่วนลด
- ซื้อในจำนวนมาก : กำหนดารสั่งซื้อขั้นต่ำที่จะได้ลดราคา
- ชำระด้วยเงินสดเท่านั้น : เพื่อเป็นการตอกย้ำว่าการลดราคานี้เป็นช่วงที่พิเศษไม่ปกติ

ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่หลายธุรกิจต้องปรับตัว และร้านอาหารก็ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ต้องปรับตัวเช่นกัน.. เรื่องราวเทคนิคและข้อควรระวังที่ได้กล่าวมา จะเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการทั้งหลายได้นำไปปรับใช้เพื่อนำพาธุรกิจของคุณให้ผ่านช่วงวิกฤตนี้ไปให้ได้.

#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business

สรุปจาก "How Restaurants Can Survive Right Now" by Rafi Mohammed

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...