ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การทำงาน ทางเลือกอื่นของแรงจูงใจ (s.23)


ความแตกต่างระหว่างงานที่ดีกับงานที่แย่ไม่ได้ขึ้นกับตัวงานที่คุณทำ แต่ขึ้นกับบริบทของงานนั้นๆ ที่คุณทำมากกว่า. งานที่ต้องทำงานในที่เล็กๆ อากาศร้อนๆ บางคนก็คิดว่าเป็นงานที่ดี ในขณะที่งานที่ทำในห้องแอร์ อยู่ในออฟฟิตที่ตกแต่งอย่างทันสมัยก็อาจถูกมองว่าเป็นงานที่แย่ได้

โดยทั่วไปงานดีๆ จะเปลี่ยนเป็นงานแย่ๆ ได้จากสมมุติฐานที่ผิดเกี่ยวกับงานที่ว่าคนทั่วไปไม่อยากลุกขึ้นมาตอนเช้าเพื่อไปทำงาน ดังนั้นเราจึงต้องคอยสอดส่องตรวจตราและมอบแรงจูงใจเพื่อให้ทำงาน

มุมของของอดัม สมิท มองว่าคนเรานั้นมีความขี้เกียจโดยพื้นฐานและไม่ชอบทำงาน ดังนั้นการให้งานที่ต้องทำซ้ำๆ จึงไม่ได้เป็นการเอาเปรียบแต่อย่างใด และค่าจ้างคือสิ่งที่จะช่วยจูงใจให้คนทำงานอย่างรวดเร็วและแม่นยำ

แต่จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า ระดับเงินเดือนมีผลน้อยมากต่อความพึงพอใจในงานหรือความพึงพอใจต่อค่าตอบแทน. ค่าจ้างจึงไม่อาจทดแทนสิ่งที่เสียไปจากการทำงานซ้ำซาก ซึ่งคนทำงานต้องทนอยู่กับงานที่ไม่ได้เป็นมากกว่าความจำเจ.

ความคิดดังกล่าวยังได้รับการสนับสนุนจากงานวิจัยอีกชิ้นที่แสดงให้เห็นว่า การวางโครงสร้างการทำงานที่ดีจะช่วยให้คนงานได้รับโอกาสหาความพึงพอใจจากสิ่งที่พวกเขาทำ และยังเป็นการช่วยบริษัทให้มีผลประกอบการที่ดีขึ้นด้วย

หากพิจารณาลักษณะการทำงานสมัยปัจจุบันที่มีเรื่องอาจร้ายแรงกว่าการทำงานซ้ำซากจำเจหรือการเฝ้าตาระวัง นั่นคือการวางแรงจูงบนพื้นฐานที่เน้นเรื่องของวัตถุ ซึ่งส่งผลให้เกิดการแข่งขันในหมู่ของพนักงาน การพยายามโกงระบบเพื่อให้ตัวเลขดีขึ้น เป็นต้น

งานส่วนมากวางอยู่บนโครงสร้างที่เป็นสัญญาที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งบางงานอาจมีการกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบไว้ชัดเจน แต่ส่วนใหญ่แล้วมีความไม่ชัดเจน เช่น หน้าที่ของแพทย์อาจถูกระบุในการมีหน้าที่ตรวจ ป้องกัน รักษาโรคให้แก่ผู้ใช้บริการ แต่หน้าที่นั้นก็ไม่ระบุถึงการปฏิสัมพันธ์กับคนไข้หรือพูดคุยกับคนไข้อย่างไร.

ทั้งนี้บทและกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ละเอียดจะทำสัญญาในการทำงานมีความสมบูรณ์ขึ้น แต่ในมุมหนึ่งก็อาจไปทำลายคุณภาพบริการของผู้ที่ทำงาน. เราควรเชื่อมั่นผู้ให้บริการแต่ละคนจะทำงานอย่างสุดความสามารถหากมีแรงขับเคลื่อนภายในเพื่อทำสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งเมื่อเราไม่มีความเชื่อมั่น เรามักหันไปใช้เครื่องมือจูงใจและพบว่าเราจะได้ผลลัพธ์ตามที่เราจ่ายเงินค่าจ้าง.

มีคำกล่าวว่า ยิ่งในสัญญาระบุไว้มากเท่าไร เรายิ่งคาดหวังให้สิ่งนอกสัญญาเกิดขึ้นได้น้อยลงเท่านั้น ยิ่งเขียนมากยิ่งได้ความเชื่อใจน้อยลง. ทางออกของสัญญาที่ไม่สมบูรณ์นี้ไม่ใช่การสร้างสัญญาที่สมบูรณ์ขึ้นไป แต่กลับกลายเป็นการฟูมฟักความสัมพันธ์ในที่ทำงานที่ทุกคนอยากทำสิ่งดีๆ ให้แก่ลูกค้าของคุณ

#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business

อ้างอิง "เราทำงานไปทำไม (Why we work)" by Barry Schwartz แปล: ทีปกร วุฒิพิทยามงคล

s.23 22-apr-20

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...

Reserve Currency (s.538)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Reserve Currency คือ เงินตราต่างประเทศที่ธนาคารกลางและสถาบันการเงินใหญ่ๆ ในโลกถือไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ในการค้า การลงทุนและการชำระหนี้ระหว่างประเทศ. ➼ ตั้งแต่ปี 1944 มี 44 ประเทศได้ตกลงกันที่เมือง Bretton Woods ที่จะให้ดอลลาร์เป็นเงินตราที่จะใช้ในธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยประเทศต่างๆ จะผูกค่าเงินของตนไว้กับดอลลาร์ และดอลลาร์ก็จะผูกไว้กับทองคำอีกต่อหนึ่ง ในอัตรา 35 ดอลลาร์ต่อทองทำ 1 Troy Ounce นี่เป็นจุดกำหนดของระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate System). ➼ ในปี 1973 ประธานาธิบดีนิกสันได้ประกาศยกเลิกการผูกค่าเงินดอลลาร์ไว้กับทองคำ อันเป็นจุดเริ่มต้นของระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Flexible Exchange Rate System) โดยแม้ดอลลาร์จะไม่มีทองคำหนุนหลัง แต่ดอลลาร์ก็ยังคงเป็น reserve currency หลักของโลกมาตลอดมาตลอดเกือบ 80 ปี เพราะสภาพคล่องที่มีสูงมาก. ➼ สหรัฐถือเป็นประเทศที่ได้เปรียบทุกประเทศในการที่สามารถใช้เงินของตนทำธุรกรรมต่างประเทศได้ อย่างไรก็ดี ในระยะยาว ยังมีคำถามที่เกิดขึ้นคือ ดอลลาร์อาจสูญเสียความเป็น reserve currency หลักของ...