ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รูปแบบการพูดนำไปสู่อคติของการจ้างงาน (s.26)


งานวิจัยพบว่า เมื่อต้องตัดสินใจในการเลื่อนตำแหน่ง ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทขนาดใหญ่ให้น้ำหนักกับปัจจัยที่ไม่ชัดเจน เช่น "ความเข้ากันกับวัฒนธรรมขององค์กร" มีความสำคัญเท่ากับปัจจัยทางด้านทักษะของการทำงาน. นอกจากนี้หลักเกณฑ์ที่นอกเหนือจากความรู้ ความสามารถ หรือผลงานได้ถูกนำมาใช้ในการพิจารณาจ้างงานระหว่างองค์กร อุตสาหกรรม และทีมผู้บริหารอีกด้วย.

เป็นเวลานานแล้วที่นักจิตวิทยาได้ค้นพบความโน้มเอียงของมนุษย์ที่เกิดจากการที่คนหนึ่งสังเกตพฤติกรรมของอีกคนหนึ่งเพียงช่วงสั้นๆ ซึ่งสังเกตถึงรูปลักษณ์ ท่าทาง ภาษากาย และสไตล์การพูด นำไปสู่การตัดสินลักษณะของคนที่ถูกสังเกตนั้น และทำความเข้าใจว่าคนนั้นเป็นอย่างไร.

ระดับทางสังคมเป็นกระบวนการสร้างการรับรู้ โดยมีงานวิจัยพบกับนักศึกษาระดับปริญญาตรีว่าด้วยการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระยะเวลาเพียง 60 วินาที ระหว่างผู้ที่ไม่รู้จักกัน 2 คน เพียงพอที่จะนำไปสู่การประเมินการรับรู้รายได้ของผู้ปกครองและการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรีนั้น.

ในการศึกษาหนึ่ง โดยให้คนจำนวน 274 คนที่มีประสบการณ์การจ้างงาน และให้พวกเขาฟังคำพูด 25 วินาทีจากผู้สมัครเพื่อรับเข้าตำแหน่งผู้จัดการห้องปฏิบัติการ. การทดลองพบว่าผู้เข้าทดลองรับรู้ถึงสถานะทางเศรษฐกิจและสถานะทางสังคมของผู้สมัครอย่างถูกต้อง และที่สิ่งน่าประหลาดใจมากกว่าคือผู้ทดลองได้ตัดสินผู้ที่เขาคิดว่ามีสถานะต่ำกว่าว่ามีความสามารถน้อยกว่า เหมาะสมกับตำแหน่งงานน้อยกว่า และสมควรได้รับค่าจ้างเริ่มต้นและโบนัสที่ต่ำกว่าผู้สมัครที่เขาคิดว่ามีสถานะที่สูง. สิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้ทดสอบสามารถตัดสินผู้สมัครโดยไม่ได้มีข้อมูลคุณสมบัติอื่นๆ ของผู้สมัครเลย.

จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นได้ว่า แม้แต่ผู้ที่มีประสบการณ์ในการตรวจสอบประวัติและสัมภาษณ์ผู้สมัครงาน จะใช้สัญชาตญาณที่เกี่ยวกับสถานะทางสังคมเป็นกรอบชี้นำถึงทักษะการทำงานที่สำคัญ ซึ่งทำให้เป็นการลดโอกาสของผู้ที่อาจมีทักษะสูง แต่มาจากสถานะสังคมที่ด้อยกว่า.

แนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างหนึ่งคือ การใช้ระบบอัตโนมัติและระบบการเรียนรู้ของเครื่องจักร (machine learning) เพื่อหลีกเลี่ยงอคิของมมุษย์. อย่างไรก็ดีข้อเสียของวิธีดังกล่าวคือ ระบบยังต้องอาศัยคนในการตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จะใช้และเลือกว่าข้อมูลลักษณะใดที่ถือว่ามีคุณค่า. หรืออีกแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาคือ องค์กรยังควรสร้างความมั่นใจและสร้างให้เป็นวัฒนธรรมในการจ้างงานในเรื่องของความหลากหลายในแง่มุมของเชื้อชาติและสถานะทางสังคม.

แม้ว่ากระบวนการทางจิตวิทยาได้สร้างอคติในกระบวนการของการจ้างงานที่จะมีแนวโน้มที่จะเลือกผู้สมัครที่มีสถานะทางสังคมสูงกว่า แต่เราสามารถเอาชนะอคติดังกล่าวด้วยการเข้าใจและยอมรับผู้สมัครที่มีทักษะที่เหมาะสม แต่ท่าทางและน้ำเสียงอาจไม่เหมือนผู้สมัครที่น่าจะถูกจ้าง.

#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business

สรุปจาก "Research: How Speech Patterns Lead to Hiring Bias" by Michael W. Kraus, Brittany Torrez และ Jun Won Park

s.26 25-apr-20

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...