ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2020

โตโยต้า วัฒนธรรมที่เข้มแข็ง (s.93)

  ครั้งนี้เป็นบทความเกี่ยวกับกรณีศึกษาของวัฒนธรรมองค์กรโตโยต้าเป็นกรณีศึกษาในเรื่องทัศนคติและความเชื่อที่ช่วยวางกรอบหลักการในการกำหนดพฤติกรรม โดยสรุปได้คือ . โตโยต้าถือเป็นหนึ่งในองค์กรที่มีวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง โดยสร้างระบบเพื่อวางแนวทางในการทำงานให้แก่พนักงานให้พนักงานมีกระบวนการคิดที่เป็นระบบไปโดยอัตโนมัติ และสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์. ในปี 2001 บริษัทได้มีการสื่อสารอย่างเป็นทางการเพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และกำหนดนโยบายให้พนักงานทั้งหมดได้เรียนรู้เข้าใจในหลักการโดยใช้ชื่อ "วิถีโตโยต้า" (Toyoya Way) โดยมีคำอธิบายที่เข้าใจได้ง่าย คือ  "เราไม่พอใจกับสิ่งที่เป็นอยู่เพราะทุกสิ่งสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้เสมอด้วยความคิดและความพยายามไปข้างหน้า" และ "เรายอมรับนับถือผู้อื่นและเชื่อว่า ความสำเร็จของธุรกิจถูกสรรค์สร้างมาจากความพยายามของพนักงานแต่ละคนและทีมงาน" . ทั้งนี้ วิธีโตโยต้า สามารถแตกออกได้เป็นหลักการ 5 เรื่อง คือ 1. Challenge - กำหนดวิสัยทัศน์ไปข้างหน้าอย่างท้าทาย และมุ่งมั่นทำความฝันให้เป็นจริง 2. Kaizen - ปรับปรุงกระบวนการแ...

ปั้นคนเก่ง ในโลกยุคใหม่ (s.92)

  ครั้งนี้มีเรื่องของการบริหารคน โดยขอสรุปบทความที่คัดมาจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 23 ก.ค.63 ซึ่งหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจได้สรุปองค์ความรู้จากงาน Thailand HR Day 2019 by PMAT โดย คุณภคภัค สังขะสุนทร - Startup Studio Assistant Manager Zero to One Startup Studio by SCG เป็นผู้บรรยาย ภายใต้หัวข้อ How to Enable, Create, and Manage the Talent in the Age to Automation  . คนเก่งในยุคปัจจุบันต้องสามารถใช้งาน "ระบบอัตโนมัติ" ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่ก็จะถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติ โดยคนเก่งต้องมี DNA ที่สามารถตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งต้องมีคุณสมบัติโดดเด่น 5 ด้าน ประกอบด้วย 1. เป็นส่วนหนึ่งของ community ที่มีเครือข่ายที่เข้มแข็ง ทำให้สามารถต่อยอดธุรกิจได้ง่าย รวดเร็ว. 2. มีการเข้าร่วมงาน event เพื่อแชร์ประสบการณ์ต่างๆ เนื่องจากการสอนถือเป็นการเรียนรู้ซ้ำในรูปแบบหนึ่ง 3. มีการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอทั้งในด้านเทคโนโลยีและด้านอื่นๆ 4. กล้าตั้งคำถามที่สมควรถาม และเปิดกว้างต่อความท้าทายรวมทั้งคำถามจากผู้อื่น 5. เข้าร่วมในโครงการที่มีการ...

ปัจจัยทางเศรษฐกิจ อดีต ปัจจุบัน อนาคต (s.91)

  บทความล่าสุดของ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ในเรื่องของเศรษฐกิจได้ให้มุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบันจากผลของ COVID-19 และย้อนกลับไปกล่าวถึงปัญหาผลพวงจากในอดีตที่ยังไม่ได้แก้ไข ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาในอนาคตที่เป็นประเด็นในอนาคต. โดยสรุปได้ดังนี้ . -- ประเด็นทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่เป็นผลจาก COVID-19 -- 1. การท่องเที่ยว - การท่องเที่ยวคิดเป็นมูลค่าประมาณ 18% ของ GDP แต่จากแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีของไทยกำหนดให้สัดส่วนนี้เพิ่มเป็น 30% ในปี 2037  2. แรงงานจากต่างประเทศ - ประเทศไทยมีแนวโน้มที่มีประชากรวัยทำงานของประเทศไทยลดลงจาก 48.5 ล้านคน เหลือเพียง 43 ล้านคนในปี 2035 3. ภาคบันเทิง - เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการรวมตัวกันของผู้คน ซึ่งสะดุดเพราะ COVID-19  4. นักธุรกิจต่างชาติ/การลงทุน - ประเทศไทยต้องพึ่งการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติทั้งในเชิงของทุน เทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญ แต่ปัจจุบันถูกจำกัดไม่ให้เข้ามาในประเทศซึ่งย่อมกระทบต่อการขยายตัว 5. นักศึกษาจากต่างประเทศ - สถาบันการศึกษาประสบปัญหาขาดแคลนนักศึกษาเพราะประชากรกลุ่มนี้ลดลง ส่วนหนึ่งจึงต้องพึ่งพานักศึกษาต่างประเทศซึ่งปัจจุ...

Insight เปิดใจ Gen Z (s.90)

ถึงแม้สถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาทำให้เกิดการ lockdown ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ หยุดชะงัก และผู้คนต้องปรับตัวกับสภาพการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ซึ่งต่างจากการใช้ชีวิตในแบบเดิมเป็นอย่างมาก  อย่างไรก็ดีกลุ่มคน Gen Z ดูเหมือนจะมีปัญหาในเรื่องการปรับตัวดังกล่าวน้อยที่สุด โดยกลุ่มคนดังกล่าวถือเป็นกลุ่มคนที่มีช่วงอายุตั้งแต่ประมาณ 13-23 ปี คิดเป็นประมาณ 30% ของประชากรในประเทศไทย โดยกลุ่ม Gen Z นั้นมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็นอย่างดี.  . มีผลงานวิจัยของนักศึกษาปริญญาโทหลักสูตร Executive MBA ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคในสถานการณ์ช่วงโควิด-19 ของกลุ่มคน Gen Z พบทัศนคติที่น่าสนใจ ดังนี้ . 1. FUN สนุกสุดเหวี่ยงกับกิจกรรมสุดชิค - ขณะที่คนทั่วไปจะรู้สึกเบื่อหน่ายในช่วงที่กักตัวอยู่บ้าน แต่กลุ่ม Gen Z กลับสนุกกับการเรียนออนไลน์และกิจกรรมบันเทิงออนไลน์ต่างๆ เช่น การถ่ายวีดีโอผ่าน TikTok, การปาร์ตี้ผ่าน ZOOM Live, การเข้าคลาสออกกำลังกายออนไลน์ เป็นต้น 2. FREEDOM อิสระมาพร้อมกับคุณค่าของชีวิต - เมื่อการเรียนออกไลน์ทำให้ช...

ทองคำ New High กับ ปัจจัยหนุนราคา (s.89)

  ถึงแม้เศรษฐกิจในปัจจุบันจะยังดูเหมือนมีความแน่นอนค่อนข้างสูง อย่างไรก็ดีเรากลับได้เห็นราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นไปสวนทางกับสภาพบรรยากาศธุรกิจต่างๆ โดยการที่ราคาทองคำสูงขึ้นมานั้น คงไม่ได้มีปัจจัยเฉพาะเรื่องโรคระบาดเพียงอย่างเดียว ซึ่งในครั้งนี้ขอรวบรวมปัจจัยหลักๆ ของการเพิ่มขึ้นของราคาได้ 5 ข้อ ดังนี้ . 1. ความอ่อนแอของเศรษฐกิจในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก ทำให้ธนาคารกลางแต่ละประเทศใช้นโยบายผ่อนคลายการเงินมากขึ้น - การผ่อนคลายรวมไปถึงการอัดฉีดสภาพคล่องเข้ามาในระบบ และ การลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ทองคำกลายเป็นสินทรัพย์ทางเลือกเพื่อการลงทุนที่น่าสนใจมากขึ้น 2. ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ - ความขัดแย้งโดยเฉพาะระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ทำให้เกิดความไม่แน่นอน และส่งผลให้นักลงทุนมองหาสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำที่สามารถรักษามูลค่าเงินลงทุนไว้ได้ในภาวะที่ตลาดมีความผันผวน 3. การแพร่ระบาดของ COVID-19 - ปัจจัยนี้ถือเป็นปัจจัยที่ไม่มีใครคาดคิด การแพร่ระบาดทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักลงทั่วทั้งโลก และทำให้สภาพเศรษฐกิจที่ผันผวนอยู่แล้วแย่ลงไปอีก เกิดการอัดฉีดขนานใหญ่ของธนาคารกลางต่า...

การฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ช่วงครึ่งปีหลัง (s.88)

  แม้ปัจจุบันเริ่มมีการฟื้นตัวของธุรกิจให้ได้เห็นบ้างภายหลังการผ่อนคลายการปิดเมือง โดย Google mobility index ชี้ให้เห็นถึงการที่ผู้คนเดินทางไป grocery ในระดับที่มากขึ้นกว่าช่วงก่อน COVID +4% แต่ยังไปห้างและสถานสันทนาการลดลง -7% หรือกรณีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ -12%  ในขณะที่ข้อมูลของ TripAdvisor พบการฟื้นตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดือน เม.ย. แต่ยังน้อยกว่าเดิมช่วงก่อน COVID ค่อนข้างมาก และการฟื้นตัวนี้เป็นไปแบบกระจุกอยู่ที่ budget hotel และโรงแรมรอบๆ กทม. อย่างไรก็ดีการฟื้นตัวยังมีความเสี่ยงจากความเปราะบาง 3 ด้าน ได้แก่ . 1. แนวโน้มการจ้างงานและรายได้ที่ซบเซา - อัตราการว่างงานภายในระบบประกันสังคมกระโดดมาอยู่ที่ 3.5% ในเดือน มิ.ย. ขณะที่ข้อมูลจาก JobsDB.com แสดงให้เห็นถึงตำแหน่งงานทที่เปิดรับเดือน ก.ค. ลดลงจากช่วงก่อน COVID ถึง -17% ในทุกหมวดธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ ท่องเที่ยว และเครื่องนุ่งห่ม . 2. ปัญหา Debt Overhang ของภาคครัวเรือนจะมีความรุนแรงขึ้น - ความเปราะบางของภาคครัวเรือนตั้งแต่ช่วงก่อน COVID โดยสัดส่วนระดับหนี้ต่อรายได้ครัวเรือนทั้งปีเพิ่มอยู่ที่สูงสุด 99% จากการสำรว...

ชาวมนุษย์ กับ ชาวเศรษฐ์ (s.87)

  แนวคิด "โฮโมอีโคโนมิคัส" (homo economicus) หรือ "มนุษย์เศรษฐศาสตร์" โดยมีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนสามารถคิดและตัดสินใจได้อย่างดีไม่มีข้อผิดพลาดซึ่งจะมีเป็นจำนวนที่เล็กน้อยมาก สอดคล้องกับกับภาพของมนุษย์ที่ตำราเศรษฐศาสตร์เสนอไว้  ในขณะนี้คนทั่วๆ ไปนั้นไม่ได้เป็นมนุษย์เศรษฐศาสตร์แต่เป็น "โฮโมเซเปียนส์" (homo sapiens) หรือเป็นมนุษย์ธรรมดาทั่วไปเท่านั้น . มีงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี ซึ่งทำการศึกษากระบวนการประเมินและตัดสินใจของผู้คน ซึ่งได้ค้นพบคือ ชาวเศรษฐ์ไม่ได้คาดการณ์อย่างแม่นยำโดยสมบูรณ์ เพียงแต่จะคาดการณ์อย่างเป็นกลางโดยปราศจากความเอนเอียง สามารถผิดพลาดได้ แต่เป็นการผิดพลาดที่ไม่มีแบบแผน ไม่สามารถทำนายได้ล่วงหน้า.  ในทางตรงข้าม ชาวมนุษย์มักจะมีการคาดการณ์ในแบบที่สามารถทำนายได้บ่อยๆ . โดยงานวิจัยจำนวนมากยืนยันว่า การคาดการณ์ของมนุษย์เรานั้นเอนเอียงและมีช่องโหว่ รวมถึงการตัดสินใจ โดยมีตัวอย่างหนึ่งคือ "ความยึดติดในสภาพที่เป็นอยู่" (status quo bias) ซึ่งผู้คนโดยทั่วไปมักมีแนวโน้วที่จะยอมรับกับสภาพปัจจุบันหรือค่าเริ่มต้น (default o...

นักออกแบบทางเลือก? (s.86)

  จากหนังสือ Nudge โดย Richard H. Thaler และ Cass R. Sunstein ซึ่งจัดทำและแปลเป็นภาษาไทยโดยสำนักพิมพ์ We Learn  ได้มีการเรียกคนกลุ่มหนึ่งว่า "นักออกแบบทางเลือก" หรือ "Choice Architect) โดยให้ความหมายถึง คนที่มีหน้าที่จัดวางองค์ประกอบต่างๆ ของสภาพแวดล้อมที่จะมีการตัดสินใจเกิดขึ้น . ยกตัวอย่างของโรงอาหารที่มีอาหารให้เด็กในสถานศึกษากินอาหารในแต่ละวัน โดยเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องอาหารมีแนวคิดการทดลองที่จะทดสอบเรื่องที่รายการอาหารถูกสลับตำแหน่ง การตัดสินใจของนักศึกษาจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหรือไม่.  ซึ่งสิ่งที่ค้นพบคือ การแค่เพียงปรับเปลี่ยนตำแหน่งของการจัดวางอาหาร  เจ้าหน้าที่ดังกล่าวก็สามารถเพิ่มหรือลดการบริโภคของอาหารหลายชนิดได้มากถึง 25% ซึ่งแสดงถึงว่าอิทธิพลดังกล่าวสามารถสร้างการชักจูงนักศึกษาเหล่านั้นไปในทางที่ดีหรือร้ายก็ได้. สิ่งที่เจ้าหน้าที่ดังกล่าวสามารถเรียกอีกอย่างได้ คือ "นักออกแบบทางเลือก" . ทั้งนี้การออกแบบใดๆ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้เลยไม่มีอยู่ในโลก ซึ่งรายละเอียดเล็กน้อยที่ดูเหมือนไม่สำคัญสามารถส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของคนเราได้มาก โดยสามารถกล่าวได้ว่า ...

ESG ดี ? (s.85)

  บทความล่าสุดของ รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ คอลัมม์มุมมองใหม่ วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม 2563 ได้กล่าวถึงเรื่อง ESG ในมุมมองของการลงทุนไว้ได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งครั้งนี้ขอจดเก็บบันทึกไว้ โดยมีความสำคัญคือ . มุมมองผลการดำเนินงาน  ในทางวิชาการได้มีการหาความสัมพันธ์ระหว่างผลประกอบการกับการให้ความสำคัญในด้านความยั่งยืน โดยมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก โดยพบว่า 62% ของงานวิจัยกว่า 2,000 ชิ้น พบว่า ESG มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับผลการดำเนินงานด้านการเงินของบริษัท  ขณะที่มีเพียง 10% ที่ปัจจัยทั้งสองเป็นลบ และส่วนที่เหลือไม่พบความสัมพันธ์ . มุมมองการบริหารจัดการ ผู้บริหารที่ให้ความสนใจด้าน ESG มีความเชื่อว่า ESG ที่ดีจะส่งผลทำให้ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ของบริษัทออกมาดี ทำให้สามารถดึงดูดและรักษาบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ ความสามารถได้  นอกจากนี้ยังมีบทความของ McKinsey ที่ได้กำหนดกรอบ ESG ที่ส่งผลดีต่อองค์กร โดยมีแนวทางหลัก 5 ข้อ คือ 1. เพิ่มรายได้ - เนื่องจาก ESG ส่งผลต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ทำให้บริษัทมีโอกาสในการขยายเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ได้มากขึ้น 2. ลดต้นทุน - โด...

3 สิ่งที่ต้องสร้างเพื่อ พลิกธุรกิจ (s.84)

. ได้พบบทความในเว็ปไซด์กรุงเทพธุรกิจ เรื่อง "3 สิ่งที่ต้องสร้างเพื่อ พลิกธุรกิจ ในยุคเศรษฐกิจยาก" ซึ่งเป็นบทความเก่า แต่น่าจะใช้ได้ดีกับช่วงเวลานี้ที่เศรษฐกิจทุกภาคย่อมได้รับผลกระทบจาก Demand ที่หายไป โดยในบทความได้กล่าวถึง 3 ขั้นตอนที่ควรต้องทำในการหาทางออกจากวิกฤต ประกอบด้วย . 1. สร้าง Sense of Urgency เพื่อให้เห็นนรกชัดเจน : การสร้างการรับรู้ในระดับจิตใต้สำนึกว่าตอนนี้อะไรคือสิ่งที่คอขาดบาดตายในธุรกิจ ที่หากทำไม่สำเร็จในระยะเวลาอันสั้น นั่นหมายถึงจุดจบ ซึ่งการสร้างการรับรู้นี้เราอาจต้องพาตัวเองไปฟังความล้มเหลวของธุรกิจอื่นเยอะๆ ไปเห็นว่าคนที่แม้เก่งกว่าเราเขาพลาดอะไร เรื่องเหล่านี้จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เราสร้างการเปลี่ยนแปลง . 2. มอง Need ใหม่ เพื่อให้เห็นอนาคต : ด้วยสภาพที่โลกของเราเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เราต้องหาทางเห็นให้ได้ว่าในโลกที่เปลี่ยนไปแล้วนี้ ความรู้สึกนึกคิดของลูกค้าคุณเปลี่ยนไปอย่างไร และ พวกเขาต้องการอะไรกัน เน้นการทดลองทำ ไม่ใช่แค่เพียงคิดหรือคาดเดาเอาเอง. และเมื่อเราคุ้นเคยกับลูกค้าที่มีพฤติกรรมใหม่ๆ แล้ว เราก็ควรเร่งคว้าโอกาสในการขยายฐานลูกค้า . 3. ...

สร้างสำเร็จในเป้าหมายใหญ่ ด้วยการเริ่มต้นที่นิสัยเล็กๆ (s.83)

  เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงนิสัยของเรา เช่น การลดน้ำหนัก. เรามักตั้งเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่และวาดฝันในการทำตามเป้าหมายนั้นให้เป็นจริง. อย่างไรก็ดี เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่นั้น มักจบลงด้วยความเหน็ดเหนื่อยและยอมแพ้ และในไม่ช้า เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่นั้นก็จะกลับมาสร้างความท้าทายให้กับคุณใหม่เมื่อเวลาผ่านไป. การฝันในสิ่งที่ใหญ่เป็นสิ่งที่ดี แต่วิธีในการพิชิตเป้าหมายนั้นคือ การเริ่มต้นจากสิ่งที่เล็ก หรือนิสัยเล็กๆ. โดยการจะทำสิ่งที่เล็กดังกล่าวจะเริ่มจากการที่เราแตกงานที่ใหญ่ออกเป็นส่วนงานเล็กๆ ที่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ง่าย ซึ่งช่วยให้คุณสามารถทำให้เกิดผลสำเร็จและค่อยๆ รวบรวมผลสำเร็จดังกล่าวต่อเนื่องในระยะยาว และสุดท้ายนิสัยเล็กๆ เหล่านี้จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในเป้าหมายที่ใหญ่ต่อไป. ทั้งนี้ในการบรรลุเป้าหมายเล็กๆ คุณต้องมีการไตร่ตรองอย่างรอบคอบและวางแผนเพื่อให้สอดคล้องกับการบรรลุผลในระยาวยาว. กำหนดนิสัยเล็กๆ ออกมา อย่าพยายามตั้งเป้าหมายที่ใหญ่เกินไป และอย่าคิดว่าเป้าหมายเล็กๆ ไม่มีความหมาย. การตั้งเป้าหมายที่เริ่มจากสิ่งเล็กๆ จะเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย ซึ่งจะช่วยกระ...

ลงมือทำ เพื่อปรับเปลี่ยนนิสัย (s.82)

  ความถี่ในการทำพฤติกรรมใหม่ คือ ปัจจัยสำคัญในการสร้างนิสัย  และปัจจัยที่สำคัญเป็นอันดับสองในการสร้างนิสัย คือ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีต่อพฤติกรรมนั้นๆ  . ปรากฏการณ์หนึ่งในทางจิตวิทยาเรียกว่า "การเพิ่มการผูกมัด" (escalation of commitment) ได้กล่าวถึง การที่คนเรายิ่งทุ่มเทเวลาและความพยายามให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเท่าไหร่ พวกเขาก็ยิ่งประเมินค่ามันสูงขึ้นเท่านั้น  ทั้งนี้คนเราที่เป็นผู้ลงแรงปรับเปลี่ยนมักจะประเมินค่าผลงานของตัวเองสูงกว่าคนอื่นรอบๆ ที่ไม่ได้ลงแรง . การกระทำในอดีตนั้นมักจะมีผลต่อการกระทำในอนาคต ซึ่งโดยทั่วไปเรามักคิดว่าตัวเองมีอิสระในการเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งในแบบที่เราต้องการ และคิดว่าการตัดสินใจของเราไม่ได้รับอิทธิพลจากการกระทำในอดีต แต่ความจริงแล้วการศึกษาหลายครั้งได้เผยให้เห็นว่าอดีตของเราเป็นเครื่องทำนายอนาคตได้อย่างยอดเยี่ยม . มีความขัดแย้งอีกแบบหนึ่งซึ่งมีผลกับการเปลี่ยนนิสัยซึ่งนักจิตวิทยาเรียกว่า "ความไม่ลงรอยทางความคิด" (cognitive dissonace) ซึ่งอธิบายถึง การหลีกเลี่ยงความไม่ลงรอยทางความคิดที่เกิดจากการไม่ชอบสิ่งที่คนอื่นดูจะชื่นชอบ เราจะค่อยๆ ...

ความสุขของแต่ละวัย กับ แรงจูงใจเบื้องหลัง (s.81)

  บทความในกรุงเทพธุรกิจ วันที่ 14 ก.ค.63 คอลัมม์มองมุมใหม่ โดย รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ เรื่อง "นิยามความสุขของแต่ละวัย" ได้ให้มุมมองข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ คนแต่ละวัยจะมีวิธีการในการแสวงหาความสุขเพื่อชดเชยกับช่วงโควิดที่ผ่านมา ด้วยรูปแบบและวิธีที่แตกต่างกัน จึงอยากสรุปมาจดเก็บบันทึกไว้ ดังนี้ . คนช่วง "วัยรุ่น รวมถึงวัยทำงานช่วงต้น" - โดยคนในช่วงอายุดังกล่าวมักจะเป็นการได้ออกไปทำในสิ่งที่ท้าทาย แปลกใหม่ เจอคนใหม่ๆ.  ในขณะที่ "คนช่วงวัยกลางคน" มักจะเป็นการได้อยู่กับครอบครัว การนั่งดูหนัง หรืออ่านหนังสืออย่างสงบที่บ้าน หรือการได้พบเจอ กินข้าว ออกกำลังกายกับเพื่อนฝูงที่ไม่ได้เจอกันมานาน . สำหรับคนช่วง "เมื่อเจริญวัย" ซึ่งมีอายุมากขึ้น นิยามของความสุขก็จะค่อยๆ มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการไปพร้อมๆ กับวัย กิจการหลายๆ ประการที่เคยทำแล้วมีแล้วความสุขดังเช่นวันรุ่นหรือวันทำงานก็มักจะไม่ได้นำไปสู่ความสุขเหมือนในอดีต  อย่างไรก็ดี ในลักษณะนี้จะไม่ได้หมายความว่าความสุขของคนวัยนี้จะลดน้อยลง แต่เป็นเพราะนิยามของความสุขนั้นแตกต่างกันตามวัย . มีนักจิตวิทยาทางด้านสังค...

การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ กับ โควิด-19 (s.80)

  ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้เขียนบทความที่ได้ให้มุมมองที่น่าสนใจในเรื่อง "สถานการณ์โควิด-19: การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ" โดยได้วิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19 ในครั้งนี้  จึงขอจดเก็บบันทึกไว้ ดังนี้ . 1. ความสะอาดและสุขอนามัยถูกคำนึงถึงเป็นอันดับแรก - ประสบการณ์ในด้านสุขภาพและมาตรฐานด้านสุขอนามัยจะถูกพิจารณามายิ่งขึ้น  โดยธุรกิจต้องสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค เช่น การตรวจสอบมาตรฐานและมีการสื่อสารแนวปฏิบัติที่ดีชัดเจน  ในขณะที่บางธุรกิจอาจต้องปรับรูปแบบการให้บริการให้มีความปลอดภัยมากขึ้น เช่น สปา แท็กซี่ เป็นต้น . 2. ต้นทุนและความเสี่ยงในการทำธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น - กฎระเบียบใหม่ทำให้เกิดต้นทุนต่อผู้ประกอบการที่มากขึ้น ในขณะที่รายได้จากการขายมีแนวโน้มที่ลดลงเพราะมีการจำกัดผู้ใช้บริการ  ดังนั้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องควบคุมและลดต้นทุนในสิ่งที่ไม่จำเป็นให้มากที่สุด หรืออาจปรับขนาดองค์กร ลดคน เป็นต้น . 3. ที่ตั้งธุรกิจกระจายตามบ้าน (Business based housing) มากขึ้น - หน่วยการผลิตหรือศูนย์กลางธุรกิจมีแนวโน้มไม่กระจุกตัวตาม...

โควิด-19 กับ FDI (s.79)

บทความหนึ่งของ SCB EIC ได้กล่าวถึงผลกระทบของ covid-19 ที่มีต่อ FDI ไว้ได้น่าสนใจ โดย FDI นี้คือการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ ซึ่งการลงทุนดังกล่าวถือได้ว่าเป็นส่วนที่กระตุ้นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญส่วนหนึ่งของประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา โดย UNCTAD ได้คาดว่า Global FDI จะลดลงประมาณ 30-40% ในปีนี้ โดยมีเหตุผลสำคัญ 3 ประการ ครั้งนี้จึงขอจดเก็บบันทึกไว้ สรุปดังนี้ . 1. มาตรการปิดเมืองทำให้โปรเจคการลงทุนประสบความล่าช้าหรืออาจโดนยกเลิก - UNCTAD พบว่าโครงการการเงินทั่วโลกในเดือน เม.ย. ลดลงประมาณ 40% จากค่าเฉลี่ยรายเดือนในปี 2019 โดยส่วนใหญ่เป็นการหดตัวจากโครงการการเงินในประเทศกำลังพัฒนา สะท้อนถึงแนวโน้มการหดตัวของโปรเจคการลงทุนในปีนี้ . 2. เศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะถดถอยทำให้บริษัทมีกำไรลดลงหรือบางบริษัทอาจมีความจำเป็นที่ต้องปิดกิจการ จึงทำให้เม็ดเงินลงทุนมีแนวโน้มลดลงมาก - โดย Multinational Enterprises (MNEs) ชั้นนำ 5,000 แห่ง ได้มีการปรับการคาดการณ์กำไรในปี 2020 จะลดลงมากถึง 36% . 3. หลายประเทศมีแนวโน้มถอนฐานการผลิตกลับประเทศของตนเอง - การใช้มาตรการปิดเมืองทั่วโลกเพื่อควบคุมการระบาดของ covid-1...

แนวคิดวิกฤตสิ่งแวดล้อม (s.78)

. รศ.วิทยากร เชียงกูล ได้ลงบทความในกรุงเทพธุรกิจ วันที่ 13 ก.ค.63 ในคอลัมม์ปฏิรูปประเทศไทย เรื่องบทความว่า "แนวคิดวิกฤตสิ่งแวดล้อมของ ฟริตจอฟ คาปร้า" ซึ่งถึงแม้เริ่มแรกจะฟังเหมือนเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ดูน่าเบื่อ แต่เนื้อหาของบทความได้ผูกโยงแนวคิดที่น่าสนใจไว้ชวนให้ขบคิด ครั้งนี้จึงความจดเก็บบันทึกไว้ โดยมีสรุปได้ดังนี้ . ฟริตจอฟ คาปร้า เป็นนักฟิสิกส์ และนักคิดเชิงระบบองค์รวม ได้เขียนหนังสือเรื่อง The Systems Views of Life : A Unifying Vision วิเคราะห์ทัศนะทางวิทยาศาสตร์ ชีวิตและสังคม เชื่อมโยงกับปัญหาระบบนิเวศ รวมถึงวิกฤตระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม . คาปร้า เสนอว่าการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ในยุโรปเมื่อ 300 ปีที่แล้ว ทำให้มนุษย์มองชีวิตธรรมชาติแบบกลไกอย่างแยกเป็นส่วนย่อยๆ ว่าประกอบด้วยธาตุ โมเลกุลต่างๆ ที่อยู่ได้ด้วยตนเอง ไม่เกี่ยวข้องกับความคิดจิตใจ  . อย่างไรก็ดี คาปร้ามองว่าเราควรมองชีวิตและสิ่งต่างๆ ในโลกแบบเป็นกระบวนการ แบบมีความสัมพันธ์เชื่อมโยง พึ่งพากันและกันอยู่เป็นประชาคม โดยประชาคมในระบบธรรมชาติจะพยายามสร้างความสมดุลอย่างมีพลวัต ภายใต้บริบทของสถานที่ กาลเวลา...

6 คุณสมบัติของการเป็นผู้นำที่ดี (s.77)

ในคอลัมม์คุยเรื่องคน หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 13 ก.ค.63 โดย อ.อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา ได้กล่าวถึง "6 คุณสมบัติของการเป็นผู้นำที่ดี" ไว้ได้อย่างน่าสนใจ และเป็นข้อสรุปสั้นๆ ให้สามารถนำไปคิด นำไปใช้งานได้อย่างไม่ต้องปรุงรสเพิ่มเติม  ครั้งนี้จึงขอนำมาสรุปจดเก็บบันทึกไว้เพื่อเป็นประโยชน์ ดังนี้ . 1. เป็นคนดี : มีความซื่อสัตย์สุจริต รักษาคำพูด มีคุณธรรมและจริยธรรม 2. เป็นคนเก่งงาน : มีความรู้ในงานที่ทำ เช่น ทำงานบัญชีก็ต้องมีความรู้เรื่องบัญชี และมีทักษะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้วย 3. เป็นคนเก่งคน : สามารถโน้มน้าว จูงใจ และบริหารคนที่มีความแตกต่างหลากหลาย ให้ทำงานร่วมกันได้ 4. เป็นคนเก่งตน : สามารถบริหารจัดการและควบคุมอารมณ์ตนเองได้ (EQ) สามารถวางแผนและจัดลำดับความสำคัญของงานที่ตนรับผิดชอบอยู่ได้ดี มีระเบียบ บริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น 5. เป็นคนเก่งคิด : มีวิสัยทัศน์ มีความสามารถในการมองเห็นแนวโน้มต่างๆ ได้อย่างชัดเจน สามารถในเชิงความคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาและตัดสินใจ เป็นต้น 6. เป็นคนเก่งเปลี่ยนแปลง : สามารถผลักดันและนำการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ยึด...

เปลี่ยนนิสัยให้น่ารัก (s.76)

  . ดร.โรเบิร์ต เอ็ปสไตน์ ได้ลงบทความในนิตยสารไซโคโลจีทูเดย์ ซึ่งกล่าวถึงการที่คนเราอาจเปลี่ยนนิสัยขี้เกียจหรือนิสัยตามใจตัวเองบางอย่างที่ไม่ดีให้หายได้ โดยการสร้างเงื่อนไขมากระตุ้นตนเอง ซึ่งมี 3 วิธีใหญ่ๆ ดังนี้ . 1. เปลี่ยนสภาพแวดล้อม : ยกตัวอย่างในเรื่องนี้ เช่น การที่คุณมีความคิดที่อยากจะเขียนหนังสือ แต่คุณไปอยู่ในร้านอาหารเสียงดังหรือในผับบาร์ ซึ่งมีเสียงดังรวมถึงแสงสีวูบวาบ ซึ่งในสถานแบบนี้ ถึงคุณอย่างเขียนอย่างไร แต่ก็คงเป็นเรื่องยากที่คุณจะสามารถเขียนหนังสือออกมาได้ . 2. กำกับพฤติกรรมตนเอง : วิธีนี้ยกตัวอย่างเช่น การรักษาน้ำหนักของตนเอง วิธีการรักษาน้ำหนังของตนเองอย่างหนึ่งคือการชั่งน้ำหนักของตนเองทุกวัน โดยหากน้ำหนักเกินที่กำหนดไว้ วันนั้นก็จะงดอาหารหรือลดปริมาณอาหารที่กินลง ซึ่งคนที่พยายามกำกับพฤติกรรมของตนเองในลักษณะนี้มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็ขในการเปลี่ยนนิสัยของตนเองได้  ทั้งนี้การให้รางวัลและการลงโทษตัวเองเป็นเทคนิคทางจิตวิทยาอย่างหนึ่ง ทางจิตวิทยาถือว่ามนุษย์เราถ้ามีแรงกดดันเล็กๆ น้อยๆ จะทำให้เรามีแรงขับที่จะทำในสิ่งนั้นๆ ได้เต็มศักยภาพมากขึ้น  . 3. ส...

ออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการด้วยรูปแบบรางวัลแบบคาดเดาไม่ได้ (s.75)

. รางวัลแบบคาดเดาไม่ได้ ทำให้กิจกรรมในสมองส่วนนิวเครียส แอ็กคัมเบนส์ และระดับสื่อประสาทโดพามีนเพิ่มขึ้น ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นคือ เราจะกระหายที่จะแสวงหารางวัลมากขึ้น. รางวัลแบบคาดเดาไม่ได้ดังกล่าวอาจพบได้ในผลิตภัณฑ์และประสบการณ์ทุกรูปแบบที่เหนี่ยวความสนใจของเรา โดยแบ่งรางวัลแบบคาดเดาไม่ได้ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ พวกพ้อง, การล่า, และ ตัวเอง . 1. รางวัลในรูปแบบของพวกพ้อง : เป็นรางวัลทางสังคมได้รับแรงผลักดันจากความเชื่อมโยงระหว่างเรากับคนอื่น. เราแสวงหารางวัลที่ทำให้เรารู้สึกถึงการยอมรับ น่าดึงดูด เป็นคนสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม. มีนักจิตวิทยานาม อัลเบิร์ต แบนดูรา ตั้ง "ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม" ขึ้นโดยสรุปว่า คนที่สังเกตเห็นใครซักคนได้รับรางวัลจากพฤติกรรมบางอย่างย่อมมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะปรับเปลี่ยนความเชื่อและพฤติกรรมของตนเองให้เวลาต่อมา . 2. รางวัลในรูปแบบของการล่า : การแสวงหาทรัพยากรเป็นตัวกำหนดรางวัลแบบคาดเดาไม่ได้ประเภทของรูปแบบการล่า โดยความต้องการที่จะได้รับวัตถุต่างๆ เช่น อาหารและสิ่งของที่ช่วยให้เราอยู่รอด เป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการของสมอง. จากเดิมที่เราเคยล่าสั...

COVID-19 ซ้ำเติมแรงงานคนรุ่นใหม่มากกว่าผู้ใหญ่รุ่นก่อน (s.74)

บทความจาก SCB EIC ในเรื่อง "Lockdown generation: COVID-19 ซ้ำเติมแรงงานคนรุ่นใหม่มากกว่าผู้ใหญ่รุ่นก่อน" ได้เปิดเผยมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับแรงงานที่ต่าง generation กัน โดยเฉพาะ generation ที่เข้าสู่ระบบทำงานในปัจจุบันว่าจะมีช่องว่างระหว่างทางรายได้ที่จะยิ่งห่างจาก generation ก่อน อันมาจากผลของโควิด-19 ซึ่งขอนำมาจดสรุปเก็บบันทึกไว้ดังนี้ . ผลกระทบของวิกฤตนี้ ทำให้แรงงานบางส่วนต้องถูกเลิกจ้างหรือถูกลดค่าแรงในช่วงเวลาวิกฤติ COVID-19 ซึ่งวิกฤติครั้งนี้ส่งต่อตลาดแรงงานเป็นวงกว้างและรุนแรงกว่าวิกฤติการเงินในปี 2008 โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ (อายุ 15-24 ปี) หรือ Generation Z ที่เพิ่งเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ไม่นานถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดที่จะถูกเลิกจ้างและหางานใหม่ได้ยากในช่วงวิกฤติ ซึ่งส่งผลข้างเคียงต่อเนื่องไปถึงระยะยาวผ่านรายได้ที่ลดลงกว่าคนรุ่นก่อน . ทั้งนี้ วิกฤติ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อแรงงานคนรุ่นใหม่ผ่าน 3 ช่องทาง ดังนี้    1. สร้างอุปสรรคในการเรียนรู้และการฝึกงาน -  ผู้ที่อยู่ในระบบการศึกษาส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถเข้าถึงการเรียนรู้แบบออนไลน์หรือระบบทางไกลอาจขาดทัก...

ครึ่งปีหลัง 2563 กับเรื่องสำคัญที่ต้องจับตา (s.73)

. โควิด-19 แม้จะยังคงอยู่กับเราอยู่อีกระยะหนึ่ง ซึ่งข่าวโควิด-19 เรียกได้ว่าแทบจะกลบข่าวอื่นๆ ออกไปและคงเหลือแต่ข่าวการแพร่ระบาดปรากฏอยู่ตามสื่อต่างๆ แทบทุกวัน. ครั้งนี้ ได้พบปฏิทินเศรษฐกิจโลก ปี 2020 ในหนังสือ OUTLOOK Quarter 2 โดย SCB EIC ซึ่งดูแล้วน่าจะเป็นเรื่องที่อาจกำหนดทิศทางเศรษฐกิจและสภาพสังคมของโลกไปในอนาคตในช่วง 4 ปีข้างหน้า จึงขอนำมาจดเก็บบันทึกไว้ โดยมีลำดับช่วงเวลาสำคัญ ดังนี้ . · 9-10 มิ.ย. การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) พร้อมกับการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐ · 13-16 มิ.ย. การปะชุมใหญ่ของพรรคเดโมแครตเพื่อเสนอผู้เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคเดโมแครต · 30 มิ.ย. เส้นตายสำหรับสหราชอาณาจักรในการขอขยายระยะเวลาสำหรับการเจรจา FTA ระหว่างUK-EU ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคมนี้ · ส.ค. มุมมองต่อเศรษฐกิจและทิศทางนโยบายการเงินของโลกของผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจทั่วไลก (Jackson Hole Economic Policy Symposium) · 24-27 ส.ค. การประชุมใหญ่ของพรรครีพับลิกันเพื่อเสนอผู้เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรครีพับลิกัน · 15-16 ก.ย. การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหร...

Agile vs Waterfall ในธุรกิจ (s.72)

  . คอลัมมในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 8 ก.ค. 63 มีเรื่องที่น่าสนใจโดย บลูบิค กรุ๊ป ซึ่งสรุปการเปรียบเทียบการทำงานในแบบ Agile ซึ่งเป็นคำที่เป็นกระแสในช่วงนี้ กับการทำงานแบบ Waterfall ซึ่งเป็นรูปแบบการทำงานที่องค์กรส่วนใหญ่ทำกันมาอย่างยาวนาน โดยมีความแตกต่างกันดังนี้ . ✅ รูปแบบทีม (Team) - Agile: ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมานั่งทำงานด้วยกัน (cross functional, colocated)    Waterfall: แต่ละฝ่ายทำงานแยกส่วนกัน (department-based) - Agile: ทีมมีอำนาจในการตัดสินใจด้วยตนเอง (autonomous)    Waterfall: หัวหน้าแผนกแต่ละแผนกจะตัดสินใจในเรื่องที่เป็นขอบเขตของตนเอง - Agile: ทีมถูกแต่งตั้งเพื่อโครงการโดยเฉพาะ (dedicated)    Waterfall: โครงการใช้บุคลากรที่แต่ละแผนกส่งมา ซึ่งอาจจะต้องรับผิดชอบงานอื่นด้วย . ✅ รูปแบบกระบวนการ (Process) - Agile: กำหนดเป้าหมายระยะสั้นและส่งมอบงานทีละชิ้นเล็กๆ    Waterfall: วางแผนการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบในรอบเดียว - Agile: แบ่งการทำงานเป็นหลายๆ รอบ (sprint)   Waterfall: ทำงานให้เสร็จทีละชิ้น (stage) โดยไม่...

สร้างวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับคุณค่าของพนักงาน (s.71)

ผู้สมัครงานจะหาสถานที่ทำงานที่ซึ่งพวกเขาสามารถประสานความเชื่อร่วมกับบริษัท และสามารถทำงานที่มีความคล้ายกันในเรื่องของวิสัยทัศน์ของเป้าหมายและความสำเร็จ. ซึ่งปัจจุบันพนักงานส่วนใหญ่จะมีความคาดหวังที่สูงเกี่ยวกับนายจ้าง ซึ่งความคาดหวังนั้นมากไปกว่าเพียงการได้รับเงินเดือนในแต่ละเดือนเท่านั้น . จากผลสำรวจของ LinkedIn พบว่าพนักงานจะยอมรับเงินเดือนที่น้อยลง (65%) และงานในตำแหน่งงานที่ชื่อตำแหน่งแสนจะธรรมดา (26%) มากกว่าการทำงานในสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่แย่.  ทั้งนี้ แม้ว่าวัฒนธรรมในแต่ละองค์กรจะแตกต่างกันไป แต่พื้นฐานของการที่จะช่วยให้วัฒนธรรมเจริญเติบโต สร้างความมีส่วนร่วมของพนักงาน ให้ความรู้สึกถึงการมีคุณค่าและรับรู้ว่ามีคนฟังนั้น เป็นเป็นสิ่งที่เป็นหน้าที่ของผู้นำที่ต้องเข้ามาจัดการ . ผู้นำขับเคลื่อนวัฒนธรรมอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ? แม้ว่าผู้นำองค์กรส่วนใหญ่ยอมรับว่าสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีในที่ทำงานมีผลกระทบต่อการมีส่วนร่วม และทำให้เกิดการห่างเหินของพนักงานกับองค์กร  อย่างไรก็ดี เมื่อสอบถามกับพนักงานพบว่ามีถึง 45% ที่รู้สึกว่าผู้นำในองค์กรไม่ได้มีความพยายามในการพัฒนาปรับปรุงวัฒน...

Media Trend กระแสหลังจบโควิด (s.70)

บทความเรื่อง "จับตา Media Trend อะไรเป็นกระแสหลังจบโควิด-19" โดย ดร.อาภาภัทร บุญรอด ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 6 ก.ค. 63 ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของการเสพสื่อที่เกิด Trend ใหม่ขึ้นมามากมายในช่วงโควิด-19 นี้ ซึ่งหลาย Trend มีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อเนื่องแม้จะผ่านช่วงเวลาวิกฤตในครั้งนี้ไปแล้วก็ตาม โดยขอนำ Trend ต่างๆ มาสรุปจดเก็บบันทึกไว้ . 1. Online กลายเป็น Mainsteam - ผู้คนใช้สื่อ Online มากขึ้น เพราะมีความยืดหยุ่น Personalization ได้เยอะ ขณะเดียวกัน digital ecosystem ของประเทศไทยก็มีการพัฒนาไปมาก อย่างไรก็ดี แม้ว่ากลุ่มคน Gen X และ Baby boomer จะใช้ Online จะเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังคงใช้สื่อทีวีเป็นหลัก ธุรกิจจึงยังอาจไม่สามารถทิ้งสื่อทีวีไปได้เสียทีเดียว . 2. Platform บริการ Podcast/Audio Streaming มีการเติบโตต่อไป - ทั้งนี้คนไทยมีพฤติกรรมที่ชอบการฟังมากกว่าการอ่านทำให้เข้ากับ lifestyle เป็นอย่างดี อีกทั้งเทคโนโลยีเสียงช่วยให้เกิด emotional connection ซึ่งสำคัญมากขึ้นเวลาที่เราไม่สามารถใกล้ชิดหรือพูดคุยกันแบบตัวต่อตัว . 3. e-commerce จะเป็นส่วนหนึ่งของ customer journey...

5 เมกะเทรนด์ หลังโควิด-19 (s.69)

  บทความในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ 5-8 ก.ค. 63 เรื่อง "เมกะเทรนด์รับวิถีใหม่ กระทบธุรกิจต้องเร่งปรับตัว" ได้กล่าวถึงมุมมองของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังวิกฤตโควิด-19 จาก 5 เมกะเทรนด์ โดยคุณสุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและ CEO บริษัท ซีเมนส์ อินดัสเทรียล ซึ่งถือเป็นมุมมองที่น่าสนใจ โดยขอนำมาสรุปจดเก็บบันทึกไว้ . 1. Urbanization - ผู้คนจะมีการอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองมากขึ้น 2. Digitalization - Digital Transformation ในอุตสาหกรรมสู่ Industry 4.0 3. Globalization - การค้าขายหรือโลกไร้พรมแดน 4. Demographic Change - อายุเฉลี่ยของประชากรจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในอนาคตคนอาจมีอายุมากกว่า 100 ปี 5. Climate Change - สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป . ทั้งนี้ Megatrend ที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น หากธุรกิจสามารถคาดการณ์และเตรียมตัวการเปลี่ยนแปลง โดยปรับให้เข้ากลยุทธ์ของบริษัท  ธุรกิจดังกล่าวย่อมได้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป. ในทางกลับกันหากบริษัทวางกลยุทธ์ที่ขัดกับแนวโน้มใหญ่ของสภาพแวดล้อมทางสังคมที่จะเกิดขึ้น ธุรกิจดังกล่าวก็อาจเหนื่อยและใช้ความพยายามมากกว่าธุรกิ...

สำรวจงานใหม่ในวัฒนธรรมที่แตกต่าง (s.68)

  วันนี้ขอแนะนำบทความที่แนะนำกลยุทธ์ 4 ข้อ ที่ช่วยให้คุณสามารถปรับตัวเข้าสู่สภาพแวดล้อมวัฒนธรรมของที่ทำงานใหม่. เพื่อให้การทำงานของคุณเป็นไปได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ. ขอความคิดเห็นก่อนที่จะเสนอของคุณเอง ในการทำงานในสภาพแวดล้อมวัฒนธรรมใหม่ คุณอาจได้รับการสรุปแนะนำสิ่งที่ต้องรู้ รวมถึงสภาพการทำงานในองค์กรจากผู้บริหาร หัวหน้างาน หรือหน่วยงานบุคคล. อย่างไรก็ดี คุณไม่ควรที่จะพึ่งพิงกับข้อมูลที่คุณได้รับมาเพียงแหล่งเดียว. ซึ่งข้อมูลที่มาผู้บริหาร หัวหน้างาน หรือหน่วยงานบุคคล มักจะมีอคติและมีจุดบอดที่ไม่สามารถสะท้อนเรื่องราวภายในขององค์กรได้ทั้งหมด เช่น การแบ่งก๊กแบ่งเหล่าภายในองค์กร หรือ สภาพการเมืองในองค์กรนั้นที่มีต่อหน่วยงานหรือทีมงาน. ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่คุณควรมีโอกาสพบปะเป็นรายบุคคลและทีมงาน กับเพื่อนร่วมงานหรือพนักงานในหน่วยงานของคุณ เพื่อให้สามารถประเมินสภาพแวดล้อมที่คุณอาจไม่ทราบดีพอ. เข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงมีขีดจำกัด สิ่งที่มักเป็นจุดผิดพลาดของผู้นำใหม่หรือพนักงานใหม่ในองค์กร ซึ่งมักต้องการที่จะรีบเร่งพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรเพื่อสร้างผลงานให้เป็นที...

5 สิ่งที่มนุษย์เงินเดือนควรมอง หลัง โควิด-19 (s.67)

  บทความใน Posttoday website วันที่ 3 ก.ค. เรื่อง "5 สิ่งที่มนุษย์เงินเดือนควรมองการณ์ไกลหลังจบโควิด-19" เป็นบทความสั้นๆ แต่ให้แง่คิดน่าสนใจสำหรับคนทำงานกินเงินเดือนซึ่งเมื่อก่อนเราอาจมองข้ามมัน แต่ครั้งนี้น่าจะทำให้เรากลับมาพิจารณากันมากขึ้น โดยอยากขอสรุปนำมาจดเก็บบันทึกไว้ . ✅ เงินสำรองฉุกเฉิก - สิ่งไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้เสมอ เงินสำรองฉุกเฉินจึงสำคัญมาก โดยอย่างน้อยควรมีประมาณ 3 เท่าของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน และหากให้มั่นนใจการมีถึง 6 เดือน หรือมากกว่านั้นจะยิ่งดีขึ้นไป  ✅ บ้าน คือ การลงทุนที่คู่ควร - แม้บ้านจะถือเป็นหนี้ก้อนใหญ่ที่สุดในชีวิตคนส่วนใหญ่ แต่การที่เราอาจต้องใช้ชีวิตอยู่กับบ้านมากขึ้นกว่าเดิม ความสำคัญของบ้านก็เพิ่มขึ้นมาทันที ซึ่งอย่างน้อยเรายังมีบ้านพักอาศัยอยู๋เป็นหลักแหล่ง ✅ ลงทุนในความรู้มากขึ้น - จากวิกฤตที่เกิดทำให้เราควรมีความรู้มากกว่าหนึ่งอย่าง เพื่อต่อยอดการทำงานให้กว้างไกลมากขึ้น และอาจใช้ในยามจำเป็นเมื่อความรู้หลักไม่ได้เป็นที่ต้องการในขณะเวลานั้น ✅ สุขภาพแข็งแรงเป็นสิ่งที่สำคัญ - เราควรปรับพฤติกรรมของตนเองเพื่อให้ใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้น เช่น ออกก...

ReSkill ของหน่วยงาน HR ? (s.66)

  พบบทความน่าสนใจเรื่อง "งาน HR กับการ Reskill" โดยกลุ่มงานทรัพยากรบุคคล ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 1 ก.ค. 63 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการ Reskill ของหน่วยงาน HR. ซึ่งเมื่อเราพูดถึงการ Reskill แล้ว น้อยคนนักที่จะคิดถึงหน่วยงาน HR แต่ในบทความได้ให้มุมมองที่น่าสนใจอย่างมาก จึงขอสรุปเรื่องที่ควร Reskill ของหน่วยงาน HR ในด้านต่างๆ มาจดเก็บบันทึกไว้ ดังนี้ . ✅ Marketing & Branding Skill - มุมมองของ HR ถือได้ว่างาน Marketing หรือ Branding เป็นงานที่สำคัญงานหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการสรรหาและว่าจ้าง การดูแลพนักงาน และรวมถึงการพัฒนาในองค์กร เป็นต้น . ✅ Digital & Technology Skill - ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงหน่วยงาน HR ด้วยเช่นกัน . ✅ Data Analytic Skill - การนำข้อมูลที่มีมาใช้ประโยชน์ในการทำงานด้าน HR จะทำให้เราสามารถบริหารจัดการบุคลากรได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการดูแลพนักงานในปัจจุบัน หรือการเพิ่ม Productivity เช่น การบริหารอัตรากำลังได้อย่างเหมาะสม . ✅ Business Skill - HR ควรมีความเข้าใจป...

หยวนดิจิตอล (s.65)

  ระยะนี้เรามักได้เห็นข่าวคราวของสกุลเงินหยวนที่รัฐบาลจีนจะออกมาในรูปของสกุลเงินดิจิตอลกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งต้องถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจและทำความเข้าใจกัน เพราะอาจเป็นสกุลเงินหลักสกุลหนึ่งของโลกในอนาคตได้ จึงขอสรุปมาจดเก็บบันทึกไว้ . ✅ เงินสกุลหยวนดิจิตอลไม่ใช่เงินสกุลใหม่แต่อย่างใด แต่เป็นเพียงเงินในรูปแบบที่เป็นดิจิตอลไม่ได้เป็นกระดาษธนบัตรอย่างที่เราคุ้นเคย โดยรัฐบาลจีนได้เริ่มศึกษาเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 2014 โดยต่อมาปี 2016 ได้มีการก่อตั้งสถาบันวิจัยเงินดิจิตัล (Digital Currency Research Institute) เพื่อเน้นย้ำถึงความตั้งใจ ✅ ปี 2017 ในขณะที่กระแสเงินดิจิตอลได้พุ่งขึ้นสูง และได้รับความสนใจจากทั่วทุกมุมโลก  รัฐบาลจีนได้มีความกังวลถึงผลกระทบในวงกว้างที่อาจเกิดขึ้นหากปล่อยให้มีการซื้อขายสกุลเงินดิจิตอลกันอย่างอิสระในตลาด จึงได้มีการออกกฎหมายห้ามธุรกิจค้าเงินดิจิตอล ซึ่งรวมถึงการระดมทุน การปิดสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง และ งดกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ✅ เดือนมกราคม 2020 รัฐบาลจีนได้ประกาศถึงความสำเร็จในการพัฒนาเงินหยวนดิจิตอล  และเมื่อเดือนเมษายน 2020 รัฐบาลจีนได้ประกาศทดลองใช้เง...