ความถี่ในการทำพฤติกรรมใหม่ คือ ปัจจัยสำคัญในการสร้างนิสัย และปัจจัยที่สำคัญเป็นอันดับสองในการสร้างนิสัย คือ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีต่อพฤติกรรมนั้นๆ
.
ปรากฏการณ์หนึ่งในทางจิตวิทยาเรียกว่า "การเพิ่มการผูกมัด" (escalation of commitment) ได้กล่าวถึง การที่คนเรายิ่งทุ่มเทเวลาและความพยายามให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเท่าไหร่ พวกเขาก็ยิ่งประเมินค่ามันสูงขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้คนเราที่เป็นผู้ลงแรงปรับเปลี่ยนมักจะประเมินค่าผลงานของตัวเองสูงกว่าคนอื่นรอบๆ ที่ไม่ได้ลงแรง
.
การกระทำในอดีตนั้นมักจะมีผลต่อการกระทำในอนาคต ซึ่งโดยทั่วไปเรามักคิดว่าตัวเองมีอิสระในการเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งในแบบที่เราต้องการ และคิดว่าการตัดสินใจของเราไม่ได้รับอิทธิพลจากการกระทำในอดีต แต่ความจริงแล้วการศึกษาหลายครั้งได้เผยให้เห็นว่าอดีตของเราเป็นเครื่องทำนายอนาคตได้อย่างยอดเยี่ยม
.
มีความขัดแย้งอีกแบบหนึ่งซึ่งมีผลกับการเปลี่ยนนิสัยซึ่งนักจิตวิทยาเรียกว่า "ความไม่ลงรอยทางความคิด" (cognitive dissonace) ซึ่งอธิบายถึง การหลีกเลี่ยงความไม่ลงรอยทางความคิดที่เกิดจากการไม่ชอบสิ่งที่คนอื่นดูจะชื่นชอบ เราจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงมุมมองที่เรามีต่อสิ่งนั้น ซึ่งมีแนวโน้ม 3 ประการที่มีอิทธิพลต่อการการทำในอนาคตของเรา ได้แก่ (1) ยิ่งเราทุ่มเทความพยายามกับบางสิ่งมากเท่าไหร่ เราก็มีแนวโน้มที่จะเห็นคุณค่าของมันมากขึ้น (2) เรามีแนวโน้มที่จะทำตัวสอดคล้องกับการกระทำในอดีต และ (3) เราจะเปลี่ยนแปลงความชื่นชอบเพื่อหลีกเลี่ยงความไม่ลงรอยทางความคิดที่เกิดขึ้น. แนวโน้มเหล่านี้เรียก "การหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง" (rationalization) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางทัศนคติและความเชื่อเพื่อปรับตัวทางจิตวิทยา
.
การปรับเปลี่ยนนิสัยของเรา มีปัจจัยหนึ่งคือทัศนคติ ซึ่งเป็นปัจจัยที่รองจากความถี่ในการลงมือทำ ทั้งนี้ปรากฏการณ์ความไม่ลงรอยทางความคิดถือเป็นการค้นพบหนึ่งที่ทำให้เราเข้าใจการปรับเปลี่ยนทัศนคติ อันมีผลถึงการปรับเปลี่ยนนิสัยของเราต่อไป
.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
อ้างอิง "สร้างของให้คนติด HOOKED" โดย Nir Eyal & Ryan Hoover
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น