ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเติบโตของ Recommerce : ทำไมสิ่งที่เก่ากลับดูใหม่อีกครั้ง (s.28)


Recommerce เป็นการเรียกการสร้างคุณค่าจากสิ่งของที่เคยซื้อไปแล้ว ให้กลับมามีประโยชน์สำหรับผู้บริโภคอีกครั้ง. ซึ่งรูปแบบการขายแบบดั้งเดิมนั้น จะเป็นตลาดสำหรับการซื้อขายสินค้าที่ใหม่ (มือ 1) ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่. อย่างไรก็ดีในช่วงที่่ผ่าน เช่น ธุรกิจแฟชั่น recommerce ไม่ว่าจะเป็นการให้เช่า การขายใหม่ หรือสินค้าราคาประหยัด ได้กลายเป็นตลาดที่ใหญ่สำหรับอุตสาหกรรมค้าปลีกไปแล้ว.

กลุ่มคนในรุ่นของเจนมิลเลนเนี่ยน (คือคนที่เกิดปีระหว่าง 1980-2000) หรือกลุ่มเจนซี (Gen Z, คนที่เกิดช่วงปี ค.ศ. 1986-1995) ชอบที่จะเลือกซื้อสินค้าในร้านค้าราคาประหยัดหรือร้านค้าฝากขาย โดยไม่ได้รู้สึกลำบากใจหรือเขอะเขินในการเข้าร้านดังกล่าว แต่พวกเขารู้สึกถึงความมีส่วนร่วมและมีภาพลักษณ์แสดงถึงตัวตนในกระแสของการชอปปิ้งในสถานที่เหล่านี้.

ทั้งนี้สาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระแส recommerce มาแรง คือ การการตระหนักเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคมในเรื่อง ที่มีความคิดว่าอุตสาหกรรมแฟชั่นส่งผลกระทบทางลบต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะเป็นเรื่องที่กังวลอย่างมากในกลุ่มคนที่อายุไม่มาก.

นอกจากนี้ในหลายร้านค้า การมีตัวเลือกสำหรับสินค้าที่นำกลับมาขายใหม่ในร้านค้า ยังช่วยให้ยอดขายโดยรวมของร้านค้าปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งบางร้านค้าได้รายงานตัวเลขที่สูงเพิ่มขึ้นถึง 21% เมื่อเทียบกับการจำหน่ายเฉพาะสินค้าใหม่ทั่วไป. นอกจากนี้ การขายสินค้าที่หลากหลายทั้งสินค้าใหม่และสินค้าเก่ายังช่วยให้จำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นถึง 70% อีกด้วย.

ตัวอย่างร้าน Rent the Runway ซึ่งเป็นร้านค้าให้บริการทางออนไลน์ เปิดดำเนินธุรกิจในปี 2009 นำเสนอการเช่าชุดเสื้อผ้าและเครื่องประดับตกแต่งจากผู้ออกแบบที่มีชื่อเสียง. โดยปัจจุบันรายได้ของ Rent Ruway มีสมาชิกที่ลงทะเบียนสูงถึง 11 ร้านราย. ร้านดังกล่าวได้รับการตอบรับที่ดีโดยเฉพากลุ่มผู้หญิงที่ต้องการเช่าชุดเพื่อใช้ในงานแต่งงาน หรืองานเลี้ยงสังสรรค์ ซึ่งต้องการให้ชุดของพวกเขาดูดีในทุกครั้งที่ออกงานในขณะที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย.

ทั้งนี้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคในเรื่องเครื่องแต่งกายที่สู่การเช่า หรือการนำกลับมาขายซ้ำ ได้แสดงถึงแนวโน้มของอุตสาหกรรมนี้เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าและต้องการเป็นเจ้าของน้อยลง และช่วยให้เวลาของพวกเขาเพิ่มมากขึ้น.

ปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมไปยัง recommerce รวมไปถึงความตระหนักถึงสภาพแวดล้อม และต้องการที่จะมีส่วนร่วมในการช่วยลดพิษ. นอกจากนี้ เมื่อผู้บริโภครู้ว่าเครื่องแต่งกายของพวกเขาสามารถกลับมาชีวิตได้ใหม่อีกครั้ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องถูกทิ้งหรือฝังกลบเสมอไป พวกเขายิ่งสบายใจและเพลินเพลินในการเลือกซื้อสินค้ามากยิ่งขึ้น.

ที่ผ่านมา Recommerce ได้ถูกพิจารณาว่าเป็นการบริโภคเพื่อตนเองมากกว่าซื้อเพื่อเป็นของขวัญ. อย่างไรก็ตาม การให้ของขวัญในรูปแบบสมาชิกของร้านค้ามือสอง แทนการซื้อของใหม่ให้แก่ผู้รับกำลังได้รับการยอมรับมากขึ้น. ทั้งนี้กระแสของ recommerce จะยังคงมีอิทธิพลและอาจเป็นกระแสหลักเมื่อผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้การยอมรับมากขึ้นในอนาคต.

#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business

สรุปจาก "The Rise of Re-commerce: Why Everything Old is New Again" by Knowledge @WHARTON

s.28 27-apr-20

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...