หากคุณถามคนที่มีความสุขกับการทำงาน เงินแทบจะไม่ใช้เหตุผลหลักในคำตอบของพวกเขาเลย. อย่างไรก็ตามเราคงไม่ทำงานหากไม่ได้รับเงินตอบแทน แต่เงินก็ไม่ใช่เหตุผลหลัก.. ทั้งนี้คนที่มีความสุขกับงานมักรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับงานที่ทำ รู้สึกว่าตัวเองไหลกับสายธารของการทำงาน. แต่มันไม่ใช่ตลอดเวลา แต่ส่วนใหญ่ของเวลา.
คนเหล่านี้คิดว่างานของพวกเขาท้าทาย ต้องพัฒนาตัวเองเสมอ. และทำให้ต้องออกจากความคุ้นชินเดิมๆ บ่อยครั้ง. เขาทำงานเพราะถือเป็นการเข้าสังคมอย่างหนึ่ง ส่วนใหญ่ทำงานในฐานะส่วนหนึ่งของทีม.
แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่รองรับด้วยแนวคิดทางจิตวิทยาเกี่ยวกับการทำงานอย่างหนึ่งคือ หากคุณต้องการให้ใครซักคนทำอะไร คุณต้องเสนอผลตอบแทนที่คุ้มค่าให้กับคนคนนั้น. ซึ่งกล่าวอีกอย่างว่ามนุษย์ปฏิบัติตามแรงจูงใจซึ่งสะท้ายผ่านการให้ "รางวัลและการลงโทษ""
มีการกล่าวว่า เหตุผลเดียวที่คนเราจะทำงานคือ เพื่อผลตอบแทน ซึ่งตราบใดที่ผลตอบแทนเหมาะสม จะเป็นงานใดก็ไม่สำคัญทั้งนั้น.. ดังนั้นเมื่อระบบทุนนิยมได้พัฒนาขึ้น. งานชนิดที่เคยให้ความพึงพอใจในเรื่องอื่นๆจึงถูกละเลย และทดแทนด้วยผลตอบแทนในรูปของตัวเงิน.
สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาคือ งานถูกออกแบบเพื่อตอบสนองแจงจูงใจเฉพาะด้านผลตอบแทน และไม่สนใจกับการทำให้คนงานมีความพึงพอใจ ซึ่งหมายถึงการลิดรอนแหล่งความสุขของมนุษย์ไปด้วย
คำถามต่อมาคือ เราอยู่ในสถานการณ์นั้นหรือไม่และเราจะสามารถปรับปรุงการทำงานได้ ?
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
อ้างอิง "เราทำงานไปทำไม (Why we work)" by Barry Schwartz แปล: ทีปกร วุฒิพิทยามงคล
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น