ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การทำงาน ความเชื่อของผู้จัดการกับการออกแบบที่ทำงาน (s.25)



อดัม สมิท ได้ให้สมมุติฐานว่าโดยทั่วไปแล้วคนเราจะขี้เกียจและทำงานเพียงเพื่อเงิน โดยเชื่อว่าคนเราจะมีการปรับตัวไปตามเงื่อนไขของงาน. อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาความเชื่อนี้กลับพบว่า สิ่งที่เหลือในที่ทำงานคือ การสร้างที่ทำงานที่ดูเหมือนไร้จิตวิญญาณและลดความเป็นมนุษย์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน.

งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้แสดงให้เห็นถึงว่า โดยทั่วไปแล้วคนเรามักไม่คิดว่า "ตัวเอง" ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของแรงจูงใจทางวัตถุ แต่พวกเขากลับคิดว่า"คนอื่นๆ" นั้นตกอยู่ภายใต้แรงจูงใจดังกล่าว.

สิ่งที่น่าประหลาดใจ คือ ได้มีการสำรวจเรื่องความสำคัญของปัจจัยในงานที่ทำโดยให้เลือกจาก ค่าตอบแทน ความมั่นคง เวลาว่าง โอกาสก้าวหน้า และ ความสำคัญของงานที่มีต่อคนอื่น. ซึ่งที่ผ่านมาในอดีตพบว่า "ความสำคัญของงาน" มักจะมาเป็นตัวเลือกแรก โดยกว่า 50% ของผู้ตอบคำถามเลือกเป็นปัจจัยหลักเสมอ. อย่างไรก็ดี ในช่วงปลายยุค 1980s ได้มีการสอบถามเรื่องการที่คุณคิดว่า "ค่าตอบแทน" มีความสำคัญต่อ "คนอื่น" มากแค่ไหน สิ่งที่น่าประหลาดใจคือผู้คนกลับคิดว่าค่าตอบแทนมีความสำคัญต่อคนอื่นๆ ค่อนข้างมาก แต่ไม่ใช่กับตนเอง.

สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า ความเชื่อด้านศึลธรรมของผู้คนนั้นไม่ได้มาจากเหตุผลหรือการสะท้อนความคิดอื่นใด แต่มาจากสัญชาติญาณเบื้องลึกที่ผู้คนไม่ได้รู้ตัว. พวกเขาเชื่อว่าพวกเขาได้คิดอย่างรอบคอบก่อนที่จะตัดสินสิ่งต่างๆ แต่แท้จริงแล้วพวกเขามีจุดยืนก่อนที่จะเริ่มคิดเกี่ยวกับประเด็นนั้นเสียอีก และการครุ่นคิดคือการหาเหตุผลที่ดีมาเพื่อสนับสนุนสิ่งที่เขาเชื่อนั่นเอง.

กระบวนการทางความคิดนี้ยังเกิดขึ้นในที่ทำงาน โดยหากคุณเชื่อว่าคนงานมีความขี้เกียจ และสนใจแต่เงิน คุณย่อมสร้างสภาพการทำงานที่จะเน้นแต่เรื่องประสิทธิภาพ สร้างงานที่ซ้ำซากจำเจและน่าเบื่อ โดยพึ่งพาค่าแรงที่เหมาะสมเพื่อจูงใจคนงานเหล่านั้น.

แนวคิดหนึ่งโดยนักจิตวิทยา แครอล เดว็ก ที่ว่าด้วยเรื่อง mindset ได้กล่าวว่าเราอาจแยกผู้คนตามเป้าหมายการเรียนรู้ที่ตั้งขึ้นได้ โดยบางคนวางเป้าหมายที่ผลลัพธ์ และ บางคนวางเป้าหมายที่ความเชี่ยวชาญ. ทั้งนี้ผู้ที่วางเป้าหมายที่ผลลัพธ์มักต้องการพิสูจน์ความสามารถของตน (แนวคิดแบบคงที่) ในขณะที่ผู้ที่วางเป้าหมายที่ความเชี่ยวชาญมักต้องการเพิ่มพูนความสามารถ (แนวคิดแบบเพิ่มพูน).

ซึ่งแนวคิดที่ว่านี้มีผลต่อการออกแบบการทำงาน ซึ่งขึ้นกับผู้จัดการว่าพิจารณาความสามารถของลูกน้องของตนเป็นแบบคงที่ หรือ แบบเพิ่มพูน. หากผู้จัดการมองว่าความสามารถของลูกน้องเป็นแบบคงที่ เขาจึงไม่มีประโยชน์ที่ต้องพัฒนาความสามารถให้แก่ลูกน้อง สิ่งที่ดีคือการสร้างสภาพการทำงานให้พวกเขาได้ทำงานซ้ำๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพที่สุด.

ดังนั้น หากคุณคิดว่าลูกจ้างไม่มีทักษะการตัดสินใจหรือความสามารถในการพัฒนา คุณก็ย่อมจะตั้งกฎเกณฑ์เพื่อควบคุมการตัดสินใจของพวกเขา. นอกจากนั้นคุณยังจะพยายามตั้งกฎเกณฑ์เพิ่มเติมต่างๆ เพื่อสอดส่องการทำงานเพิ่มเติม และเช่นเดียวกัน หากคุณไม่คิดว่าลูกจ้างมีแรงขับเคลื่อนในการทำงาน คุณก็จะสร้างแรงจูงใจขึ้นมาหลอกล่อให้เขาทำงานมากขึ้น.

ที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่าแนวคิดความเชื่อของผู้จัดการ มีอิทธิพลอย่างมากต่อการออกแบบการทำงาน และส่งผลให้คนทำงานกลายเป็นเครื่องจักรที่ทำงานตามหน้าที่ไร้จิตวิญญาณ หรือ เป็นคนที่พร้อมเพิ่มพูนพัฒนาทางจิตวิญญาณทำงานเพื่อให้เกิดการพัฒนา.

#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business

อ้างอิง "เราทำงานไปทำไม (Why we work)" by Barry Schwartz แปล: ทีปกร วุฒิพิทยามงคล

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...