แนวคิดของการรวบรวมความคิดเห็นของกลุ่มคน คือ การรวบรวมความคิดการตัดสินใจของแต่ละบุคคล ซึ่งจะนำมาสู่ความถูกต้องที่แม่นยำของคำตอบมากยิ่งขึ้น. อย่างไรก็ดีมีกรณีที่การที่ผู้คนหลากหลายพูดคุยกัน กลับกลายเป็นทำให้ความถูกต้องในการตัดสินใจลดต่ำลง.
ทั้งนี้แนวคิดของการรวมความของกลุ่มมาจากสติถิที่ว่า หากคุณถามคำถามที่ยากกับกลุ่มคน ซึ่งมีความคิดเป็นอิสระต่อกัน คำตอบที่ได้จากพวกเขาส่วนใหญ่จะเป็นคำตอบที่ผิด. แต่เมื่อนำคำตอบเหล่านั้นมาพิจารณาร่วมกัน จะพบว่าคำตอบที่ได้มาจะปราศจากความลำเอียงและไม่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งหมายถึงว่าความผิดพลาดของคำตอบของแต่ละบุคคลจะหักล้างกันเองโดยเฉลี่ย.
อย่างไรก็ดี หากเรายินยอมให้ผู้คนได้มีการสนทนากันจะพบว่าคำตอบของพวกเขาเหล่านั้นจะเริ่มมีแนวโน้มที่จะมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเริ่มฟังซึ่งกันและกัน. สิ่งนี้จะเป็นผลดีหากคนส่วนใหญ่ในกลุ่มดังกล่าวรับฟังบุคคลผู้ซึ่งมีความฉลาดมากที่สุดของกลุ่ม. แต่จะส่งผลในทางตรงข้ามหากผู้คนรับฟังบุคคลในกลุ่มซึ่งไม่ได้มีความรู้ แต่มีความสามารถชักจูงโน้มน้าวได้ดีกว่าบุคคลในกลุ่มคนอื่น.
มีงานวิจัยหนึ่งแสดงให้เห็นว่ากลุ่มคนมีแนวโน้มที่จะรับฟังความคิดที่จัดขึ้นในวงกว้างประกอบด้วยผู้คนหลากหลาย มากกว่าการรับฟังความคิดจากกลุ่มคนที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ. นอกจากนั้นในระหว่างการอภิปราย ผู้คนจะเริ่มให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ของตนเองในการที่จะถูกมองจากคนรอบข้าง ซึ่งสิ่งดังกล่าวจะทำให้คนๆ นั้นเกิดการเบี่ยงเบนความสนใจและเกิดความลำเอียงในความคิดเห็นได้.
แล้วอะไรเป็นสิ่งใช้ทำนายว่าการอภิปรายจะส่งผลลัพธ์ในทางที่เป็นประโยชน์ ?
การงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า เมื่อกลุ่มอภิปรายที่ประกอบด้วยผู้คนหลากหลายไม่ทราบถึงพื้นหลังและความรู้ของแต่ละคน บุคคลจะเชื่อถือคนอื่นโดยพิจารณาจากการที่คนพูดดังกล่าวแสดงความมั่นใจในตนเองแค่ไหน. ซึ่งผู้คนจะฟังผู้ที่มีความั่นใจในตนเองหรือผู้ที่แสดงออกมากที่สุดและโน้มเอียงเข้าสู่บทสนทนาดังกล่าว.
การรับฟังคนที่มีความมั่นใจที่สุดเป็นกลยุทธ์ที่ดีเมื่อบุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลที่มีความรู้มีการตัดสินใจที่ดี. แต่ในทางกลับกัน การรับฟังคนที่มีความมั่นใจมากที่สุดจะเป็นความคิดที่แย่ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวไม่ได้มีความรู้มากกว่าคนอื่นในกลุ่ม.
สิ่งที่มักพบเจอโดยทั่วไป คือ ความมั่นใจของกลุ่มอภิปรายมักจะเพิ่มขึ้นภายหลังจากการอภิปรายสิ้นสุด ซึ่งกลุ่มจะมีความมั่นใจในความถูกต้องของคำตอบพวกเขาถึง 90%. อย่างไรก็ดี การที่ความมั่นใจของกลุ่มเพิ่มสูงขึ้นแต่ความถูกต้องแม่นยำไม่ได้เพิ่มสูงตาม มันเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดสิ่งที่อาจเรียกได้ว่า "ภาพลวงตาของการอภิปรายที่มีประสิทธิภาพ". ซึ่งผู้คนโดยทั่วไปไม่ตระหนักถึงว่าการสนทนาอาจนำไปสู่ผลกระทบทางลบในเชิงความถูกต้องของคำตอบได้.
ดังนั้นในการอภิปราย กลุ่มคนควรประกอบด้วยคนที่ไม่ได้มีเฉพาะมีความรู้ความสามารถในระดับบุคคล แต่ยังต้องเป็นบุคคลที่รู้ว่าเขารู้อะไร และรู้ว่าเขาไม่รู้อะไร อีกทั้งรู้ว่าความสามารถของตนเป็นอย่างไร. ทั้งนี้ระดับของการที่ผู้อภิปรายรู้ว่าเขารู้อะไร และไม่รู้อะไรนั้น เป็นสิ่งที่สามารถทำนายถึงผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพของการสนทนาได้.
มีคำแนะนำ 3 อย่าง ในการเพิ่มประสิทธิภาพของการอภิปราย
1. ให้ปรับลดความมั่นใจในตนเองลง : โดยให้ถามตนเองถึงเหตุผลหนึ่งข้อที่ทำให้คำตอบของเขากลายเป็นสิ่งที่ผิดได้.
2. รับฟังทุกคนในกลุ่มสนทนา : โดยให้ทุกคนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นพร้อมเหตุผลที่สนับสนุนความคิดของเขา.
3. อย่าเปลี่ยนคำตอบของคุณในระหว่างการอภิปราย : ยกเว้นคุณจะเชื่อในเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังของการเปลี่ยนแปลงนั้น.
การอภิปรายเป็นกลุ่ม ไม่จำเป็นว่าจะส่งผลให้เกิดความถูกต้องแม่นยำของคำตอบมากขึ้น. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคนที่ถูกเลือกในการอภิปรายว่ามีความรู้ความเข้าใจมากน้อยแค่ไหน และคนๆ นั้นเป็นผู้ที่รู้จักตนเองดีพอหรือไม่. ซึ่งหากได้คนที่ถูกต้อง การอภิปรายจะเพิ่มความถูกต้องในการตัดสินใจและส่งผลสำเร็จของทีม.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
อ้างอิง: "Why Self-Awareness Is the Key to More Effective Team Discussion" by Knowledge@Wharton
s.21 19-apr-20
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น