ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปัจจัยทางเศรษฐกิจ อดีต ปัจจุบัน อนาคต (s.91)

 

บทความล่าสุดของ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ในเรื่องของเศรษฐกิจได้ให้มุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบันจากผลของ COVID-19 และย้อนกลับไปกล่าวถึงปัญหาผลพวงจากในอดีตที่ยังไม่ได้แก้ไข ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาในอนาคตที่เป็นประเด็นในอนาคต. โดยสรุปได้ดังนี้
.
-- ประเด็นทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่เป็นผลจาก COVID-19 --
1. การท่องเที่ยว - การท่องเที่ยวคิดเป็นมูลค่าประมาณ 18% ของ GDP แต่จากแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีของไทยกำหนดให้สัดส่วนนี้เพิ่มเป็น 30% ในปี 2037 

2. แรงงานจากต่างประเทศ - ประเทศไทยมีแนวโน้มที่มีประชากรวัยทำงานของประเทศไทยลดลงจาก 48.5 ล้านคน เหลือเพียง 43 ล้านคนในปี 2035

3. ภาคบันเทิง - เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการรวมตัวกันของผู้คน ซึ่งสะดุดเพราะ COVID-19 

4. นักธุรกิจต่างชาติ/การลงทุน - ประเทศไทยต้องพึ่งการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติทั้งในเชิงของทุน เทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญ แต่ปัจจุบันถูกจำกัดไม่ให้เข้ามาในประเทศซึ่งย่อมกระทบต่อการขยายตัว

5. นักศึกษาจากต่างประเทศ - สถาบันการศึกษาประสบปัญหาขาดแคลนนักศึกษาเพราะประชากรกลุ่มนี้ลดลง ส่วนหนึ่งจึงต้องพึ่งพานักศึกษาต่างประเทศซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถกลับเข้ามาในประเทศได้
.
-- ประเด็นทางเศรษฐกิจในอดีต ซึ่งเป็นปัญหาเดิมที่ยังไม่ได้แก้ไข --
1. การแก่ตัวลงของประชากร - IMF ประเมินว่าประชากรไทยแก่ตัวลงอย่างรวดเร็วเป็นอันดับ 4 ในเอเชีย ทำให้ GDP ของไทยขยายตัวช้าลง 0.75%

2. การเกษตร - ประเทศไทยผลิตสินค้าทางการเกษตร ซึ่งในอนาคตความต้องการไม่น่าจะเพิ่มขึ้นมากนัก เพราะทุกคนแก่ตัวลงและเป็นห่วงสุขภาพมากขึ้น

3. รถยนต์ - โลกกำลังปรับเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้า ซึ่งผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ยังคงผลิตรถยนต์ในระบบสันดาปภายในซึ่งความต้องการจะลดลงอย่างรวดเร็วในอนาคตข้างหน้า

4. พลังงาน - ประเทศไทยพึ่งพาก๊าซธรรมชาติมาอย่างยาวนาน แต่ปัจจุบันก๊าซในอ่าวไทยกำลังจะหมดและอนาคตจะพึ่งพิงก๊าซจากพม่าคงไม่ได้มากนัก เพราะเศรษฐกิจพม่าขยายตัวอย่างเร่งรีบ
.
-- ประเด็นทางเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งมีความไม่แน่นอนสูง --
1. ความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐกิจของ EEC - การขับเคลื่อนการพัฒนาในโครงการมี 3 ใน 5 โครงการเร่งด่วนเกี่ยวข้องกับการบินและการท่องเที่ยว คือ จัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงเครื่องบิน การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และการสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน  แต่โครงการดังกล่าวน่าจะต้องทบทวนความคุ้มค่าในยุคหลัง COVID-19 

2. CPTPP - หาก Joe Biden ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ก็เป็นไปได้สูงที่สหรัฐจะกลับมาร่วมกับ TPP ซึ่งจะทำให้ไทยถูกโดดเดี่ยวไปพร้อมๆ กับจีน

3. 5G - ประเทศไทยเร่งการสร้างเครือข่าย 5G โดย Huawei ซึ่งสหรัฐรณรงค์ต่อต้านอย่างรุนแรง ทำให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีที่ต้องประเมินอย่างระมัดระวัง
.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
ข้อมูลอ้างอิง : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 27 ก.ค. 63 คอลัอมม์ เศรษฐศาสตร์+สุขภาพ โดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...

Reserve Currency (s.538)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Reserve Currency คือ เงินตราต่างประเทศที่ธนาคารกลางและสถาบันการเงินใหญ่ๆ ในโลกถือไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ในการค้า การลงทุนและการชำระหนี้ระหว่างประเทศ. ➼ ตั้งแต่ปี 1944 มี 44 ประเทศได้ตกลงกันที่เมือง Bretton Woods ที่จะให้ดอลลาร์เป็นเงินตราที่จะใช้ในธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยประเทศต่างๆ จะผูกค่าเงินของตนไว้กับดอลลาร์ และดอลลาร์ก็จะผูกไว้กับทองคำอีกต่อหนึ่ง ในอัตรา 35 ดอลลาร์ต่อทองทำ 1 Troy Ounce นี่เป็นจุดกำหนดของระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate System). ➼ ในปี 1973 ประธานาธิบดีนิกสันได้ประกาศยกเลิกการผูกค่าเงินดอลลาร์ไว้กับทองคำ อันเป็นจุดเริ่มต้นของระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Flexible Exchange Rate System) โดยแม้ดอลลาร์จะไม่มีทองคำหนุนหลัง แต่ดอลลาร์ก็ยังคงเป็น reserve currency หลักของโลกมาตลอดมาตลอดเกือบ 80 ปี เพราะสภาพคล่องที่มีสูงมาก. ➼ สหรัฐถือเป็นประเทศที่ได้เปรียบทุกประเทศในการที่สามารถใช้เงินของตนทำธุรกรรมต่างประเทศได้ อย่างไรก็ดี ในระยะยาว ยังมีคำถามที่เกิดขึ้นคือ ดอลลาร์อาจสูญเสียความเป็น reserve currency หลักของ...