ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เติมเต็มให้กับการทำงานของคุณ (s.20)


คนทั่วไปมักมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการทำงานที่ถือเป็นช่วงวิเศษอยู่ 3 เหตุการณ์ ได้แก่ (i) วันที่คุณเห็นงานที่คุณอยากทำประกาศรับสมัคร (ii) วันที่คุณได้ตอบรับให้เข้าทำงานดังกล่าว และ (iii) ในช่วงสัปดาห์แรกของการทำงาน.  โดยหลังจากที่คุณทำงานมาได้ระยะหนึ่งความรู้สึกวิเศษที่มีกับงานดังกล่าวก็มักจะจางลงหรือหายไป.

บทความนี้มีเทคนิตปฏิบัติ 8 ข้อ เพื่อแนะนำให้งานที่คุณทำอยู่มีความหมายและน่าสนใจมากขึ้น อีกทั้งยังอาจเติมเต็มให้ความรู้สึกของคุณได้ด้วย

1. อาสาสมัครเข้าร่วมในโครงการใหม่ : องค์กรโดยทั่วไปมักจัดตั้งทีมทำงานเล็กๆ เพื่อผลักดันโครงการหรือแก้ปัญหาอะไรบางอย่าง ซึ่งทีมงานดังกล่าวมักมาจากการขอความร่วมมือจากพนักงานปัจจุบัน. ดังนั้นเมื่อมีโอกาส คุณอาจเสนอตัวเข้าร่วมทำงานในโครงการดังกล่าว แต่ทั้งนี้งานนั้นควรเป็นงานที่สอดคล้องกับทักษะและความสนใจของคุณ.

2. ให้ความช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน : ซึ่งงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าการแสดงความช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานจะช่วยให้รู้สึกเติมเต็มในตัวคุณได้.

3. ให้เวลากับการชื่นชนคนอื่นอย่างมีความหมาย : ในการทำงาน การชื่นชมเพื่อนร่วมงานในที่ทำงานจะไม่มีคำว่ามากเกินไป โดยคนเรามักชื่นชนคนอื่นในที่ทำงานน้อยเกินไป. ทั้งนี้การชื่นชมเพื่่อนร่วมงานจะทำให้คุณมีความรู้สึกที่ดีเช่นเดียวกับการได้รับการชื่นชน. อย่างไรก็ดี การชื่นชมควรสร้างให้เกิดความหมายมากกว่าแค่คำพูดว่า "ขอบคุณ" หรือ "ดีแล้ว" แต่ควรอธิบายว่าอะไรที่เขาทำได้ดี ทำไมถึงมีความแตกต่าง และมันมีผลอย่างไรกับเรา.

4. หาโอกาสในการเรียนเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาทักษะ : บางครั้งอาจเป็นทักษะของคุณมากกว่างานของคุณ ที่จำเป็นต้องพัฒนาเปลี่ยนแปลง. โดยหากองค์กรของคุณมีจัดอบรมภายใน การเข้ารับการอบรมภายในจะยังช่วยทำให้คุณได้มีโอกาสในการรู้จักคนใหม่ๆ ในองค์กรของคุณ ซึ่งจะช่วยให้คุณรู้สึกเติมเต็มและมีความสุขมากขึ้นในที่ทำงาน.

5. แนะนำตนเองกับเพื่อนร่วมงานใหม่และเข้าร่วมกับกิจกรรมทางสังคม : การรู้จักเพื่อนใหม่และข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมจะทำให้คุณรู้สึกผูกพัน และประโยชน์ดังกล่าวจะยังส่งผลดีต่อการทำงานในช่วงเวลางานปกติของคุณให้เกิดความราบรื่นในการติดต่อหรือการได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานอีกด้วย.

6. ปรับสถานที่ทำงานของคุณ : ความสุขของการทำงานเริ่มจากความเพลิดเพลินในสถานที่ทำงานของคุณ. คุณอาจสร้างบรรยากาศโดยการหาของประดับตกแต่งโดยเฉพาะสิ่งของที่ทำให้คุณรู้สึกมีความสุขหรือรู้สึกภูมิใจในบริเวณที่คุณทำงาน.

7. ให้เวลากับการพักผ่อน : การทำงานที่หนักและยาวนานเกินไปสามารถทำให้ความพึงพอใจในงานของคุณลดต่ำลง ซึ่งความไม่ชัดเจนระหว่างเวลาส่วนตัวและเวลางานจะเป็นหนึ่งสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดความเครียดในการทำงานได้.

8. หากิจกรรมยามว่างทำ : ความรู้สึกเติมเต็มในที่บ้าน ในเวลาส่วนตัวสามารถเชื่อมโยงมายังความรู้สึกเติมเต็มในที่ทำงานได้. ดังนั้นคุณควรหากิจกรรมสำหรับตัวคุณในช่วงนอกเวลาทำงานที่ทำให้คุณรู้สึกมีความสุข.

แม้ว่างานปัจจุบันที่คุณทำจะสร้างความเครียดหรือสร้างความเหนื่อยล้า. แต่คุณสามารถปรับปรุงความรู้สึกนั้นได้ด้วยตัวของคุณเอง โดยไม่จำเป็นต้องรอให้สถานการณ์ดีขึ้นด้วยปัจจัยภายนอก. เทคนิคที่ได้กล่าวมานี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้คุณปรับปรุงความรู้สึกดีในการทำงานได้โดยจากตัวคุณเอง และคุณอาจได้พบว่าจริงๆ แล้วงานที่ทำอยู่ในปัจจุบันก็สามารถสร้างความสุขที่เติมเต็มให้กับชีวิตของคุณได้เพิ่มมากขึ้น.

#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business

อ้างอิง: "How to Make the Most of the Job You Already Have" by Joel Schwartzberg

s.20 18-apr-20

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...