คนโดยทั่วไปจะมองงานออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ (1) งานที่สร้างความพอใจไม่ได้มีพอสำหรับทุกคน หรือ (2) งานที่ไร้ความพึงพอใจ เป็นงานที่เราต้องยอมรับเพื่อแลกกับค่าจ้างหรือผลตอบแทนทางวัตถุ. ซึ่งแท้จริงแล้วการมองในลักษณะนี้ไม่ถูกต้องนัก.
มุมมองต่องานที่เหมาะสมกว่า เราอาจแบ่งออกได้เป็น
(1) งานเป็นเครื่องมือหาเลี้ยงชีพ (job) ซึ่งคนที่มีทัศนคติงานในลักษณะนี้มักมองงานว่าคือความจำเป็นในการใช้ชีวิต และทำงานเพื่อเงิน.
(2) งานเป็นอาชีพ (career) ซึ่งคนในกลุ่มนี้มักมีเป้าหมายหลักคือ ความก้าวหน้า โดยมีเป้าหมายคือตำแหน่งที่สูงขึ้นหรือเงินเดือนที่เพิ่มมากขึ้น.
(3) งานเป็นสิ่งที่ใจเรียกร้อง (calling) คนในกลุ่มนี้จะมีความพึงพอใจในงานสูง มีความสุขกับการทำงาน โดยเขาเชื่อว่างานของเขามีประโยชน์ทำให้โลกดีนี้ขึ้น
การแบ่งงานตามข้างต้นจะขึ้นกับความคิดหรือทัศนคติต่องานที่เรามีต่องานนั้นๆ ซึ่งก็คือขึ้นกับ "เรามองงานนั้นเป็นแบบไหน" ไม่ใช่ว่า "งานนั้นคืออะไร" ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่หากเรามีทัศนคติต่องานแล้ว งานประเภทไหนก็สามารถให้ความพึงพอใจกับเราได้ทั้งนั้น.
ทั้งนี้งานทุกงานต่างมีศักยภาพในการมอบความพึงพอใจให้กับผู้คน โดยตัวเราสามารถออกแบบให้มีความหลากหลาย ซับซ้อน พัฒนาทักษะ เติบโตได้ และที่สำคัญสามารถออกแบบงานให้มีความเชี่ยมโยงกับความสุขของคนรอบข้างได้.
การพยายามนำคุณสมบัติที่ดีของงานออกจากจะทำให้เกิดการสร้างวงจรที่เพิ่มพูนขึ้น. โดยเมื่อคนงานค้นพบความหมายในงานและรู้สึกมีส่วนร่วมแล้ว เขาก็ย่อมมีความสุขกับการทำงานมากขึ้น. และเมื่อมีความสุข ก็จะมีอารมณ์เชิงบวก สร้างสรรค์มากขึ้น และพร้อมที่พัฒนาตนเองมากขึ้น.
ดังนั้น แท้จริงแล้ววิธีมาตรฐานที่จัดการจัดการคนงานที่องค์กรทำกันมาอย่างยาวนาน คือ การสร้างแรงจูงใจทางวัคถุ (ค่าจ้าง) และ ตรวจสอบการทำงานอย่างเข้มงวด กลับกลายเป็นการส่งผลลบต่อการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของพนักงาน.
ท้ายสุด ธุรกิจควรเริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนทัศนคติของตนที่มีต่อการทำงานของพนักงาน และสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อให้ง่ายต่อการปรับทัศนคติของพนักงานที่มีต่องานนั้น
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
อ้างอิง "เราทำงานไปทำไม (Why we work)" by Barry Schwartz แปล: ทีปกร วุฒิพิทยามงคล
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น